อย่างที่เราทราบกันว่า เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการใช้จักรยานเป็นพาหนะในการเดิน ทาง แถมได้ชื่อว่าเป็น ‘เมืองแห่งจักรยาน’ เสียด้วยซ้ำ ว่ากันว่ามีจักรยานที่ขี่กันในเมืองถึง 18 ล้านคัน และมีเลนจักรยานถึง 21,748 ไมล์ เรียกได้ว่าหากคุณเห็นผู้คนในเมืองนี้ขี่จักรยานก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่าง ใด
ถนนในเนเธอร์แลนด์กลับเป็นถนนสร้างชื่อให้ประเทศ เมื่อประสบความสำเร็จในการเป็นถนนโซลาร์เซลล์ที่สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าได้ จากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งอยู่บนผิวถนนเป็นประเทศแรกของโลก ซึ่งไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นเพียงพอสำหรับใช้ในครอบครัวขนาดเล็กๆ ได้นานหนึ่งปีเลยทีเดียว
ไอเดียก็คือปกติถนนจะทำจากคอนกรีตล้วนๆ แต่คราวนี้ถนนโซลาร์เซลล์ Solar Road จะมีการนำแผงโซลาเซลล์เข้ามาผสมด้วย โดยแผ่นคอนกรีตขนาด 2.5 x 3.5 เมตรแต่ละแผ่นประกอบด้วยแผงโซลาเซลล์แบบซิลิกอนที่มีความหนา 1 มิลลิเมตร ส่วนชั้นบนสุดจะเป็นกระจกใสเพื่อเปิดรับแสงอาทิตย์ให้ส่องเข้ามาข้างในได้ ที่สำคัญมีความแข็งแรงทนทานต่อพาหนะทุกชนิดที่วิ่งบนถนนสายนี้
SolaRoad หรือถนนโซลาร์เซลล์ ลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนถนนของเมือง Krommenie ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นระยะทางยาว 70 เมตร เมื่อปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นผลเป็นที่ประจักษ์แล้ว โดยวันนี้ วิศวกรเผยว่า ระบบการผลิตไฟฟ้าของ SolaRoad ทำงานได้ดีกว่าที่คาดไว้ และสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 3,000 กิโลวัตต์ ซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่ได้นี้เพียงพอสำหรับจ่ายให้ครอบครัวเล็กๆ ใช้งานได้นาน 1 ปี
ไม่เพียงเท่านั้น ทีมวิจัยยังเผยว่า อนาคตอาจเปิดจุดบริการชาร์จไฟให้แก่จักรยานไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และโคมไฟพลังแสงอาทิตย์ หรือ โคมไฟโซล่าเซลล์ ตามท้องถนนและทางเดินเท้า ที่ Sola Road ผลิตได้อีกด้วย
โดย ทางเนเธอร์แลนด์ ได้แนวคิดดังกล่าวมาจากแคมเปญระดมทุนตัวหนึ่งของสหรัฐอเมริกาที่ตั้งเป้าว่า จะใช้แผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งบนถนน เพื่อใช้ผลิต กระแสไฟฟ้า และทางเนเธอร์แลนด์ได้คว้ามาทำก่อนเป็นชาติแรกของโลก
สำหรับ การติดตั้งนั้น ทางเนเธอร์แลนด์เลือกติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนเลนจักรยาน และได้ใช้วัสดุอย่าง กระจก ยางซิลิโคน และคอนกรีตในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้แผงโซลาร์เซลล์ โดยแผงดังกล่าวสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 12 ตัน และแผงแต่ละตัวจะเชื่อมต่อเข้ากับมิเตอร์อัจฉริยะที่คอยวัดพลังงานไฟฟ้าที่ ได้ ก่อนจะส่งพลังงานเหล่านั้นไปให้แก่ระบบไฟฟ้าริมถนนจ่ายให้โคมไฟทางเดิน และท้องถนนที่จักรยานขับผ่าน เสมือนหนึ่งมีโคมไฟโซล่าเซลล์ รอบเมือง เพื่อให้ความสว่างในยามค่ำคืน
โดย วิศวกรผู้พัฒนา SolaRoad เผยว่า ใช้เวลาถึง 5 ปีในการพัฒนาให้ระบบรองรับการทำงานในทุกสภาวะ ยกตัวอย่างเช่น หากมีแผงโซลาร์เซลล์บางแผงที่แตกหักเสียหาย หรือสกปรกจนรับแสงอาทิตย์ไม่ได้ ก็จะปิดตัวเองไปเฉพาะแผ่นนั้น ไม่กระทบต่อระบบโดยรวมทั้งหมดแต่อย่างใด
นอก จากนั้น ในช่วงทดสอบยังพบว่า มีนักปั่นจักรยานมาใช้บริการถนนดังกล่าวมากกว่า 150,000 คน แต่ตลอด 6 เดือนพบว่า เกิดความเสียหายเพียง 1 ครั้งเท่านั้น โดยเป็นความเสียหายกับวัสดุเคลือบแผงโซลาร์เซลล์ที่แยกตัวออกมาเป็นชั้นๆ อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งทางทีมงานอยู่ระหว่างการหาทางพัฒนาวัสดุเคลือบให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
สิ่ง ที่ทีมวิจัยผู้ออกแบบแผงโซล่าร์เซลล์สำหรับถนนครั้งนี้ต้องการคือ การพัฒนาให้มันอยู่คงทนได้อย่างน้อย 20 ปี ซึ่งเท่ากับอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์ชนิดที่ติดตั้งบนหลังคานั่นเอง
ปัจจุบัน แนวคิดดังกล่าวได้กระจายออกไปตามชานเมืองทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์แล้ว และคาดว่าในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก็เตรียมจะได้มีถนนในลักษณะเดียวกันนี้ในอีกไม่ช้า
Cr.Creative Move,e-news ,Asia21st