สถาบันมาตรวิทยา ร่วมกับ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการวัดระดับนาโน สู่มาตรฐานสากล เร่งพัฒนาต้นแบบวัสดุนาโนอ้างอิง สรรหาบุคลากรมาตรวิทยานาโนรับเทรนด์ตลาดเทคโนโลยีโลก เปิดห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบสอบเทียบผลิตภัณฑ์นาโนมาตรฐานแห่งแรกของ ไทยและอาเซียน เพื่อช่วยผู้ประกอบการลดรายจ่ายแทนการส่งสอบเทียบต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่่องมือวัดต่าง ๆ เช่น เวอร์เนียร์ (Vernier) เป็นต้น
เครื่องมือวัด ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สำหรับการวัดขนาดชิ้นงานเวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) การวัดขนาดอนุภาค การตรวจวัดปริมาณ การวัดปริมาตร ย่อมต้องใช้อุปกรณ์วัดขนาด เพื่อช่วยผู้ประกอบการจัดทำสินค้าได้ตรงตามลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ และสินค้าสมัยนี้ก็มีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด บางชิ้นส่วนมีขนาดเล็กจนถึงระดับนาโน การผลิตสินค้าจึงต้องอาศัยความแม่นยำในการวัดที่สูงมาก โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มักจะมีการผลิตจากประเทศหนึ่ง แล้วส่งต่อไปประกอบยังประเทศหนึ่ง จะต้องมีมาตรฐานสินค้าแบบเดียวกัน มิเช่นนั้นจะเกิดความเสียหายอย่างยิ่งใหญ่ต่อวงการอุตสาหกรรมได้
นายประยูร เชี่ยววัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนการส่งออกและการตรวจสอบการนำเข้าของคุณภาพสินค้าด้านนาโน เทคโนโลยีทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน (มว.) จึงได้กำหนดมาตรฐานการวัดระดับนาโนแห่งชาติ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการทุกที่มีมาตรฐานเดียวกันและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ในระดับที่สากลยอมรับ ด้วยการจัดซื้อเครื่องมือวัดระดับนาโนที่ทันสมัย และการพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนาโนเทคโนโลยีเทียบเท่ากับนักมาตรวิทยาของประเทศที่พัฒนาแล้ว
โครงการที่พัฒนาขึ้น อาทิ โครงการพัฒนาวัสดุอ้างอิงด้านเคมีและชีวภาพ การพัฒนาวิธีการวัดมาตรฐานด้านมาตรวิทยานาโน กิจกรรมเปรียบเทียบผลการวัดอนุภาคนาโนเพื่อยืนยันความถูกต้องของเครื่องมือ ไปจนถึงเครื่องมือวัดระดับนาโนที่มีเทคนิคการใช้แตกต่าง กัน และยังขยายไปสู่ภาคความร่วมมือกับภาคเอกชนที่จะผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจำเป็นต้องมีการวัดค่าความแม่นยำระดับนาโนได้ เพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำและเป็นการเพิเมมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ด้านนาโนเทคโนโลยี นายประยูรกล่าว
ส่วนของ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) เผยว่า ขณะนี้ศูนย์นาโนเทคกำลังดำเนินการจัดตั้งห้องปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์ ทดสอบผลิตภัณฑ์นาโนของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนเป็นแห่งแรกของภูมิภาค เพื่อให้บริการตรวจสอบและวัดค่าผลิตภัณฑ์นาโนแก่ผู้ประกอบการด้านนาโน เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้านาโนเทคโนโลยีไปยังประเทศคู่ค้าที่มีการบังคับ ใช้กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี
ที่ผ่านมาการวัดและการตรวจวิเคราะห์ทดสอบวัสดุด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศไทยยังไม่สามารถกำหนดแน่นอนได้ เนื่องจากเครื่องมือวัดระดับนาโนและ บุคลากรยังขาดความพร้อมในบางส่วน การตรวจวิเคราะห์ที่ผ่านมาจึงต้องส่งไปที่ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานใน ต่างประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะทราบผล
ผู้อำนวยการนาโนเทค กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของห้องปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์นาโน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของ สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ขณะนี้ดำเนินการใกล้เสร็จและคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงเดือน ต.ค.ที่จะถึงนี้ ด้วยงบประมาณจัดซื้อเครื่องมือวัดระดับนาโนเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า 200 ล้านบาท
การเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นศูนย์กลางของประเทศและอาเซียนด้านการตรวจวัดทางนาโนเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดระดับนาโนต่าง ๆ เช่น การวัดขนาดอนุภาค การตรวจวัดปริมาณ การวัดปริมาตร เป็นต้น ที่คาดว่าจะสามารถรองรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการด้านตัวเร่งปฏิกริยา ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ชิ้นส่วนยานยนต์ ได้มากถึง 15,000 ตัวอย่างต่อปี โดยสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบจะได้รับฉลากสินค้า “นาโนคิว” (Nano Q) ที่จะเป็นเครื่องมือการันตีมาตรฐานและความเชื่อมั่นด้านนาโนเทคโนโลยีของ ประเทศไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก
ด้าน ดร.พิเชฐ กล่าวว่าการลงนามความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงานในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ครั้งนี้ ถือเป็นอีกจุดเริ่มต้นใหม่สำหรับการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่วงการ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านนาโนเทคโนโลยี ที่ซ่อนตัวอยู่ในอุตสาหกรรมหลายๆ ด้าน อาทิ ด้าน อิเล็กทรอนิกส์ ด้านปิโตรเคมี ด้านเวชสำอางค์ รวมไปถึงวัสดุก่อสร้าง เพราะเทรนด์โลกสมัยใหม่นิยมใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กลง พกพาได้สะดวกสบาย นาโนเทคโนโลยีจึงเป็นเทคโนโลยีที่ถูกหยิบมาใช้ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม
การทำงานร่วมกันของทั้ง 2 หน่วยงานเริ่มตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน ที่เป็นการบูรณาการกันเพื่อออกแบบข้อกำหนดผลิตภัณฑ์สำหรับการประเมินผลด้าน นาโนเทคโนโลยี การจัดทำฐานข้อมูลการออกใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ การกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนของการตรวจสอบร่วมกันกับสำนักงานมาตรฐาน อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกในการนำผลิตภัณฑ์มาตรวจการวัดค่าความ แม่นยำ ที่จะนำไปสู่การขยายผลการวัดระดับนาโน มาวัดวัสดุนาโนแบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียว ดร.พิเชฐ กล่าว
Cr.ผู้จัดการ,e-news ,เล่าสู่กันฟัง