23 ก.ค. 2558

โรคซึมเศร้า แก้ได้ไม่ใช้ยา

โรคซึมเศร้า แก้ได้ไม่ใช้ยา
โรคซึมเศร้า แก้ได้ไม่ใช้ยา
เหตุที่ “พล.อ.อ.ประหยัด ดิษยะศริน” อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ การบินไทยฯ บิดา น.อ.วีระยุทธ ดิษยะศริน มีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าประกอบกับโรคชรนั้น โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้อย่างไร ? มีขั้นตอน และแนวทางอย่างไร ถ้าจะสู้กับโรคนี้ได้  ที่นี่มีคำตอบ สามารถทำให้หายจากโรคซึมเศร้าโดยไม่ใช้ยาอีกต่อไป 


เบื้องหลังความคิด
        คนมากมายไม่พอใจผลลัพธ์ในชีวิต เช่น ความรัก ความสัมพันธ์ การงาน การเงิน สุขภาพ น้ำหนักตัว ความสุขสงบใจ ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต การเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ในชีวิตต้องเริ่มที่บริเวณ ต้นเหตุคือจิตใต้สำนึกซึ่งเป็นส่วนที่เก็บ ประสบการณ์ ในอดีตทั้งหมดรวมมาเป็น ความเชื่อ ความเห็น อุปนิสัย พฤติกรรม ความเคยชิน กรอบในการมองโลก สิ่งที่เราให้ค่าว่าดี ไม่ดี ชอบ ไม่ชอบ อยากทำ ไม่อยากทำ ความเชื่อว่าทำได้สำเร็จ ไม่สำเร็จ

วงจรความคิด
        มนุษย์ แต่ละคนมีระบบในการรับข้อมูล ตีความ จากนั้นก็จัดเก็บลงในจิตใต้สำนึก ระบบการตีความหรือกรอบในการมองโลกของคนที่รู้สึกไม่ดี เมื่อรับข้อมูลใหม่เข้ามาก็จะตีความตามเครื่องกรองประสบการณ์ที่ชำรุด ทำให้ตีความประสบการณ์ซ้ำลงร่องเดิม ตอบสนองไปตามความเชื่อเดิม ทำให้ชีวิตไม่สามารถ หลุดออกมาจากผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจได้

ปราการป้องกันความเชื่อ
        การเปลี่ยนความเชื่อ อุปนิสัย ที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก ไม่สามารถ ใช้เพียงความต้องการเปลี่ยนความคิด เพราะความคิดออกมาจากตัวกรองประสบการณ์และ ความเชื่อ ที่ถูก ปกป้องโดย Critical factors

       Critical Factors กีดกันข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเชื่อเดิมของเรา เวลาที่จิตใต้สำนึกรับและฝังความเชื่อ เกิดในภาวะจิตใจต่างๆที่ Critical factors หยุดทำงานเช่น ผ่อนคลายจนจิตสำนึกหยุดคิด เหม่อลอย กลัว ตกใจ ดูโทรทัศน์ ฟังซีดี ขับรถเพลินๆ เช่น เวลาที่ลูกไม่คาดฝัน พ่อแม่ ดุลูกอย่างกระทันหัน วินาทีที่ลูกหยุดนิ่ง อึ้งอยู่ ขณะนั้นสิ่งที่พ่อ แม่ (ครู คนรัก เจ้านาย เพื่อน) พูดต่อมา จะไหลเข้าสู่จิตใต้สำนึกของลูกทันที

สภาวะพิเศษจากใจเราเอง
       จิตใต้สำนึกเราเป็นเหมือน เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ระหว่างใช้งาน อาจรับ ไวรัส ขยะ หรือ ใช้โปรแกรมซอฟแวร์ที่หมดอายุ ไม่เวิร์คอีกต่อไป การเปลี่ยนความเชื่อที่ไม่เป็นประโยชน์กับชีวิต ก็เหมือนการปรับปรุงโปรแกรมซอฟแวร์ที่เราใช้ ให้ใช้สิ่งที่เป็นประโยชน์ ให้กับตัวเองและผู้อื่น ให้ชีวิตมีพลัง วิธีการที่ทำ คือ ใช้การผ่อนคลายทำให้สมองอยู่ในภาวะที่ทางวิชาการเรียกว่า Altered state หรือ heighten state of suggestibility แล้วให้ผู้เข้ารับ สามารถ เลือก ใส่ความเข้าใจ ลงไปในประสบการณ์ในอดีต เปลี่ยน มุมมองในการเลือกรับรู้โลก เลือกความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ

ฝังใจลงจิตใต้สำนึกเรานี้เอง
        เช่น คนหนึ่งเคยกินเบียร์ครั้งแรกแล้วอาเจียร ต้องทำความสะอาด นึกถึงการกินเบียร์ ดึงภาพ กลิ่น สัมผัส ของการทำความสะอาด อาเจียร จนไม่กินเบียร์อีก คนๆหนึ่งมีความรู้สึกต่อการมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครอบครัว คนที่รัก เคารพในทางลบ เพราะเคยมีประสบการณ์ ไม่ดีตอนเด็กๆ หรือจำความรู้สึก ถูกปฎิเสธ หรือล้มเหลวทางธุรกิจ หรือผิดหวังในความรัก ทำให้ไม่สามารถปรับสมองให้ คิด ทำพูด ที่ทำให้เกิด ความสำเร็จในเรื่องนั้นๆได้

หนีไม่พ้นเพราะอยู่ในใจเรานี่เอง
       เมื่อคนๆหนึ่งไม่สามารถขับเคลื่อนไปสู่ชีวิตที่ต้องการ เขาก็จะ หนีจากสิ่งที่ควรทำจริงๆในชีวิต ย้ายความสนใจไปยังสิ่งดึงดูดความสนใจอื่น (distraction) เช่น กินทั้งที่ไม่หิวจนอ้วนมาก ใช้จ่ายเกินตัวจนเป็นหนี้ ทำงานเพื่อลืมความทุกข์จนเสียสุขภาพ มีแฟนเยอะแต่เหงามาก สูบบุหรี่ทั้งที่สุขภาพไม่ดี แม้กระทั่งไปอาสาทำเรื่องของคนอื่นหรือส่วนรวมเพื่อหลีกเลี่ยงไม่สะสาง เรื่องค้างคาของตนเอง
       หรือจิตใต้สำนึกสั่งให้เก็บความเจ็บป่วยหรือความทุกข์เรื้อรังไว้ เพื่อใช้เป็นที่ซ่อนตัวเพื่อจะได้ไม่ต้อง perform หรือ ส่งมอบผลงานในชีวิต และรับผิดชอบต่อครอบครัวและตนเอง

        หรือพัฒนาไปสู่รอยฝังในใจที่ลึกขึ้น จนมีอาการชัดเจนจนต้องรับยาประเภทระงับตามอาการหรือแค่เพียงกดอาการไว้จาก แพทย์ เช่น ซึมเศร้าย้ำคิดย้ำทำเพื่อให้รู้สึกปลอดภัยเวลาได้ทำอะไรซ้ำๆ เช่น ล้างมือ ปิดประตู เช็คกุญแจ ทำความสะอาด ทำร้ายตัวเอง

        หรือไม่มีความสุข อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วรุนแรง จากความคิดเล็กๆพัฒนาไปสู่ความเคยชินที่จะคิดในรูปแบบที่เป็นโทษกับตัวเอง ซ้ำๆหลายคนเลือกทางแก้โดยใช้วิธีใช้ยากดประสาท ยาลดอาการซึมเศร้า เพื่อบรรเทาอาการ แต่ไม่ได้ดีขึ้นในระยะยาว เพราะไม่ได้เข้าไปจัดการที่ กระบวนการอัตโนมัติที่จิตใต้สำนึกเรียนรู้การคิดให้ตัวเองเป็นทุกข์จนชำนาญ

การฝึกจิตให้มีความสงบและเบิกบาน แก้โรคซึมเศร้าได้ผลที่ต้นเหตุ

เมื่อความคิด ความเชื่อและอารมณ์ที่แกว่งขึ้นลงทำให้จิตเราไม่เป็นกลาง เราจึงต้องอาศัยความสงบภายในเพื่อฝึกจิตใจตนเองให้ปล่อยวาง มีการให้อภัย ทำให้จิตใจเรารู้สึกเย็นสบาย สดใส เบิกบาน มีความเฉลียวฉลาด ซึ่งจะนำพาเราไปสู่ความสุขอันแท้จริงที่มีอยู่ภายใน เป็นความสุขที่ไม่มีเงื่อนไข 
การฝึกสมาธิมีหลายวิธี หลายแบบ หลายแนว วิธีการฝึกไม่ใช่สมาธิ สมาธิจริงๆคือการสังเกตดูจิตใจตนเองได้อย่างเป็นกลาง เราจะใช้ความสงบเป็นตัวดูจิต ใจตนเอง 

ความสงบจะไม่กระโดดเข้าไปอยู่ในความคิดหรือติดอยู่ในอารมณ์ เพียงแค่ดูใจเฉยๆแบบสบายๆ ไม่เครียดกับการสังเกต ฝึกให้จิตอยู่กับปัจจุบัน เพราะธรรมดาจิตจะไม่ชอบอยู่กับปัจจุบัน จิตจะคิดนั่นคิดนี่ เมื่อมีข้อมูลต่างๆมากระทบทางตา หู จมูก ลิ้นและกาย จิตก็จะปรุงแต่งอารมณ์โต้ตอบกับข้อมูล บุคคล สิ่งของหรือสถานการณ์ต่างๆ ทำให้มีความรู้สึกชอบ(ดีใจ) หรือไม่ชอบ(เสียใจ)กับสิ่งเหล่านั้น จิตจึงมีอาการแกว่งไปมา ขึ้นลง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา 

จิตจะพยายามเปรียบเทียบข้อมูลและสร้างอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจกับสภาวะ จิตจะนึกถึงอดีตและคิดถึงเรื่องอนาคต สิ่งพวกนี้จึงทำให้ใจเราไม่อยู่กับปัจจุบันและขาดความเป็นกลางอยู่เสมอ ดังนั้นเราจึงหันมาฝึกใจตนเองให้มีความสงบ ไม่แกว่งไปมากับความคิดหรืออารมณ์ ทำให้เราได้สัมผัสกับความเป็นกลางของจิตในปัจจุบัน เป็นจิตใจที่มีอิสระและปล่อยวางความทุกข์ต่างๆออกไปได้อย่างง่ายดาย เพราะจิตไม่ไปเกาะเกี่ยวกับความคิดหรืออารมณ์ เพียงแต่สังเกตสิ่งพวกนี้จากความสงบที่เป็นกลาง
      
การฝึกสมาธิจะช่วยให้จิตเรามีความสงบและเป็นกลาง ทำให้เราปล่อยวางอารมณ์ในเชิงลบ ความเข้าใจผิดและได้สัมผัสกับความสุขอันแท้จริงที่มีอยู่ภายในตนเอง เป็นจิตใจที่แจ่มใส มีความชัดเจน ทำให้จิตรู้ว่าความทุกข์ต่างๆที่เกิดขึ้นภายในใจนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วปล่อยวางที่เหตุ โดยไม่มีการเพ่งโทษ 

ก่อนที่จิตเราจะเป็นกลางได้ เราต้องหาอะไรให้จิตเกาะเพื่อให้จิตสนใจในปัจจุบัน มิฉะนั้นจิตก็จะแกว่งไปตามความคิดหรืออารมณ์ เราจึงต้องเตือนตนเองและดึงจิตให้กลับมาอยู่ในปัจจุบันเพื่ออยู่ในความเป็น กลาง วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการดูลมหายใจของตนเอง ใช้ลมหายใจเป็นจุดกลาง เพื่อให้จิตสนใจกับความสงบ เย็น โล่ง โปร่งสบายในขณะนั้น 

หมั่นทำทุกครั้งที่เรารู้สึกหดหู หมดหวัง เสียใจ ท้อแท้ แล้วพอทำบ่อย ๆ เป็นนิสัย จิตนั้นก็จะปล่อยวางได้ แล้วคำว่า โรคซึมเศร้า จะไม่มีให้เราเห็นอีกเลย


Cr.จิตใต้สำนึก,เล่าสู่กันฟัง ,Synergy | Facebook