สองนักวิจัยจุฬาฯ พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องตรวจวัดทางการแพทย์จากเลือด สู่อุปกรณ์ปฏิบัติการตรวจเลือดบนกระดาษจิ๋ว วัดผลเบาหวาน หมู่โลหิต เม็ดเลือด ฯลฯ สร้างห้องแล็บจิ๋วต้นทุนถูก ใช้งานง่าย เหมาะใช้ในพื้นที่ห่างไกล เตรียมต่อยอดสู่การตรวจวัดทางคลินิกอื่นๆ เพื่อพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมือวัดความดันโลหิต (Blood Pressure Monitor) เครื่องตรวจสุขภาพ ฯลฯ
เมื่อ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการตรวจวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาโรค แต่กระบวนการตรวจวัดสิ่งส่งตรวจ โดยเฉพาะเลือด มีขั้นตอนที่ซับซ้อน ใช้เวลาเตรียมสารเคมีและใช้อุปกรณ์ราคาแพง ปัญหาดังกล่าวจุดประกายให้ นักวิจัยเต็มศิริ ทรงเจริญ นักวิจัยโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ.วนิดา หลายวัฒนไพศาล อาจารย์ที่ปรึกษา คปก. มองหาเครื่องมือทางการแพทย์ทดแทนขนาดเล็ก ราคาถูก ที่จะลดขั้นตอนการตรวจให้เร็วและง่ายขึ้น
Lab-on-Paper จึงเกิดขึ้นจากโครงการวิจัยการพัฒนาอุปกรณ์ปฏิบัติตรวจเลือดบนกระดาษจิ๋วสำหรับการตรวจวัดสารบ่งชี้ชีวภาพจากเลือด ตรวจวัดปริมาณกลูโคสจากเลือด การตรวจวัดหมู่โลหิต หรือการตรวจหาภาวะโรคเบาหวาน
งานวิจัยเพื่อทุกพื้นที่ห่างไกล นักวิจัยเต็มศิริ อธิบายว่า แล็บออนเปเปอร์นี้เลือกใช้ตรวจเลือดบนกระดาษจิ๋วมาสร้าง พื้นที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ โดยทั่วไปจะใช้น้ำยาพิเศษสร้างลวดลายบนกระดาษเพื่อทำขอบเขตพื้นที่ไม่ชอบน้ำ สร้างพื้นที่การทำปฏิกิริยาของสารที่มีต้นทุนสูงถึง 6 หมื่นบาทต่อลิตร
“เรา มองหาวัตถุดิบที่ใช้งานได้เหมือนกันในราคาถูกกว่า กระทั่งพบว่า สามารถนำขี้ผึ้งมาประยุกต์ใช้ได้เหมือนกัน อีกทั้งราคาถูกกว่ามากหรือเพียงหลักสิบบาทต่อกิโลกรัม และหาซื้อได้ง่ายในประเทศ หลังจากนั้น ทีมพัฒนาจะตรึงน้ำยาเพื่อใช้ในการตรวจเลือดบนกระดาษจิ๋วก็พร้อมนำไปใช้ตรวจวิเคราะห์ได้ผล” นักวิจัยกล่าว
แล็บตรวจเลือดบนกระดาษจิ๋วนี้ สามารถตรวจวัดสิ่งส่งตรวจที่เป็นเลือดได้ทันที โดยหยดเลือดลงบนกระดาษในส่วนที่ใช้แยกเลือด พลาสมาจะแยกตัวออกจากเม็ดเลือด และไหลไปทำปฏิกิริยากับน้ำยาที่ตรึงไว้บนกระดาษในส่วนที่ใช้ตรวจวัด ส่วนสีที่แสดงผลบนกระดาษจะเป็นตัวบ่งชี้การตรวจวัด หรืออาจนำภาพถ่ายการทำปฏิกิริยามาวิเคราะห์ต่อได้
ห้องปฏิบัติการตรวจเลือดบนกระดาษจิ๋วนี้ มีจุดเด่นคือ ราคาถูก ขนาดเล็ก เบา ใช้น้ำยาตรวจวัดและสิ่งส่งตรวจปริมาณน้อย แต่สามารถใช้งานง่าย ไม่ต้องเตรียมสิ่งตัวอย่างหรือเตรียมสารต่างๆ ให้ซับซ้อนก่อนตรวจวัด สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีในห้องปฏิบัติการ แต่ประสิทธิภาพในการแยกเลือดครบส่วนได้โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดบนกระดาษในขั้น ตอนเดียว
“ผลการทดสอบตรวจเลือดบนกระดาษจิ๋วเทียบ กับการตรวจวัดด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการพบว่า ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ ทำให้ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมาก ด้วยต้นทุนที่ถูกและวิธีการใช้ที่ไม่ซับซ้อน ทำให้สามารถใช้ในพื้นที่ห่างไกล การทำงานในภาคสนามที่อุปกรณ์ทางการแพทย์ยังเข้าไม่ถึง” นักวิจัยเต็มศิริ กล่าว
ทีมงานยังมีแผนจะพัฒนาเพิ่มเติมในแง่ของโปรแกรมอ่านความ เข้มของสี ที่จะสามารถแปลงค่าสีเป็นตัวเลขทำให้การอ่านผลแม่นยำขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องมีความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ด้านการพัฒนา โปรแกรม นอกจากนี้ แล็บตรวจเลือดบนกระดาษจิ๋วนี้ยัง สามารถต่อยอดพัฒนาตรวจวัดทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ได้อย่างหลากหลาย เช่น การตรวจวัดปริมาณกลูโคสจากเลือด การตรวจวัดหมู่โลหิต หรือการตรวจหาภาวะโรคเบาหวานผ่านค่าโปรตีนของตับ เป็นต้น
คปก.สร้าง ดอกเตอร์ไทย ทั้งนี้ โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก หรือ คปก.ดำเนินการภายใต้การกำกับดูของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยหรือ สกว. เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2539 เนื่องจากพบว่า ประเทศไทยขาดแคลนนักวิจัยอย่างรุนแรงทำให้ระบบวิจัยของประเทศอ่อนแอมาก จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่ง ชาติ (สวทน.) พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนนักวิจัย เพียง 9 คนต่อประชากร 10,000 คน ขณะที่ประเทศที่เจริญแล้วมีจำนวนนักวิจัยมากกว่าประเทศไทย 10 เท่า
คปก.มี เป้าหมายที่จะผลิตนักวิจัยระดับปริญญาเอก 5,000 คน ภายใน 15 ปีในระยะที่ 1 และหากการดำเนินการในระยะที่ 1 ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จะให้ดำเนินการในระยะที่ 2 ซึ่งมีเป้าหมายที่ 20,000 คนภายในเวลา 15 ปีเช่นกัน ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2541 ถึงปัจจุบัน สามารถผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีบทบาทในการพัฒนาประเทศกว่า 2,300 คน นับได้ว่าต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากขาดงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
มีงานวิจัยที่ได้รับการตี พิมพ์และยอมรับในระดับสากลกว่า 5,700 เรื่อง ซึ่งสำเร็จเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากคุณภาพของอาจารย์และนักศึกษาที่เข้าสู่โครงการมีคุณภาพสูงมาก มีความร่วมมือกับอาจารย์ที่ปรึกษาต่างประเทศที่มีคุณภาพกว่า 2,700 คน จาก 45 ประเทศ
Cr.Eureka,Asia21st ,Synergy Electronic | Facebook