กูเกิลกลาส (Google Glass) กลับมาอีกครั้งพร้อมเวอร์ชันใหม่ล่าสุัด โดยล่าสุดนี้ พบว่ามีการพัฒนาไปสู่เวอร์ชันสำหรับองค์กรธุรกิจในชื่อ “Enterprise Edition” และมีการออกแบบแอปพลิเคชันสำหรับใช้งานในเชิงธุรกิจมากขึ้น
แว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass) เป็นแว่นตาเสมือนคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แบบสวมได้ (wearable device) มีลักษณะการทำงานคล้ายกับสมาร์ทโฟน ต่างกันตรงที่ การใช้มือสัมผัสหน้าจอ ถูกเปลี่ยนเป็นการสั่งงานด้วยเสียง โดยโปรแกรมจะประมวลเสียงให้กลายเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ ที่สำคัญยังทำให้ผู้สวมใส่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงทำให้สามารถรับข้อมูลข่าวสารทุกประเภทได้แบบวินาทีต่อวินาที หรือที่เรียกว่า "เรียลไทม์" ส่วนการทำงานนั้นยังรองรับเพียงแค่ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
แม้จะเป็นแว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)อัจฉริยะที่สร้างความฮือฮาให้โลกไซเบอร์ได้ชั่วขณะหนึ่ง แต่สุดท้าย กูเกิลก็ออกมาประกาศพับโครงการกูเกิลกลาสเวอร์ชันแรกในชื่อ “Explorer Edittion” ไปพร้อมกับให้สาเหตุว่า เป็นเรื่องของนโยบายระดับองค์กร กระนั้น กูเกิลก็ไม่ละความพยายามที่จะจุดกระแสแว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)ดังกล่าวไปเสียทีเดียว โดยมีรายงานออกมาอย่างต่อเนื่องถึงความพยายามของบริษัทในการพัฒนากูเกิลกลาส และหา “ตลาด” ที่เหมาะต่อการใช้งานอย่างแท้จริง
ล่าสุด ได้มีรายงานว่า กูเกิลมีการยื่นเอกสารไปยัง FCC (The Federal Communications Commission) เกี่ยวกับแว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)เวอร์ชันใหม่ของกูเกิลที่ใช้ชื่อว่า “Enterprise Edition” แล้ว โดยในเอกสารดังกล่าวได้มีการะบุถึงสเปกของแว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)ใหม่เอาไว้ค่อนข้างชัดเจน
เช่น หน้าจอปริซึมสำหรับแสดงผลจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อลดอาการปวดตาของผู้สวม หรือการหันมาใช้โปรเซสเซอร์ Atom ของอินเทล (Intel) แทน (ในรุ่น Explorer ใช้โปรเซสเซอร์ของค่ายเท็กซัส อินสทรูเมนท์ส) ซึ่งทางกูเกิลระบุว่า จะทำให้ประมวลผลได้เร็วกว่าเดิม อีกทั้งยังมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของ แบตเตอรี่ให้ใช้งานได้นานขึ้นอีกด้วย
ที่สำคัญ ในแว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)รุ่น Enterprise นี้ กูเกิลอาจพัฒนา แบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) ติดตั้งภายนอกเพื่อช่วยยืดอายุการทำงานของแว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)ด้วย
ส่วนประเด็นที่ถูกมองว่า แว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)เวอร์ชัน Explorer นั้นเกิดความร้อน ในแว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)เวอร์ชันใหม่ กูเกิลจึงระบุมาเลยว่า แว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)รุ่นใหม่นี้จะไม่ร้อนเหมือนแว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)รุ่นก่อนแน่นอน
ด้านคุณสมบัติอื่นๆ นั้น แว่นตากูเกิลกลาส (Google Glass)ดังกล่าวรองรับไว-ไฟ (WiFi) 802.11ac รองรับการเชื่อมต่อบลูทูธ(Bluetooth) ส่วนที่เคยถูกวิจารณ์เรื่องจอแสดงผลที่เล็ก และทำให้ปวดตานั้น มาในรุ่นใหม่ กูเกิลได้เพิ่มขนาดของจอให้ใหญ่ขึ้น และเชื่อว่าสามารถลดอาการปวดตาลงได้
อย่างไรก็ดี แม้จะมีสเปกน่าใช้งานมากขึ้น แต่เป้าหมายของกูเกิลกลาสเวอร์ชันใหม่นี้ก็ไม่ใช่สำหรับคอนซูเมอร์อีกต่อไป แล้ว โดยแอปสำหรับกูเกิลกลาสจะมุ่งพัฒนาเพื่อใช้ในด้านการแพทย์ ด้านกฎหมาย และใช้ในเชิงธุรกิจเป็นหลัก
Cr. Kapook,เล่าสู่กันฟัง ,Asia21st