ภาพเปรียบเทียบขนาดของโลก ดวงจันทร์ และดาวพลูโต ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด (ภาพจากไทยรัฐ)
ดาวพลูโต ซึ่งถูกตั้งชื่อ ตามชื่อของเทพแห่งขุมนรก เนื่องจากถือเป็นดาวที่อยู่ไกลที่สุดของระบบสุริยะของเรา กลับมาอยู่ในความสนใจของมหาชนอีกครั้ง หลังองค์การนาซา (NASA) ประสบความสำเร็จในการส่งยานสำรวจ NEW HORIZONS มูลค่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าไปอยู่ในจุดที่ใกล้ที่สุดในประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติ เพื่อทำการสำรวจอย่างจริงจังได้เป็นผลสำเร็จ แม้จะต้องกินระยะเวลาเฉพาะการเดินทางร่วม 10 ปี ก็ตาม
การสำรวจ จักรวาลในครั้งนี้ ผ่านเลนส์ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องของประเทศไทย รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล ที่ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวไทยรัฐ
ดาวพลูโต มีดวงจันทร์ เป็นบริวารถึง 5 ดวง !
แม้ ดาวพลูโต มีดวงจันทร์บริวาร ถึง 5 ดวง หรือ อาจจะมากกว่า แต่ดาวพลูโต ก็ยังมีขนาดเล็กกว่า ดวงจันทร์ของโลกเรา เพราะดวงจันทร์ของโลกเรานั้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3,450 กิโลเมตร ในขณะที่ ดาวพลูโต มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 2,370 กิโลเมตร
วัน-เวลาบนดาวพลูโต
ดาว พลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 248 ปี หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 6 วัน 9 ชั่วโมง ส่วนของโลกเราโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา1 ปี หรือ 365 วันของโลก และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมงของโลก
บรรยากาศของดาวพลูโต
บรรยากาศ ของดาวพลูโต เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นไนโตรเจนบริสุทธิ์ (PURE NITROGEN) ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของดาวที่อยู่ไกลที่สุดของระบบสุริยะของเรานี้ อยู่ที่ -229 องศาเซลเซียส! พูดง่ายๆ คือ หนาวยะเยือกสุดขั้วหัวใจจนกลายเป็นน้ำแข็งกันเลยล่ะ
พื้นผิวของดาวพลูโตเป็นอย่างไร?
พื้น ผิวของดาวพลูโตนั้น มีภูเขา แต่กลับไม่มีร่องรอยของการถูกชนโดยอุกกาบาตเลย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์ ที่ดวงดาวขนาดใหญ่แบบพลูโต จะไม่ถูกอุกกาบาตพุ่งเข้าชนเลยสักครั้ง…ในขณะที่อายุจริงของดาวพลูโต ตามที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์นั้น น่าจะอยู่ที่ประมาณ 4,500 - 4,600 ล้านปี หรือเกิดมาพร้อมๆ กับโลกสีน้ำเงิน ที่เต็มไปด้วยร่องรอยการถูกชนโดยอุกกาบาตของเราเนี่ยแหละ...
ดาวพลูโต มีภูเขาน้ำแข็ง
พบ ภูเขาน้ำแข็งบนที่ราบโดยที่ภูเขาน้ำแข็ง ที่มีขนาดความสูงถึง 3,353 เมตร ซึ่งกำลังเป็นที่ฮือฮาอยู่ในเวลานี้ เป็นน้ำจริงๆ แม้จะไม่มากเท่าไร แต่เป็นภูเขาน้ำแข็งที่งอกขึ้นมาจากที่ราบ ที่เป็นไนโตรเจนและมีเทนแข็ง เจ้าภูเขาน้ำแข็งนี้ อาจจะมีความแข็งเสียยิ่งกว่าเหล็กเสียอีก ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอีก 1 ข้อมูลใหม่ ที่สร้างความพิศวงให้กับนักวิทยาศาสตร์มากเช่นกัน เพราะยังไม่เคยมีการสำรวจพบการเกิดภูเขาน้ำแข็งในลักษณะแบบนี้บนดาวดวงอื่น เลย!
เจอน้ำแข็ง แล้วจะเจอน้ำไหม ?
กรณีของดาวพลูโตนั้น เราพบ ไนโตรเจน และน้ำแข็ง หลังจากนั้นมีการพบเจอน้ำบางส่วนบนดาวพลูโต ทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดทฤษฎีขึ้นมาเช่นกันว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่บริเวณใต้ดินของดาวพลูโต อาจจะมีแหล่งน้ำอยู่ เช่นเดียวกับดวงจันทร์ยูโรปา ของ ดาวพฤหัสบดี ซึ่งเชื่อกันว่ามีน้ำจำนวนมากอยู่ใต้พื้นดิน นอกจากนี้ บริเวณขั้วของดาวพลูโต ที่พบว่าลักษณะคล้ายๆ เป็นแถบน้ำแข็งขนาดใหญ่นั้น ที่สุดกลับพบว่าไม่ใช่น้ำ แต่เป็นมีเทนและไนโตรเจน
มีน้ำ ก็เท่ากับมีออกซิเจน แต่ไม่พบสิ่งมีชีวิต?
ขณะ นี้เราพบ ไนโตรเจน และน้ำแข็ง ซึ่งมีไฮโดรเจนและออกซิเจนรวมอยู่ แต่ยังไม่เจอคาร์บอน ทำให้โอกาสที่เราจะเจอสิ่งมีชีวิตในแบบของสัตว์ หรือแบบเป็นมนุษย์คงลำบาก จนถึงขณะนี้ยังไม่มี สิ่งสนับสนุนที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ เว้นแต่...จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ประหลาดมาก ในแบบที่มนุษย์เรานึกไม่ถึงจริงๆ หากจะมีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงนี้จริงๆ ก็คงประหลาดมาก และคงไม่น่ามีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ในระดับที่เราเรียกว่า พืช หรือ สัตว์ ที่เห็นได้ เพราะหากเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ก็จะมีกิจกรรมเกิดขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่ว่านี้จะมีร่องรอยหลักฐานให้ ยาน NEW HORIZONS สามารถพบเห็นแล้ว ส่งมาให้เราได้ฮือฮาอย่างแน่นอน
ยาน NEW HORIZONS มีภารกิจสำรวจดาวพลูโตกี่ปี ?
เบื้อง ต้น จะมีการเก็บข้อมูลดาวพลูโต ไปอีกประมาณ 16 เดือน รวมถึงดวงจันทร์ชารอน และดวงจันทร์อีก 4 ดวง แต่หากจะว่ากันตรงๆ ก็ต้องบอกว่า เงินทุนสำหรับโครงการนี้ มีเพียงพอสำรวจดาวพลูโต และแถบไคเปอร์ ได้เพียงถึงปี ค.ศ.2016 เท่านั้น แม้ว่าเจ้าตัวยาน NEW HORIZONS เอง จะมีพลังงาน ที่สามารถทำงานต่อไปได้ด้วยตัวของมันเอง คือ อาศัย แบตเตอรี่สำรองแบบนิวเคลียร์พลูโตเนียม อย่างน้อยถึงปี ค.ศ.2022 ก็ตาม
ยาน NEW HORIZONS บรรทุกอะไรไปบ้างในภารกิจพิชิตดาวพลูโต
ยาน NEW HORIZONS เอาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ไปไม่มากและแน่นนอนคงไม่ได้เอาเครื่องมือวัดขนาด พวกไมโครมิเตอร์ไปแน่ ( Micrometer ) เพราะนาซา ใช้งบประมาณน้อย โดยมีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพียง 6 ชุด เท่านั้น โดยใน 6 ชุดนี้ มีชุดหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ (University of Colorado Boulder California) ที่มีชื่อย่อว่า VB-SDC (The student dust counter) หรือเครื่องมือจับฝุ่นในอวกาศ โดยที่ VB คือ เวเนเทีย เบอร์นีย์ (VENETIA BURNEY) ผู้ตั้งชื่อดาวพลูโต เมื่อดาวพลูโตถูกค้นพบ 85 ปีก่อน ในขณะเธอมีอายุ 11 ปี
นอกเหนือไปจากเครื่องมือวิทยาศาสตร์แล้ว ยังนำสิ่งของอื่นๆ ในเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับดาวพลูโตและโลกไปด้วยหลายอย่าง เช่น นำเถ้ากระดูกของผู้ค้นพบดาวพลูโต แผ่นซีดีรอม มีภาพคณะผู้ทำงานโครงการ NEW HORIZONS และชื่อของคนบนโลกอีกกว่า 434,000 ชื่อ ไปกับยาน NEW HORIZONS เป็นเชิงสัญลักษณ์ว่า มนุษย์มาเยือนดาวพลูโตด้วยตนเองยังไม่ได้ แต่ก็ขอส่งชื่อมาเยือนกับยาน NEW HORIZONS ก่อน
Cr.ไทยรัฐ,เล่าสู่กันฟัง ,Synergy | Facebook