โรคซึมเศร้า ค่อย ๆ แก้ก็หายได้ด้วย ? |
โดยช่วงอายุที่ฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ 30-39 ปี โดยผู้ชายฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้หญิง 3.8 เท่า
โดยเกือบ 90% ของผู้ฆ่าตัวตายต้องการความช่วยเหลือในด้านสุขภาพจิตขณะนั้น โดย 2 ใน 3 มีอาการของโรคซึมเศร้าที่ ไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษา
ที่สำคัญคือจากการศึกษาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา พบว่า นักเขียนและศิลปิน เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 8-10 เท่า และมีโอกาสฆ่าตัวตายมากกว่าคนทั่วไป 6-18 เท่า
นพ.วรตม์ กล่าวว่า สาเหตุที่กลุ่มศิลปินมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายสูงกว่าคนปกติ
เพราะคาแรกเตอร์ของตัวศิลปินเอง เช่น มีความสันโดดมากกว่าผู้อื่น มีอารมณ์ร่วมหรือเซนซิทีฟต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้ง่าย บวกกับสภาพแวดล้อมเศรษฐานะต่างๆ นอกจากนี้ เรื่องการรักษาภาพพจน์ก็เป็นสาเหตุหนึ่งด้วย
เพราะศิลปินที่มีชื่อเสียงบางครั้งไม่สามารถแสดงออกหรือระบายปัญหาของตนให้ ใครรับทราบได้ และเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิต เพราะกลัวกระทบภาพลักษณ์ของศิลปิน ซึ่งคนทั่วไปจะต้องมองว่าศิลปินดาราจะต้องสมบูรณ์แบบ รวมไปถึงได้รับความคาดหวังสูงจากคนในสังคม ทำให้บางคนรับแรงกดดันไม่ไหว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ศิลปินดาราเป็นเพียงคนธรรมดาที่สามารถรับความเครียดได้เหมือนกับคนปกติ แต่หากศิลปินดาราที่กังวลไม่กล้าปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เพราะกลัวคนนำไปขยายความ จริงๆ แล้วก็มีสถานบริการเอกชนหลายแห่งที่ให้บริการทางด้านนี้ ก็สามารถนัดเวลานอกเวลาราชการ หรือในวันที่คนไม่เยอะได้ เพื่อคลายความกังวลใจได้
ในพระพุทธศาสนา ถึงแม้จะพูดเรื่องอานิสงส์ของการทำสมาธิว่าทำให้ผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดี จิตใจแจ่มใส เบิกบาน ผิวพรรณวรรณผ่องใส อายุยืนก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลการพิสูจน์ออกมาทางวิทยาศาสตร์เลย ต่อมาวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าผลของการฝึกสมาธิมีผลต่อร่างกายและจิตใจจริง ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคซึมเศร้ามากขึ้น และเมื่อวัดคลื่นสมองพบว่าสมาธิทำให้สมองผ่อนคลายและคลายเครียดลง
และเนื่องจากสมาธินี้เป็นเรื่องของธรรมชาติที่เป็นการปฏิบัติต่อจิตใจซึ่งบางส่วนสามารถวัดหรือพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงได้มีนักค้นคว้าและนักวิจัยหลายคนได้ทำการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์
การศึกษาสมาธิด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา ผู้ที่ศึกษาเรื่องสมาธิกับวิทยาศาสตร์นี้ไว้มากคือ ดร.เฮอร์เบิร์ต เบนสัน (Herbert Benson M.D.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางอายุรศาสตร์แห่งโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ศึกษาเรื่องนี้อยู่กว่า 30 ปีท่านได้สร้างทีมงานและสถาบันวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ (Mind-Body medical institute) ในฮาร์วาร์ด สถาบันแห่งนี้ได้สร้างองค์ความรู้ทางด้านกายและจิตไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่ใช้อ้างอิงกันทั่วไปนับว่าเป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางด้านนี้อย่างมาก
ดร.เบนสัน นอกจากเป็นนักวิทยาศาสตร์แล้ว ท่านยังมีความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างดี ท่านได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศธิเบตและอินเดีย โดยเฉพาะในเรื่องสมาธิและโยคะ
ช่วงแรก ดร. เบนสัน ได้นำอาสาสมัครที่ฝึกสมาธิแบบ ที.เอ็ม. (Trancendental Meditation, TM) โดยให้อาสาสมัครทำสมาธิ แล้ววัดความดันอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ เจาะเลือดดูกรดแลคติก ผลการวิจัยพบว่า ในคนที่จิตเป็นสมาธิ ความดันจะลดลง อัตราการหายใจลดลง หัวใจเต้นช้าลง คลื่นสมองช้าและเป็นระเบียบขึ้น
การเผาผลาญอาหารในร่างกายลดลง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง เขาเรียกปรากฏการณ์ที่ค้นพบนี้ว่า ผลของความผ่อนคลาย (Relaxation Responses) การค้นพบครั้งนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของงานวิจัยที่ทำติดต่อกันมาเป็นเวลา 30 ปีและทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ยอมรับเรื่องจิตใจมีผลต่อร่างกาย ดังนั้น การรักษาโรคซึมเศร้า ก็รักษาได้โดยการทำใจให้เป็นสมาธิ มีความผ่อนคลาย ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง
จะเห็นว่า ผลของความผ่อนคลาย ที่กล่าวมานี้จะตรงกันข้ามกับผลที่เกิดจากความเครียด กล่าวคือ ในเวลาที่เราเครียด ความดันจะสูงขึ้น การหายใจจะเร็วขึ้น ชีพจรจะเร็วขึ้น กล้ามเนื้อจะตึงตัวมากขึ้น อัตราการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายมากขึ้น ร่างกายใช้อ๊อกซิเจนมากขึ้น คลื่นสมองมีความถี่สูงขึ้น ที่สำคัญความเครียดจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคซึมเศร้า การทำให้เกิดความผ่อนคลาย(Relaxation Responses) ก็ทำให้โรคซึมเศร้าต่างๆ หายได้เช่นกัน
Cr.สนุก,เล่าสู่กันฟัง ,Synergy | Facebook