อีกหนึ่งผลงานสิ่งประดิษฐ์รถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro
controller) เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยพิการ
หรือผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงช่วงล่าง ให้สามารถช่วยเหลือตัวเอง
และช่วยแบ่งเบาภาระให้ผู้ดูแล จากความร่วมมือของสองสถาบันอย่าง มทร.ธัญบุรี
กับ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า โครงการรถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro controller)นี้เกิดขึ้นมาจากแนวคิดของ ผศ.นพ.นิยม ลออปักษิณ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อ.องครักษ์ ที่เห็นว่าควรจะมีอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วย กล้ามเนื้ออ่อนแรง (ตั้งแต่ช่วงเอวลงไปถึงด้านล่าง) ที่ต้องนั่งอยู่บนรถเข็น ไม่สามารถลุกยืน หรือจับสิ่งของได้ด้วยตัวเอง ให้มีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถแบ่งเบาภาระให้กับญาติหรือผู้ดูแลได้ จึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์รถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนได้ด้วยระบบไมโคร คอนโทรลเลอร์ โดยความร่วมมือของทั้งสองสถาบัน
"รถเข็นแบบปรับ ยืนได้ด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro controller) สามารถใช้เป็นรถเข็นไฟฟ้าแบบทั่วไป แต่สามารถยืดขึ้นเพื่อพยุงให้ผู้ป่วยสามารถลุกยืนขึ้นได้ โดยมีไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro controller)เป็นชุดควบคุมการทำงานทั้งระบบ การควบคุม มี 2 ลักษณะ คือ คันโยก (Joy Stick) และชุดควบคุมระยะไกล (Remote Control) สามารถเคลื่อนที่ได้ 4 ทิศทางคือ เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา สามารถปรับระดับให้ผู้ป่วยลุก-ยืน โดยมีสายรัดประคองตัวบริเวณหน้าท้องและหัวเข่าขณะนั่งหรือยืนขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการเคลื่อนตัวและลุกยืนของผู้ป่วย"
ดร.เดช ฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่พิการ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงช่วงล่าง มีความต้องการใช้รถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนได้ เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ดูแล แต่เนื่องจาก เครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงมาก ทำให้ผู้ป่วยบางส่วนไม่มีโอกาสได้ใช้ ในขณะที่รถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro controller)ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ มีราคาต้นแบบของเครื่องประมาณ 35,000 บาทเท่านั้น ซึ่งทางศูนย์การแพทย์ มศว.และ มทร.ธัญบุรี หวังว่า เครื่องมือที่ประดิษฐ์รถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนจะสามารถรองรับผู้ป่วยได้อย่าง ทั่วถึงและเท่าเทียม
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ เอแอลเอส (ALS –Amyotrophic Lateral Sclerosis) เป็นโรคเกี่ยวกับเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสียหรือเสื่อมไป โรค ALS พบน้อยมาก โดยพบได้เพียง 4 ถึง 6 ต่อประชากร 100,000 คน และโอกาสที่จะพบผู้ป่วยรายใหม่มีเพียง 1.5 ถึง 2.5 ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี โรคนี้เป็นกับผู้ใหญ่วัยใดก็ได้ แต่จะพบบ่อยขึ้นตามอายุ ซึ่งอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 65 ปี มักเป็นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่หากผู้ใดเป็นโรคนี้แล้ว จะมีความยากลำบากในการดำรงชีวิตอย่างมากทีเดียว
Cr.ผู้จัดการ
ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า โครงการรถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro controller)นี้เกิดขึ้นมาจากแนวคิดของ ผศ.นพ.นิยม ลออปักษิณ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อ.องครักษ์ ที่เห็นว่าควรจะมีอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วย กล้ามเนื้ออ่อนแรง (ตั้งแต่ช่วงเอวลงไปถึงด้านล่าง) ที่ต้องนั่งอยู่บนรถเข็น ไม่สามารถลุกยืน หรือจับสิ่งของได้ด้วยตัวเอง ให้มีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถแบ่งเบาภาระให้กับญาติหรือผู้ดูแลได้ จึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์รถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนได้ด้วยระบบไมโคร คอนโทรลเลอร์ โดยความร่วมมือของทั้งสองสถาบัน
"รถเข็นแบบปรับ ยืนได้ด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro controller) สามารถใช้เป็นรถเข็นไฟฟ้าแบบทั่วไป แต่สามารถยืดขึ้นเพื่อพยุงให้ผู้ป่วยสามารถลุกยืนขึ้นได้ โดยมีไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro controller)เป็นชุดควบคุมการทำงานทั้งระบบ การควบคุม มี 2 ลักษณะ คือ คันโยก (Joy Stick) และชุดควบคุมระยะไกล (Remote Control) สามารถเคลื่อนที่ได้ 4 ทิศทางคือ เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา สามารถปรับระดับให้ผู้ป่วยลุก-ยืน โดยมีสายรัดประคองตัวบริเวณหน้าท้องและหัวเข่าขณะนั่งหรือยืนขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการเคลื่อนตัวและลุกยืนของผู้ป่วย"
ดร.เดช ฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่พิการ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงช่วงล่าง มีความต้องการใช้รถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนได้ เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ดูแล แต่เนื่องจาก เครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงมาก ทำให้ผู้ป่วยบางส่วนไม่มีโอกาสได้ใช้ ในขณะที่รถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro controller)ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ มีราคาต้นแบบของเครื่องประมาณ 35,000 บาทเท่านั้น ซึ่งทางศูนย์การแพทย์ มศว.และ มทร.ธัญบุรี หวังว่า เครื่องมือที่ประดิษฐ์รถเข็นไฟฟ้าแบบปรับยืนจะสามารถรองรับผู้ป่วยได้อย่าง ทั่วถึงและเท่าเทียม
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ เอแอลเอส (ALS –Amyotrophic Lateral Sclerosis) เป็นโรคเกี่ยวกับเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสียหรือเสื่อมไป โรค ALS พบน้อยมาก โดยพบได้เพียง 4 ถึง 6 ต่อประชากร 100,000 คน และโอกาสที่จะพบผู้ป่วยรายใหม่มีเพียง 1.5 ถึง 2.5 ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี โรคนี้เป็นกับผู้ใหญ่วัยใดก็ได้ แต่จะพบบ่อยขึ้นตามอายุ ซึ่งอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 65 ปี มักเป็นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่หากผู้ใดเป็นโรคนี้แล้ว จะมีความยากลำบากในการดำรงชีวิตอย่างมากทีเดียว
Cr.ผู้จัดการ