เครื่องกระตุ้นหายใจในเด็ก
คณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โชว์ศักยภาพในเวทีระดับโลก คว้ารางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติจากสิ่งประดิษฐ์เครื่องกระตุ้นหายใจใน เด็ก จากเวทีประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ “The Taipei International Invention Show & Technomart: INST 2015” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ณ กรุงไทเป ของไต้หวัน ตอกย้ำศักยภาพความพร้อมนักวิจัยธรรมศาสตร์ในระดับโลก

ผู้ คิดค้นซึ่งเป็นคนไทยคนแรกประดิษฐ์เครื่องกระตุ้นหายใจในเด็กผ่านสมาร์ทโฟน เป็นนวัตกรรมใหม่ได้รับรางวัล Platinum จากงาน “The Taipei International Invention Show & Technomart: INST 2015” โดยเจ้าของรางวัลแพลทตินัม อวอร์ด (Platinum Award) รางวัลสูงสุดในงาน  คือ อาจารย์ สุภาวดี ทับกล่ำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะนวัตกรรมเพื่อการช่วยเหลือชีวิตทารกแรกเกิดจนถึงเด็กเล็กเป็นงานที่ มีประโยชน์สูงสุด

อาจารย์ สุภาวดี ทับกล่ำเล่าว่า จากการปฏิบัติงานพบว่าการตรวจและประเมินการหายใจของเด็กมีความสำคัญมาก เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินภาวะสุขภาพของเด็ก ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพได้จากการเครื่องวัดชีพจรเพื่อ วัดสัญญาณชีพ ประกอบไปด้วยการวัดอุณหภูมิว่ามีไข้หรือไม่ การวัดชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจ และวัดการหายใจ ซึ่งการหายใจเป็นหนึ่งในการวัดสัญญาณชีพที่สำคัญ

โดยปกติใช้การวัด แบบสังเกตและนับการเคลื่อนไหวของหน้าท้องและทรวงอกขึ้นกับอายุของเด็ก ดังนั้นในการวัดสัญญาณชีพแต่ละครั้งพยาบาลจะต้องยืนอยู่ข้างๆ คนไข้อย่างน้อย 1 นาทีเพื่อจับชีพจร พร้อมทั้งสังเกตการหายใจว่ามีการใช้กล้ามเนื้อมากผิดปกติหรือไม่ และดูนาฬิกาเพื่อจับเวลาไปพร้อมๆ กับการนับการเคลื่อนไหวของหน้าท้องหรือทรวงอกว่ากี่ครั้งต่อนาที การทำแบบนี้ต้องใช้ความชำนาญอย่างมาก แต่วิชาชีพพยาบาลมีทักษะอยู่แล้วไม่ได้มีปัญหาอะไร

การพยาบาลเด็ก ที่มีภาวะเจ็บป่วย โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาในเรื่องทางเดินหายใจ เช่น ปอดบวม หรือในทารกแรกเกิดวิกฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนดนั้น การดูแลรักษาเรื่องการหายใจมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากทารกเหล่านี้เกิดมาก่อนที่อวัยวะต่าง ๆ จะสมบูรณ์ ฉะนั้นปอดยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนหรือสารที่จะช่วยเคลือบถุงลมต่าง ๆ ยังมีน้อย จึงทำให้พบปัญหาในเรื่องการหายใจจากเครื่องวัดออกซิเจน ซึ่งต้องการการประเมินที่ถูกต้องชัดเจน

นอก จากนั้นแล้วลักษณะการหายใจของทารกคลอดก่อนกำหนด มักมีการหายใจเร็ว ช้า และอาจมีการหยุดหายใจช่วงสั้น ๆ ประมาณ 3-4 วินาที และกลับมาหายใจใหม่ ฉะนั้นผู้ดูแลจึงต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งสังเกตว่าการหยุดหายใจเป็นแบบปกติหรือผิดปกติเพื่อช่วยเหลือได้ทัน ท่วงที นอกจากการดูแลในโรงพยาบาล การดูแลต่อเนื่องที่บ้านมีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงต้องให้ความรู้กับผู้ปกครองในการสังเกต และตรวจวัดการหายใจของเด็ก

อาจารย์ จึงได้ทำการออกแบบเครื่องมือวัดการหายใจ โดยให้มีเซ็นเซอร์ติดกับเข็มขัดใส่กับตัวเด็ก ซึ่งสามารถปรับขนาดได้ตามขนาดของตัวเด็ก เมื่อได้สัญญาณในการวัดการหายใจแล้วจะส่งไปที่ตัวคอนโทรลและสามารถส่งผลผ่าน ไปที่สมาร์ทโฟน ทำให้ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเห็นอัตราการหายใจของเด็กได้

นอก จากนั้นสามารถแสดงภาพออกมาเป็นกราฟว่าอัตราการหายใจที่ต่อเนื่องเป็นอย่างไร ทำให้ข้อมูลเหล่านั้นเซฟได้เป็นไฟล์และส่งให้กับผู้ดูแลและผู้รักษาต่อไป อุปกรณ์นี้นอกจากสามารถใช้ในโรงพยาบาลแล้วจะให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองได้ใช้ เพื่อให้การดูแลทารกที่บ้านมีความสะดวกมากขึ้น ลดความวิตกกังวลลง และได้ค่าการหายใจที่ถูกต้องด้วย

แต่การได้ค่าอัตราการหายใจแค่นี้ คงไม่เพียงพอ สิ่งที่อาจารย์คิดต่อไปอีกคืออยากให้มีการช่วยเหลือเบื้องต้นได้ด้วยหรือไม่ เช่น ถ้าเกิดการหยุดหายใจที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ที่ดูแลจะทำอย่างไร จึงออกแบบเครื่องมือให้สามารถวัดและช่วยกระตุ้นหายใจในเด็กได้ด้วย หลักการทำงานคือเมื่อพบว่ามีการหยุดหายใจเกิดขึ้น สมาร์ทโฟนจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนว่ามีการหยุดหายใจ และเครื่องสามารถตั้งโปรแกรมไปยังตัวกระตุ้นการหายใจเบื้องต้นแบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยกระตุ้นหายใจในเด็กให้เด็กกลับมาหายใจอีกครั้ง

เครื่อง กระตุ้นหายใจในเด็ก สามารถสั่งการผ่านสมาร์ทโฟน ทำให้รักษาเวลาที่เป็นภาวะวิกฤติ ช่วยเหลือลูกได้ในทันทีที่มีการหยุดหายใจ เพราะช่วงเวลาแม้เพียงวินาทีที่เด็กหยุดหายใจอาจส่งผลต่อสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติของสมองอย่างถาวรได้ สำหรับแนวคิดการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเนื่องจากปัจจุบันนี้แทบทุกบ้าน โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ต้องมีโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตอย่างน้อย 1 เครื่องอยู่ในมืออยู่แล้วคิดว่าน่าจะสะดวกดีถ้าเราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตตรง ไหนก็ได้ทำให้ไม่ต้องกังวล

ถ้าไม่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้บลูทู ธหรือไวไฟก็ได้ จึงทำแอพพลิเคชั่นผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ดาวน์โหลดไปใช้งานเพื่อ ดูว่าลูกของเรามีอัตราการหายใจเป็นอย่างไรด้วย และสิ่งที่จะพัฒนาต่อไปคือทำอย่างไรให้มันสะดวกกว่านี้อีกโดยที่เราจดเป็น สิทธิบัตรเครื่องกระตุ้นหายใจในเด็กแล้วว่านอกจากจะทำเป็นเข็มขัดแล้วจะทำ เป็นคลิปติดกับเสื้อผ้าเด็กเพื่อง่ายขึ้นเวลาคุณพ่อและคุณแม่ใช้งาน

ถือ เป็นไอเดียของพยาบาลไทยที่ใส่ใจต่อการดูแลรักษาเด็กทารกและเด็กเล็ก ที่น่าภูมิใจกับเครื่องกระตุ้นหายใจในเด็กแนวคิดประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ ๆ โดยที่ไม่ต้องลอกเลียนแบบใคร แต่คิดค้นจากปัญหาที่พบเพื่อแก้ไขและช่วยเหลือเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ.

Cr.เดลินิวส์