ภารกิจสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars
จากองค์กรตัวแทนอวกาศยุโรป European Space Agency’s (ESA)
เป็นการร่วมงานกันระหว่างชาติยุโรปหลายประเทศและรวมถึงสหพันธ์รัสเซียด้วย
ได้มียานสำรวจใหม่ออกแบบโดยยุโรป สำรวจลงจอดที่พื้นดาวอังคารในปี 2018
ภารกิจ ExoMars โดย ESA นี้จะสร้างความฉงนให้กับ NASA
ถึงวันแห่งชัยชนะของอวกาศยุโรปนี้ แล้วได้มีการ tweet
บอกต่ออกไปมากมายถึงวันแห่งชัยชนะของอวกาศยุโรปในครั้งนี้
เราจะได้ เห็นยานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars ลงจอดที่พื้นดาวอังคารในปี 2018 ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหลังจากเดินทางเป็นเวลา 9 เดือน โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทุกชนิด โดยมีการวิเคราะห์ตัวอย่างทางธรณีวิทยาของดาวอังคารด้วยเครื่องมือล้ำยุค
พื้นที่ เป้าหมายยานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMarsคือบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรที่เรียกว่า Oxia Planum นั้นเต็มไปด้วยผลึกแร่ไฮเดรตซึ่งมีปฏิกิริยากับน้ำในภาวะของเหลวมาอย่างยาว นานเท่านั้นถึงเกิดขึ้นได้ แม้ว่าเรื่องนี้ยังต้องผ่านผู้ใหญ่สูงสุดของ ESA ก่อน แต่กลุ่มทำงาน LSSWG ก็ยืนยันว่า Oxia Planum น่าจะเป็นตัวเลือกระดับต้นๆ
พื้นที่รองลงมา คือ Aram Dorsum และ Mawrth Vallis ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพคล้ายๆ กันกับ Oxia Planum แต่เป็นที่ตั้งของทางไหลของน้ำเก่าแก่ขนาดยักษ์และเป็นที่สะสมของโคลนหนา ขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ สองพื้นที่นี้จะถูกพิจารณาก็ต่อเมื่อโครงการเกิดมีปัญหาเลื่อนหรือมีการ เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ถ้ายานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars ถูกส่งไปถึงดาวอังคารในปี 2020 สองพื้นที่นี้จะง่ายกว่าในการเข้าถึง มากกว่า Oxia Planum ซึ่งจะต้องใช้เวลาไปถึงปี 2021
Dr. Peter Grindrod ผู้เชี่ยวชาญด้านดาวอังคาร องค์กรอวกาศสหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัย Birkbeck ในลอนดอน เห็นด้วยในทางบวกอย่างที่สุดเกี่ยวกับตัวเลือกของสถานที่ลงจอดยานสำรวจสิ่ง มีชีวิตดาวอังคาร ExoMars ว่าการที่สามารถเข้าถึงกลุ่มหินเก่าแก่ที่มีหลักฐานของน้ำ ซึ่งเป็นสภาวะแวดล้อมที่สามารถอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตได้
ยานสำรวจ สิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars นี้มีส่วนอุปกรณ์ในการช่วยค้นหาที่สำคัญคือ หัวสว่านขุดเจาะของมัน ซึ่งสามารถขุดลึกได้ถึง 2 เมตร (6.6ฟุต) ซึ่งตามรายงานว่า ทางน้ำไหลในดาวอังคารถูกยืนยันว่า ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่พื้นผิวและใต้ดิน ซึ่งสร้างความหวังเรื่องการค้นพบรูปแบบสิ่งมีชีวิตเบื้องต้นอยู่ที่แหล่ง พื้นที่ที่อุดมไปด้วยน้ำเหล่านี้ตามที่กล่าวมา
อย่างไรก็ตาม ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารนั้นเบาบางกว่าของโลกมาก และดาวอังคารก็ไม่มีสนามแม่เหล็กเหมือนกับของเรา ซึ่งแปลว่า รังสีดวงอาทิตย์ทรงพลังก็สามารถเข้ามาทำลายผิวดาวอังคารซึ่งเป็นไปได้อย่าง มากว่าจะทำลายสิ่งมีชีวิตเล็กๆ บนพื้นผิวไปด้วย แต่ด้วยการขุดลึกลงไปใต้พื้นผิว หวังว่ายานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars จะเจอร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่หลบพ้นจากรังสีอันตรายนี้บ้าง
มัน จะเป็นครั้งแรกที่ยานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars ได้เข้าถึงแหล่งที่ลึกลงไป ซึ่งมันน่าตื่นเต้นด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว แต่เราก็ควรที่จะศึกษาภาพกว้างของการวิวัฒนาการของดาวอังคาร โดยเข้าใจธรณีวิทยาของพื้นที่ลงจอดดังกล่าวให้มากๆ Dr Grindrod กล่าว และเสริมว่า หวังว่าภาพที่ออกมาจะน่าตื่นตาตื่นใจสุดๆด้วย!
แม้ว่า ภารกิจยานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars จะดูเรื่องการค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตที่อยู่กับน้ำ แต่มันก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ไปยังแหล่งที่เรียกกันว่าเป็น “พื้นที่พิเศษ” ที่มีการสังสัยว่าเป็นแหล่งของน้ำที่ปนเปื้อนไปด้วยจุลชีพที่กำเนิดบนโลก ตามสัญญาว่าด้วยอวกาศ ปี 1967 Outer Space Treaty of 1967
Cr.วิชาการ
เราจะได้ เห็นยานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars ลงจอดที่พื้นดาวอังคารในปี 2018 ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหลังจากเดินทางเป็นเวลา 9 เดือน โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทุกชนิด โดยมีการวิเคราะห์ตัวอย่างทางธรณีวิทยาของดาวอังคารด้วยเครื่องมือล้ำยุค
พื้นที่ เป้าหมายยานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMarsคือบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรที่เรียกว่า Oxia Planum นั้นเต็มไปด้วยผลึกแร่ไฮเดรตซึ่งมีปฏิกิริยากับน้ำในภาวะของเหลวมาอย่างยาว นานเท่านั้นถึงเกิดขึ้นได้ แม้ว่าเรื่องนี้ยังต้องผ่านผู้ใหญ่สูงสุดของ ESA ก่อน แต่กลุ่มทำงาน LSSWG ก็ยืนยันว่า Oxia Planum น่าจะเป็นตัวเลือกระดับต้นๆ
พื้นที่รองลงมา คือ Aram Dorsum และ Mawrth Vallis ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพคล้ายๆ กันกับ Oxia Planum แต่เป็นที่ตั้งของทางไหลของน้ำเก่าแก่ขนาดยักษ์และเป็นที่สะสมของโคลนหนา ขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ สองพื้นที่นี้จะถูกพิจารณาก็ต่อเมื่อโครงการเกิดมีปัญหาเลื่อนหรือมีการ เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ถ้ายานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars ถูกส่งไปถึงดาวอังคารในปี 2020 สองพื้นที่นี้จะง่ายกว่าในการเข้าถึง มากกว่า Oxia Planum ซึ่งจะต้องใช้เวลาไปถึงปี 2021
Dr. Peter Grindrod ผู้เชี่ยวชาญด้านดาวอังคาร องค์กรอวกาศสหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัย Birkbeck ในลอนดอน เห็นด้วยในทางบวกอย่างที่สุดเกี่ยวกับตัวเลือกของสถานที่ลงจอดยานสำรวจสิ่ง มีชีวิตดาวอังคาร ExoMars ว่าการที่สามารถเข้าถึงกลุ่มหินเก่าแก่ที่มีหลักฐานของน้ำ ซึ่งเป็นสภาวะแวดล้อมที่สามารถอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตได้
ยานสำรวจ สิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars นี้มีส่วนอุปกรณ์ในการช่วยค้นหาที่สำคัญคือ หัวสว่านขุดเจาะของมัน ซึ่งสามารถขุดลึกได้ถึง 2 เมตร (6.6ฟุต) ซึ่งตามรายงานว่า ทางน้ำไหลในดาวอังคารถูกยืนยันว่า ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่พื้นผิวและใต้ดิน ซึ่งสร้างความหวังเรื่องการค้นพบรูปแบบสิ่งมีชีวิตเบื้องต้นอยู่ที่แหล่ง พื้นที่ที่อุดมไปด้วยน้ำเหล่านี้ตามที่กล่าวมา
อย่างไรก็ตาม ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารนั้นเบาบางกว่าของโลกมาก และดาวอังคารก็ไม่มีสนามแม่เหล็กเหมือนกับของเรา ซึ่งแปลว่า รังสีดวงอาทิตย์ทรงพลังก็สามารถเข้ามาทำลายผิวดาวอังคารซึ่งเป็นไปได้อย่าง มากว่าจะทำลายสิ่งมีชีวิตเล็กๆ บนพื้นผิวไปด้วย แต่ด้วยการขุดลึกลงไปใต้พื้นผิว หวังว่ายานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars จะเจอร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่หลบพ้นจากรังสีอันตรายนี้บ้าง
มัน จะเป็นครั้งแรกที่ยานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars ได้เข้าถึงแหล่งที่ลึกลงไป ซึ่งมันน่าตื่นเต้นด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว แต่เราก็ควรที่จะศึกษาภาพกว้างของการวิวัฒนาการของดาวอังคาร โดยเข้าใจธรณีวิทยาของพื้นที่ลงจอดดังกล่าวให้มากๆ Dr Grindrod กล่าว และเสริมว่า หวังว่าภาพที่ออกมาจะน่าตื่นตาตื่นใจสุดๆด้วย!
แม้ว่า ภารกิจยานสำรวจสิ่งมีชีวิตดาวอังคาร ExoMars จะดูเรื่องการค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตที่อยู่กับน้ำ แต่มันก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ไปยังแหล่งที่เรียกกันว่าเป็น “พื้นที่พิเศษ” ที่มีการสังสัยว่าเป็นแหล่งของน้ำที่ปนเปื้อนไปด้วยจุลชีพที่กำเนิดบนโลก ตามสัญญาว่าด้วยอวกาศ ปี 1967 Outer Space Treaty of 1967
Cr.วิชาการ