ออสเตรเลียได้จัดแข่งขันรถพลังงานแสง อาทิตย์ โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า “ความท้าทายด้านพลังงานแสงอาทิตย์ระดับโลก (World Solar Challenge)” มาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 โดยในปี พ.ศ. 2558 นี้ เป็นปีแรกที่ประเทศไทยได้เข้าแข่งขันด้วย ทั้งนี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ออกแบบก่อสร้างส่งรถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ชื่อ “เอสทีซีวัน (STC 1)”   เข้าแข่งขันด้วย

จากวิกิพีเดีย รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ “โซลาคาร์ (Solar Car)” คือยานพาหนะที่ใช้ในการจราจรทางบกโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว อนึ่ง การออกแบบรถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์นั้น เป็นสหวิทยาการ คือ ใช้เทคโนโลยีในการบินและอวกาศ (Aerospace) จักรยาน (Bicycle) พลังงานทางเลือก (Alternative Energy) และ อุตสาหกรรมรถยนต์ (Automotive Industry) และพลังงานแสงอาทิตย์ยังสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานไฟฟ้า แสงสว่าง เช่น โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ แบตเตอร์รีโซล่าเซลล์ ฯลฯ

การ แข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์จะมีขึ้นในเดือน ตุลาคม 2558 โดยเริ่มขับจากเมืองดาร์วิน (Darwin) ทางเหนือของออสเตรเลียไปยังเมือง อเดลเลต (Adelaide) ทางตอนใต้ของทวีปเป็นระยะทางทั้งสิ้น 3,000 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 50 ชั่วโมง อนึ่ง ออสเตรเลียได้ออกกฎหมายอนุญาตให้รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์สามารถขับในเมือง เช่นเดียวกับรถยนต์ธรรมดาแล้ว ในปี พ.ศ. 2558 นี้

ทั้งนี้ พลังงานที่รถพลังงานแสงอาทิตย์จะใช้ได้นั้น มีจำนวนจำกัดมาก และมีแบตเตอรีที่จะเก็บไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ ให้ใช้ได้ 400 กิโลเมตร โดยไม่ต้องมีแสงอาทิตย์และให้ขับรถยนต์ไปได้ด้วยความเร็ว  97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สรุปแล้ว รถพลังงานแสงอาทิตย์ใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องปิ้งขนมปังหรืออาจจะใช้ พลังงานมากกว่าโคมไฟโซล่าเซลล์เล็กน้อย แต่อาจสามารถวิ่งด้วยความเร็วถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

การ แข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์เริ่มจากเมื่อ พ.ศ. 2525 ซึ่ง “ฮานส์ โธลสตรับ (Hans Tholstrup)” และ “ลาร์รี เพอร์คินส์ (Larry Perkins)” ผลิตรถโซลาใน พ.ศ. 2525 และนำรถดังกล่าวไปขับจากเมืองเพิร์ธ (Perth) ไปถึงเมืองซิดนี่ย์ (Sydney) ออสเตรเลีย หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา โดยผู้สนับสนุนหลักคือคณะกรรมการการท่องเที่ยวของออสเตรเลียใต้ ทั้งนี้ ให้ใช้แผงโซลาขนาดไม่เกิน 6 ตารางเมตร

ทุกๆ 2 ปี จะมีหน่วยงานต่างๆ จากทั่วโลกเข้าแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ โดยทุกทีมมีเป้าหมายเดียวกันคือ เริ่มจากเมืองดาร์วิน ทางเหนือของออสเตรเลียไปยังเมืองอเดลเลต ทางตอนใต้ของทวีปเป็นระยะทางทั้งสิ้น 3,000 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 50 ชั่วโมง โดยบังคับให้พักค้างคืนที่ “อลิซ สปริงส์” ให้ชาร์ตแบตเตอรีที่นั่นได้ แต่ต่อมาสำหรับปี 2558 นี้ จะจัดการด้านพลังงานอย่างไรก็ได้

สำหรับการแข่งขันรถพลังงานแสง อาทิตย์ในปี พ.ศ. 2558 นี้ มีผู้สมัครเข้าแข่งขัน 88 ทีม แต่ละทีมต้องจ่ายค่าสมัครประมาณ 3 แสนบาทโดยวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามเป็นทีมที่ 22 และมีทีมอื่นๆ ที่น่าสนใจ คือ

ทีมที่ 22 คือ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จากประเทศไทย (รถชื่อ เอสทีซีวัน (STC 1))
ทีมที่ 2 คือ มหาวิทยาลัยมิชิแกน จากสหรัฐอเมริกา
ทีมที่ 7 คือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ (MIT) จากสหรัฐอเมริกา
ทีมที่ 11 คือ มหาวิทยาลัยโบคุม (Bochum University) จากเยอรมนี
ทีมที่ 12 คือ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) จากสหราชอาณาจักร
ทีมที่ 35 คือ มหาวิทยาลัยมินิโซตา (University of Minnesota) จากสหรัฐอเมริกา
ทีมที่ 47 คือ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งนาโกยา (Nagoya Institute of Technology) จากญี่ปุ่น
ทีมที่ 77 คือ มหาวิทยาลัยโทรอนโท (University of Toronto) จากแคนาดา
ทีมที่ 80  คือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งปักกิ่ง (Beijing Institute of Technology) จากประเทศจีน
ทีมที่ 82 คือ มหาวิทยาลัยคุกมิน (Kookmin University) จากเกาหลี เป็นต้น

สำหรับ รถพลังงานแสงอาทิตย์ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามนั้น นับเป็นรถพลังงานแสงอาทิตย์คันแรกของประเทศไทยที่ส่งเข้าแข่งขันในระดับโลก โดย วัตถุประสงค์ที่เข้าร่วมแข่งขันที่ประเทศออสเตรเลียคือ สร้างผลงานรวมทั้งชื่อเสียงให้กับประเทศไทยและวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม  เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในด้านวิชาการให้กับอาจารย์และนักศึกษาในการมีโอกาส ร่วมแข่งขันด้านเทคโนโลยีในระดับโลก  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนในการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน และให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการแข่งขันระดับโลก เพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาตนเองในอนาคต

ขอเชิญชาวไทยช่วยกันเป็นกำลัง ใจให้รถพลังงานแสงอาทิตย์คันแรกของประเทศไทยที่ส่งเข้าแข่งขันระดับโลกได้ ประสบความสำเร็จเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่าประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้าไปกว่า ประเทศใด

Cr.Telecom & Innovation Journal