สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร) โดย
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยว่า
ในเดือนพฤศจิกายนของทุกๆ ปี ช่วงระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2558
จะเกิดปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต
สังเกตได้ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558
ต่อเนื่องไปถึงรุ่งเช้าของวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 คาดปีนี้ เห็นได้ประมาณ
10-15 ดวงต่อชั่วโมง แนะ ดูหลังเที่ยงคืน คือช่วงที่ดีที่สุด ...
สำหรับ ในปีนี้ กลุ่มดาวสิงโต หรือ"ฝนดาวตกลีโอนิดส์" จะโผล่พ้นจากขอบฟ้าในเวลาประมาณ 01.00 น. ของวันที่ 18 พฤศจิกายน ดังนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสังเกตปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์มากที่สุด คือ เวลาประมาณ 03.00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณใกล้กลุ่มดาวสิงโต ซึ่งเป็นศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตก
แต่ ปีนี้เป็นที่น่าเสียดาย ในประเทศไทยจะมีโอกาสมองเห็นฝนดาวตกดังกล่าวในจำนวนไม่มากนัก ประมาณ 10-15 ดวงต่อชั่วโมง แม้จะมีให้เห็นในปริมาณน้อย แต่ฝนดาวตกลีโอนิดส์ถือเป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศในอัตราเร็วถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ผู้สนใจสามารถรอชมความสวยงามของปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ได้ในคืนดังกล่าว
ช่วง เวลาที่ดีที่สุดในการสังเกตฝนดาวตก คือตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป เนื่องจากเวลาหัวค่ำจนถึงก่อนเที่ยงคืนเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งสวนทางการหมุน รอบตัวเองของโลก เราจะเห็นดาวตกมีความเร็วสูง ทำให้สังเกตได้ยาก แต่หลังเที่ยงคืนไปจนถึงเวลาใกล้รุ่ง จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก เราจึงเห็นดาวตกวิ่งในอัตราเร็วที่ช้ากว่า จนมีเวลาที่สามารถชี้ชวนกันดูได้ และมองเห็นความสวยงามของดาวตกได้ชัดเจนขึ้น
สถานที่ในการชมฝนดาวตก ควรเป็นสถานที่ที่ท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีแสงไฟรบกวน จะสังเกตดาวตกมีความสว่างมาก ส่วนวิธีการชมฝนดาวตกให้สบายที่สุด ให้นอนรอชม เนื่องจากช่วงที่เกิดฝนดาวตก จุดศูนย์กลางจะอยู่เหนือท้องฟ้ากลางศีรษะพอดี ส่วนการบันทึกภาพฝนดาวตกนั้น ไม่อาจบอกได้แน่ชัดว่าควรตั้งกล้องทางทิศไหน เนื่องจากกระจายทั่วท้องฟ้า ต้องอาศัยการเดา หรือเปิดหน้ากล้องวัดแสงจากเครื่องวัดแสง(LUX Meter) ให้พร้อมเพื่อรอให้ดาวตกวิ่งผ่านหน้ากล้อง
อย่าง ไรก็ตาม ฝนดาวตกลีโอนิดส์เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle) ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวงโคจรของดาวหาง ตัดผ่านวงโคจรของโลก ทำให้เศษฝุ่นของดาวหางเหล่านั้นเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการเผาไหม้จนเห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟวิ่งพาดผ่านท้องฟ้า
ทิศ ทางวงโคจรของฝนดาวตกลีโอนิดส์ สวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้าง มาก โดยมีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุดที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัดแสง(LUX Meter) จึงได้รับการขนานนามว่า "ราชาแห่งฝนดาวตก"
นอก จากฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่จะได้ชมกันในเดือนนี้แล้ว กลางเดือนธันวาคมยังมีฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือ ฝนดาวตกคนคู่ มาให้ได้ชมเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายปี 2558 อีกด้วย สังเกตได้ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเช้ามืดของวันที่ 14 ธันวาคม 2558.
Cr.ไทยรัฐ
สำหรับ ในปีนี้ กลุ่มดาวสิงโต หรือ"ฝนดาวตกลีโอนิดส์" จะโผล่พ้นจากขอบฟ้าในเวลาประมาณ 01.00 น. ของวันที่ 18 พฤศจิกายน ดังนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสังเกตปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์มากที่สุด คือ เวลาประมาณ 03.00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณใกล้กลุ่มดาวสิงโต ซึ่งเป็นศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตก
แต่ ปีนี้เป็นที่น่าเสียดาย ในประเทศไทยจะมีโอกาสมองเห็นฝนดาวตกดังกล่าวในจำนวนไม่มากนัก ประมาณ 10-15 ดวงต่อชั่วโมง แม้จะมีให้เห็นในปริมาณน้อย แต่ฝนดาวตกลีโอนิดส์ถือเป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศในอัตราเร็วถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ผู้สนใจสามารถรอชมความสวยงามของปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ได้ในคืนดังกล่าว
ช่วง เวลาที่ดีที่สุดในการสังเกตฝนดาวตก คือตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป เนื่องจากเวลาหัวค่ำจนถึงก่อนเที่ยงคืนเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งสวนทางการหมุน รอบตัวเองของโลก เราจะเห็นดาวตกมีความเร็วสูง ทำให้สังเกตได้ยาก แต่หลังเที่ยงคืนไปจนถึงเวลาใกล้รุ่ง จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก เราจึงเห็นดาวตกวิ่งในอัตราเร็วที่ช้ากว่า จนมีเวลาที่สามารถชี้ชวนกันดูได้ และมองเห็นความสวยงามของดาวตกได้ชัดเจนขึ้น
สถานที่ในการชมฝนดาวตก ควรเป็นสถานที่ที่ท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีแสงไฟรบกวน จะสังเกตดาวตกมีความสว่างมาก ส่วนวิธีการชมฝนดาวตกให้สบายที่สุด ให้นอนรอชม เนื่องจากช่วงที่เกิดฝนดาวตก จุดศูนย์กลางจะอยู่เหนือท้องฟ้ากลางศีรษะพอดี ส่วนการบันทึกภาพฝนดาวตกนั้น ไม่อาจบอกได้แน่ชัดว่าควรตั้งกล้องทางทิศไหน เนื่องจากกระจายทั่วท้องฟ้า ต้องอาศัยการเดา หรือเปิดหน้ากล้องวัดแสงจากเครื่องวัดแสง(LUX Meter) ให้พร้อมเพื่อรอให้ดาวตกวิ่งผ่านหน้ากล้อง
อย่าง ไรก็ตาม ฝนดาวตกลีโอนิดส์เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle) ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวงโคจรของดาวหาง ตัดผ่านวงโคจรของโลก ทำให้เศษฝุ่นของดาวหางเหล่านั้นเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการเผาไหม้จนเห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟวิ่งพาดผ่านท้องฟ้า
ทิศ ทางวงโคจรของฝนดาวตกลีโอนิดส์ สวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้าง มาก โดยมีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุดที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัดแสง(LUX Meter) จึงได้รับการขนานนามว่า "ราชาแห่งฝนดาวตก"
นอก จากฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่จะได้ชมกันในเดือนนี้แล้ว กลางเดือนธันวาคมยังมีฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือ ฝนดาวตกคนคู่ มาให้ได้ชมเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายปี 2558 อีกด้วย สังเกตได้ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเช้ามืดของวันที่ 14 ธันวาคม 2558.
Cr.ไทยรัฐ