ดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)” พลิกโฉมเทคโนโลยีดาวเทียมจากขนาดใหญ่เท่าตึกหนักเป็นตัน ให้เป็นดาวเทียมจิ๋วเพียงขนาด 10x10x30 เซนติเมตรจากการวัดด้วยไมโครมิเตอร์(Micrometer) น้ำหนักเบาเพียง 4 กิโลกรัม แถมอายุการใช้งานสั้นแค่ 2 ปีแต่ประสิทธิภาพกล้องจิ๋วสามารถถ่ายภาพพื้นผิวโลกระยะไกลและการประมวลผลไม่น้อยหน้าพี่เบิ้มขององค์การนาซ่า(Nasa)

“แพ ลนเนต แลปส์ (Planet Labs)” เจ้าของสิ่งประดิษฐ์ ดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)” นี้ตั้งเป้าปล่อย 150 ดวงสู่วงโคจรและลาดตระเวนในอวกาศภายในปี 59 พร้อมจับมือ “แมพพ้อยท์เอเชีย” เปิดตลาดอาเซียน

ดาวเทียมจิ๋ว“โด ฟ(Dove)”ถ่ายภาพพื้นผิวโลกขนาดเล็ก เกิดขึ้นภายในโรงรถของอดีตนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากองค์การนาซ่า(Nasa) ด้วยเป้าหมายในการถ่ายภาพโลกทั้งใบทุกๆ วัน จากนั้นส่งต่อโมเดลให้กับผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีอวกาศสร้างต้นแบบ (Cubesat)  ในปี 2553 ถัดมาอีก 2 ปี ดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)” ดาวเทียมจิ๋วดวงแรกถูกยิงขึ้นสู่อวกาศ

ดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)” สามารถถ่ายภาพที่มีคุณภาพสูง ความละเอียดที่ 3 เมตรหรือดีกว่า ทั้งรุ่นใหม่นี้ สามารถจับภาพวัตถุขนาด 3-5 เมตร และจะพัฒนาให้ภาพละเอียดมากขึ้นได้อีกในอนาคต

จอช อัลบัน รองประธานฝ่ายขายทั่วโลก แพลนเนต แลปส์ กล่าวว่า ดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)” เป็นสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีเฉพาะของบริษัท นอกจากดาวเทียมเล็กจิ๋วแล้วยังเป็นการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ภายในดาวเทียม ที่ต้องทำให้เล็ก และมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น ระบบจีพีเอส(GPS) ระบบติดตามดวงดาว ฯลฯ ก็ต้องวิจัยพัฒนาขึ้นใหม่

นอก จากความคมชัดของภาพถ่ายที่ดีกว่าดาวเทียมทั่วไปถึง 5 เท่า ยังลดต้นทุนได้อีก โดยการยิงดาวเทียมสู่อวกาศแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายราว 10 ล้านบาท ขณะที่ดาวเทียมขนาดเล็กนี้จะใช้การยิงเพียงครั้งเดียว แต่สามารถพา ดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)”ไปได้จำนวนมาก ล่าสุดคือ 17 ตัว

“นอกจากนี้ อายุการใช้งานของดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)” สั้นเพียง 2 ปีเท่านั้น เป็นความตั้งใจของเราในการออกแบบให้มีอายุการใช้งานสั้นกว่าดาวเทียมทั่วไป ที่ใช้งานได้ 7 ปี เป็นการเตรียมพร้อมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีอายุการใช้งานสั้นก็จะพัฒนาดาวเทียมที่มีเทคโนโลยีใหม่ และอัพเดตขึ้นไปทำหน้าที่ได้อย่างสม่ำเสมอ”

การให้บริการของแพลนเนต แลปส์คือ การบริการจาก ดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)”เพื่อภาพถ่ายดาวเทียมให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชน โดยมีแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมดูความเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ โปรแกรมวัดความชุ่มชื้นของพื้นที่สีเขียว และโปรแกรมดูภาพที่ต่างเวลากัน สามารถเปรียบเทียบภาพในพื้นที่เดียวกันแต่คนละเวลา เป็นต้น

เป้าหมาย ของแพลนเนต แลปส์ในปี 2559 คือ การส่งดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)” 150 ดวงขึ้นไปในอวกาศ ซึ่งจะทำให้ถ่ายภาพพื้นผิวโลกได้ทุกวัน และส่งกลับมาที่สถานีรับสัญญาณ 30 แห่งทั่วโลก โดยจะมีภาพเข้ามามากถึง 3.7 แสนภาพต่อวัน ทำให้เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลง และบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ ขณะที่หากเป็นดาวเทียมใหญ่จะต้องรอรอบของวงโคจร ไม่สามารถบันทึกภาพจุดเดิมซ้ำวันต่อวัน

ไผทสันต์ โพธิทัต ผู้อำนวยการบริษัท แมพพ้อยท์เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับแพลนเนต แลปส์ เพื่อดูแลการตลาดในภูมิภาคอาเซียน โดยเริ่มจากไทยซึ่งปัจจุบันเริ่มเข้าไปนำเสนอข้อมูลยังหน่วยงานภาครัฐที่จำ เป็นต้องใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็น หากได้ใช้ดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)”ช่วยจะเกิดประโยชน์อย่างมากและประหยัดต้น ทุน

บริษัทตั้งเป้านำร่องใช้ดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)”ในด้านการเฝ้า ระวังภัยพิบัติก่อน เนื่องจากปัจจุบันมีวิกฤติต่างๆ ที่ไทยต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง หากสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของที่ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้หรืออื่นๆ ได้ทันท่วงทีก็จะนำไปสู่การวางแผนรับมือ ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเปิดให้ลูกค้านำข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)” พัฒนาระบบ GIS ต่างๆ ที่จะนำภาพถ่ายดาวเทียมไปวิเคราะห์ตามประเภทที่ต้องการใช้งาน

ปัจจุบัน แมพพ้อยท์เอเชียอยู่ระหว่างรอท่าทีการตอบรับจากหน่วยงานราชการ และวางแผนโมเดลธุรกิจ ซึ่งดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)”อาจให้บริการภาพถ่ายดาวเทียมในลักษณะของการจ่าย รายปี ที่สามารถดาวน์โหลดภาพถ่ายดาวเทียมจิ๋ว“โดฟ(Dove)”ได้ตามต้องการ หรืออาจเป็นการให้บริการเป็นรายครั้ง ตามพื้นที่ เวลา และปริมาณของภาพที่ต้องการ เป็นต้น

Cr.Eureka