บาร์โค้ด (Barcode)
ใครยังไม่เคยซื้อสินค้าจากห้าง หรือร้านสะดวกซื้อ กันบ้าง? เชื่อว่าอัตราส่วนของคำตอบดังกล่าวคงอยู่ที่ 0.00001% เพราะนอกจากความศิวิไลซ์ที่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ปัจจุบัน ร้านค้าน้อย-ใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ในรูปแบบซื้อสะดวกและทันสมัยก็ได้ขยายตัวไปทั่วทุกแห่งหนของประเทศแล้ว

ชีวิตประจำวันแต่ละคนจะต้องวนเวียนอยู่กับ "บาร์โค้ด (Barcode)" แบบไม่รู้ตัว ทุกครั้งที่คุณซื้อสินค้าก็จะมีพนักงานขายใช้ เครื่องอ่านบาร์โค้ด อ่านรหัสบนตัวสินค้า แล้วคุณรู้จักประวัติ ความเป็นมาของเจ้าเทคโนโลยีนี้แค่ไหน เราจะพาไปหาคำตอบ…

หนึ่งในเทคโนโลยี ใกล้ตัวที่เราได้พบเห็นและเรียกว่าผูกพันอยู่กับวิถีการจับจ่ายของเรา แต่อาจไม่เคยรู้ที่มาที่ไปก็คือ "บาร์โค้ด" (Barcode) ซึ่งเราได้รวบรวมเรื่องน่ารู้และความเป็นมาของบาร์โค้ดมาฝากกัน!

10 ข้อ คลายสงสัยเกี่ยวกับ "บาร์โค้ด (Barcode)"

1. ต้นแบบเทคโนโลยี บาร์โค้ด (Barcode) มาจากแนวคิดของ Wallace Flint นักศึกษามหาวิทยาลัย Harvard ในปี 1932 ซึ่งใช้บัตรเจาะรูเป็นตัวกำหนดรหัสสินค้าแล้วนำไปตอกในเครื่องอ่าน ต่อมา Bernard Silver นักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยี Drexel ได้นำมาพัฒนาต่อ โดยใช้หมึกเรืองแสงและการฉายแสง UV แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่เสถียรในการใช้งานและต้นทุนสูง

2. Joseph Woodland ได้ช่วยเหลือ Bernard Silver จนทำให้ทั้ง 2 คน สามารถจดสิทธิบัตรการออกแบบ บาร์โค้ด (Barcode)เป็น ครั้งแรก ในวันที่ 7 ต.ค.1952 โดยมีรูปแบบในขั้นแรกเป็นวงกลมคล้ายแผ่นปาเป้า ซึ่งถูกนำไปทดลองใช้งานเป็นครั้งแรกที่ร้านค้าเครือ Kroger ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ปี 1967

3. ในเดือนมิ.ย. 1974 เครื่องสแกนบาร์โค้ด ก็ถูกพัฒนาขึ้นสำเร็จ ทั้งยังมีการปรับปรุงให้ บาร์โค้ด (Barcode)กลายเป็นลักษณะแบบแท่งและมีตัวเลขเช่นเดียวกับในปัจจุบัน

4. เพียง 26 วัน หลังจากเครื่องสแกนบาร์โค้ดหรือบางที่เรียกว่า Barcode Scanner ถูกพัฒนาขึ้น ก็มีการนำไปใช้งานจริงเป็นครั้งแรกในซุปเปอร์มาร์เก็ตทันที โดยสินค้าแรกที่ถูกสแกน คือ หมากฝรั่ง Wringley

5. การทำงานของบาร์โค้ดใช้รูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้าง-ถี่ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ด้านล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสงของเครื่องสแกน เพื่อนอ่านข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์

6. ความสะดวก รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ รวมถึงโอกาสผิดพลาดเพียง 1 ใน 10,000,000 ทำให้ระบบบาร์โค้ดได้รับความนิยมไปทั่วโลก

7. ประเทศไทยมีบาร์โค้ดใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2530 โดยสภาอุตสาหกกรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบสิทธิ์นายทะเบียนรับสมัคร สมาชิกจดทะเบียนบาร์โค้ด ซึ่งทำให้ระบบดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทันที

8. "รหัสแท่ง" คือ ชื่อภาษาไทยของบาร์โค้ด

9. การสแกน QR Code ก็ถือเป็นบาร์โค้ดประเภทหนึ่ง โดยถือเป็นบาร์โค้ด 3 มิติ ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ตามยุคสมัยที่มีความเจริญมากขึ้น

10. จากการใช้งานเพื่อสแกนสินค้าในยุคแรกได้ใช้ ปัจจุบันบาร์โค้ดถูกนำไปใช้ในหลากลายช่องทาง อาทิ เกม การแอดเพื่อนบนโซเชียล หรือการดูรายละเอียดเพิ่มเติมของสินค้า

Cr. FHM, Asia21st