น้องเมย์ รัชนก นักแบดหญิงมือ 1 ของไทย
มหกรรมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 28 ณ ประเทศสิงคโปร์ ทัพนักกีฬาจากประเทศไทยกวาดเหรียญทองมาถึง 95 เหรียญ จากการชิงชัย 402 เหรียญทอง ทำให้ไทยกลายเป็นเจ้าเหรียญทองของซีเกมส์สมัยที่ 13
ทางด้าน สิงคโปร์ ประเทศเจ้าภาพตามมาอันดับ 2 ด้วยเหรียญทองทั้งหมด 84 เหรียญ
ผลงานโดดเด่นของไทยคงหนีไม่พ้นกีฬากรีฑา ที่ไทยกวาดไปถึง 17 จาก 46 เหรียญทอง และกีฬายิงปืนที่ได้ถึง 14 จาก 26 เหรียญทอง ส่วนทางสิงคโปร์ก็ยึดตำแหน่งเจ้าสระด้วยการกวาดเหรียญทองจากกีฬาว่ายน้ำไป 23 จาก 38 เหรียญทอง
ตัด-เสริมกีฬา มาตรฐานตามใจเจ้าภาพ
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ได้รวบรวมข้อมูลซีเกมส์ 2015 ซึ่งพบว่า...กีฬาที่ใช้ในการแข่งขันซีเกมส์ในครั้งนี้มีทั้งหมด 36 ประเภท แต่เป็นกีฬาที่ชิงชัยในระดับเอเชียนเกมส์เพียง 29 ประเภทเท่านั้น
ส่วนอีก 7 ประเภทอาจเป็นกีฬาที่ แฟนๆ อาจไม่คุ้นหู เนื่องจากเป็นกีฬาเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน บางประเภทก็เป็นกีฬาที่เจ้าภาพเพิ่มเติมขึ้นมาเอง
กีฬาที่ทางเจ้าภาพเพิ่มขึ้นมาในครั้งนี้คือ เน็ตบอล ฟลอร์บอล และ สกีน้ำ ซึ่งสิงคโปร์กวาดเหรียญทองทั้งหมดจากกีฬาเน็ตบอลและฟลอร์บอล และ 3 เหรียญทองจากกีฬาสกีน้ำ ที่จัดขึ้นบ้างเป็นบางครั้งตามความพึงพอใจของประเทศเจ้าภาพ
เช่นเดียวกับ "เนปิดอว์เกมส์" ปี 2013 ทางเมียนมา เจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ก็มีการจัดแข่งขันกีฬาท้องถิ่นของเมียนมาอย่าง ชินลง (Chinlone) ซึ่งทางเจ้าภาพก็กวาดเหรียญทองไปถึง 6 จาก 8 เหรียญ
ส่วนประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้า การแข่งขันซีเกมส์ 2007 จังหวัดนครราชสีมา ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ก็มีการจัดการแข่งขันมวยไทย ซึ่งไทยก็โกยเหรียญทองเรียบทั้งหมด 12 เหรียญ หรือจะเป็นการเต้นแอโรบิกที่ไทยได้ถึง 8 จาก 10 เหรียญทอง
เพราะเหตุนี้ จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า "กีฬาซีเกมส์" ในทุกครั้ง จะต้องมีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านของประเทศเจ้าภาพหรือไร?
ขณะเดียวกัน การแข่งขันซีเกมส์ ครั้งนี้ พบว่ามีการ "ตัด" กีฬาสากล ที่มีในโอลิมปิก หรือเอเชียนเกมส์ ออกไปหลายชนิด อาทิ คาราเต้ เพาะกาย หรือแม้กระทั่ง ยกน้ำหนัก ซึ่งกีฬาเหล่านี้ ก็เป็นกีฬาความหวังของไทยด้วย
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลสถิติ พบว่า การชิงชัย กีฬาประเภทต่างๆ ก็ยังไม่เท่ากัน สำหรับการแข่งขัน "ว่ายน้ำ" ในซีเกมส์ 2013 ชิงชัย 32 เหรียญทอง แต่พอมาครั้งนี้ กลับเพิ่มขึ้นเป็น 38 เหรียญ
"ยิงปืน" ครั้งก่อนชิง 12 แต่ครั้งนี้ 26 เหรียญทอง ส่วนการแข่งขัน "เรือประเพณี" ครั้งที่จัดซีเกมส์ที่เมียนมา มีการชิงมากถึง 17 เหรียญทอง แต่สิงคโปร์เจ้าภาพในครั้งนี้ ลดเหลือเพียง 8 เหรียญทองเท่านั้น
หรือทั้งหมดนี้จะสรุปได้ว่าซีเกมส์ไม่มีมาตรฐานหรือหลัก เกณฑ์ในการกำหนดจำนวนเหรียญทองที่แน่นอน? ส่วนเหรียญทองมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความถนัดของเจ้าภาพใช่หรือไม่...
เทียบให้ชัด ตัดกีฬาพื้นบ้าน ใครเป็นเจ้าเหรียญทอง?
เมื่อมาดูเฉพาะเจาะจง "กีฬาที่เล่นเฉพาะในอาเซียน" พบว่า มีการชิงชัย 47 เหรียญทอง คือ ปันจักสีลัต เปตอง การแข่งเรือประเพณี นอกจากนี้ สิงคโปร์ ยังเพิ่ม กีฬา ฟลอร์บอล เน็ตบอล รักบี้ 7 คน และสกีน้ำ มาด้วย
ส่วนอีก 355 เหรียญทอง เป็นกีฬาที่ถูกบรรจุในการแข่งขันโอลิมปิก และเอเชียนเกมส์
หากตัดเหรียญรางวัลจากกีฬาพื้นบ้านทั้งหมด จนเหลือเพียงกีฬาที่แข่งกันในระดับสากล จะพบว่า ไทยได้ทั้งหมด 76 เหรียญทอง ขณะที่ประเทศเจ้าภาพอย่างสิงคโปร์ ได้มากกว่าไทย 1 เหรียญ รวม 77 เหรียญ
ซึ่งที่มากกว่าอาจจะเป็นเพราะเขาใส่กีฬาที่เขาถนัดลงไปมากๆ เพื่อโกยเหรียญรางวัลก็เป็นได้
แม้ไทยจะได้เหรียญทองจากกีฬาที่เป็นสากล น้อยกว่าเจ้าภาพ แต่ที่ผ่านมา ไทย ก็ยังคงรักษามาตรฐาน เป็นมหาอำนาจด้านกีฬาในระดับอาเซียน..!
เจ้าภาพกวาดเหรียญทอง ตกลงว่า ซีเกมส์ หรือกีฬาสีอาเซียน?
สถิติการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ผ่านๆ มา จะเห็นได้ว่าประเทศเจ้าภาพมักจะกวาดเหรียญทองจนกลายเป็นเจ้าเหรียญทอง ซีเกมส์ หรือมีจำนวนเหรียญทองมากมายเป็นอันดับ 2 เสมอ
ซีเกมส์ในครั้งนี้ ก็เช่น ประเทศสิงคโปร์ เจ้าภาพกวาดเหรียญทองมากถึง 84 เหรียญ แต่หากมองย้อนกลับไปเมื่อซีเกมส์ครั้งก่อน สิงคโปร์เก็บเหรียญทองไปได้เพียง 34 เหรียญทอง ได้อันดับที่ 6 ของซีเกมส์ 2013
เจ้าภาพครั้งที่แล้ว อย่างเมียนมา ก็ได้ถึง 86 เหรียญทอง แต่พอมาครั้งนี้ได้เพียง 12 เหรียญ เท่านั้น เพราะกีฬา "ชินลง" และ "โววีนัม" ถูกตัดออกจากการแข่งขัน
เมื่อมองย้อนไปปี 2011 ที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ อินโดนีเซีย เป็นเจ้าเหรียญทอง ได้มากมายถึง 182 เหรียญ เมื่อเมียนมา เป็นเจ้าภาพ กลับได้เพียง 65 เหรียญ และครั้งนี้ ได้ 46 เหรียญเท่านั้น!
ขณะที่ ประเทศไทย เอง เป็นชาติที่เป็นเจ้าเหรียญทองมาแล้ว 13 ครั้ง (รวมครั้งนี้) จากทั้งหมด 28 ครั้ง รองลงมาคือประเทศอินโดนีเซีย 10 ครั้ง ขณะที่ สิงคโปร์ ไม่เคยเป็นเจ้าซีเกมส์แม้แต่ครั้งเดียว
มหกรรมกีฬา "ซีเกมส์" ก็เปรียบคล้าย "กีฬาสีอาเซียน" หากใครเป็นเจ้าภาพ ก็จะคิดหาวิธี "ตัด" "เพิ่ม" "ลด" เพื่อหาทางเป็นเจ้าเหรียญทอง หรือกอบโกยให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ จะเป็นผลดีกับวงการกีฬาอาเซียนหรือไม่ ทุกชาติต้องร่วมกันหาคำตอบ...?
Cr.ไทยรัฐออนไลน์ , Asia21st
มหกรรมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 28 ณ ประเทศสิงคโปร์ ทัพนักกีฬาจากประเทศไทยกวาดเหรียญทองมาถึง 95 เหรียญ จากการชิงชัย 402 เหรียญทอง ทำให้ไทยกลายเป็นเจ้าเหรียญทองของซีเกมส์สมัยที่ 13
ทางด้าน สิงคโปร์ ประเทศเจ้าภาพตามมาอันดับ 2 ด้วยเหรียญทองทั้งหมด 84 เหรียญ
ผลงานโดดเด่นของไทยคงหนีไม่พ้นกีฬากรีฑา ที่ไทยกวาดไปถึง 17 จาก 46 เหรียญทอง และกีฬายิงปืนที่ได้ถึง 14 จาก 26 เหรียญทอง ส่วนทางสิงคโปร์ก็ยึดตำแหน่งเจ้าสระด้วยการกวาดเหรียญทองจากกีฬาว่ายน้ำไป 23 จาก 38 เหรียญทอง
ตัด-เสริมกีฬา มาตรฐานตามใจเจ้าภาพ
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ได้รวบรวมข้อมูลซีเกมส์ 2015 ซึ่งพบว่า...กีฬาที่ใช้ในการแข่งขันซีเกมส์ในครั้งนี้มีทั้งหมด 36 ประเภท แต่เป็นกีฬาที่ชิงชัยในระดับเอเชียนเกมส์เพียง 29 ประเภทเท่านั้น
ส่วนอีก 7 ประเภทอาจเป็นกีฬาที่ แฟนๆ อาจไม่คุ้นหู เนื่องจากเป็นกีฬาเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน บางประเภทก็เป็นกีฬาที่เจ้าภาพเพิ่มเติมขึ้นมาเอง
กีฬาที่ทางเจ้าภาพเพิ่มขึ้นมาในครั้งนี้คือ เน็ตบอล ฟลอร์บอล และ สกีน้ำ ซึ่งสิงคโปร์กวาดเหรียญทองทั้งหมดจากกีฬาเน็ตบอลและฟลอร์บอล และ 3 เหรียญทองจากกีฬาสกีน้ำ ที่จัดขึ้นบ้างเป็นบางครั้งตามความพึงพอใจของประเทศเจ้าภาพ
เช่นเดียวกับ "เนปิดอว์เกมส์" ปี 2013 ทางเมียนมา เจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ก็มีการจัดแข่งขันกีฬาท้องถิ่นของเมียนมาอย่าง ชินลง (Chinlone) ซึ่งทางเจ้าภาพก็กวาดเหรียญทองไปถึง 6 จาก 8 เหรียญ
ส่วนประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้า การแข่งขันซีเกมส์ 2007 จังหวัดนครราชสีมา ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ก็มีการจัดการแข่งขันมวยไทย ซึ่งไทยก็โกยเหรียญทองเรียบทั้งหมด 12 เหรียญ หรือจะเป็นการเต้นแอโรบิกที่ไทยได้ถึง 8 จาก 10 เหรียญทอง
เพราะเหตุนี้ จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า "กีฬาซีเกมส์" ในทุกครั้ง จะต้องมีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านของประเทศเจ้าภาพหรือไร?
ขณะเดียวกัน การแข่งขันซีเกมส์ ครั้งนี้ พบว่ามีการ "ตัด" กีฬาสากล ที่มีในโอลิมปิก หรือเอเชียนเกมส์ ออกไปหลายชนิด อาทิ คาราเต้ เพาะกาย หรือแม้กระทั่ง ยกน้ำหนัก ซึ่งกีฬาเหล่านี้ ก็เป็นกีฬาความหวังของไทยด้วย
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลสถิติ พบว่า การชิงชัย กีฬาประเภทต่างๆ ก็ยังไม่เท่ากัน สำหรับการแข่งขัน "ว่ายน้ำ" ในซีเกมส์ 2013 ชิงชัย 32 เหรียญทอง แต่พอมาครั้งนี้ กลับเพิ่มขึ้นเป็น 38 เหรียญ
"ยิงปืน" ครั้งก่อนชิง 12 แต่ครั้งนี้ 26 เหรียญทอง ส่วนการแข่งขัน "เรือประเพณี" ครั้งที่จัดซีเกมส์ที่เมียนมา มีการชิงมากถึง 17 เหรียญทอง แต่สิงคโปร์เจ้าภาพในครั้งนี้ ลดเหลือเพียง 8 เหรียญทองเท่านั้น
หรือทั้งหมดนี้จะสรุปได้ว่าซีเกมส์ไม่มีมาตรฐานหรือหลัก เกณฑ์ในการกำหนดจำนวนเหรียญทองที่แน่นอน? ส่วนเหรียญทองมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความถนัดของเจ้าภาพใช่หรือไม่...
เทียบให้ชัด ตัดกีฬาพื้นบ้าน ใครเป็นเจ้าเหรียญทอง?
เมื่อมาดูเฉพาะเจาะจง "กีฬาที่เล่นเฉพาะในอาเซียน" พบว่า มีการชิงชัย 47 เหรียญทอง คือ ปันจักสีลัต เปตอง การแข่งเรือประเพณี นอกจากนี้ สิงคโปร์ ยังเพิ่ม กีฬา ฟลอร์บอล เน็ตบอล รักบี้ 7 คน และสกีน้ำ มาด้วย
ส่วนอีก 355 เหรียญทอง เป็นกีฬาที่ถูกบรรจุในการแข่งขันโอลิมปิก และเอเชียนเกมส์
หากตัดเหรียญรางวัลจากกีฬาพื้นบ้านทั้งหมด จนเหลือเพียงกีฬาที่แข่งกันในระดับสากล จะพบว่า ไทยได้ทั้งหมด 76 เหรียญทอง ขณะที่ประเทศเจ้าภาพอย่างสิงคโปร์ ได้มากกว่าไทย 1 เหรียญ รวม 77 เหรียญ
ซึ่งที่มากกว่าอาจจะเป็นเพราะเขาใส่กีฬาที่เขาถนัดลงไปมากๆ เพื่อโกยเหรียญรางวัลก็เป็นได้
แม้ไทยจะได้เหรียญทองจากกีฬาที่เป็นสากล น้อยกว่าเจ้าภาพ แต่ที่ผ่านมา ไทย ก็ยังคงรักษามาตรฐาน เป็นมหาอำนาจด้านกีฬาในระดับอาเซียน..!
เจ้าภาพกวาดเหรียญทอง ตกลงว่า ซีเกมส์ หรือกีฬาสีอาเซียน?
สถิติการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ผ่านๆ มา จะเห็นได้ว่าประเทศเจ้าภาพมักจะกวาดเหรียญทองจนกลายเป็นเจ้าเหรียญทอง ซีเกมส์ หรือมีจำนวนเหรียญทองมากมายเป็นอันดับ 2 เสมอ
ซีเกมส์ในครั้งนี้ ก็เช่น ประเทศสิงคโปร์ เจ้าภาพกวาดเหรียญทองมากถึง 84 เหรียญ แต่หากมองย้อนกลับไปเมื่อซีเกมส์ครั้งก่อน สิงคโปร์เก็บเหรียญทองไปได้เพียง 34 เหรียญทอง ได้อันดับที่ 6 ของซีเกมส์ 2013
เจ้าภาพครั้งที่แล้ว อย่างเมียนมา ก็ได้ถึง 86 เหรียญทอง แต่พอมาครั้งนี้ได้เพียง 12 เหรียญ เท่านั้น เพราะกีฬา "ชินลง" และ "โววีนัม" ถูกตัดออกจากการแข่งขัน
เมื่อมองย้อนไปปี 2011 ที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ อินโดนีเซีย เป็นเจ้าเหรียญทอง ได้มากมายถึง 182 เหรียญ เมื่อเมียนมา เป็นเจ้าภาพ กลับได้เพียง 65 เหรียญ และครั้งนี้ ได้ 46 เหรียญเท่านั้น!
ขณะที่ ประเทศไทย เอง เป็นชาติที่เป็นเจ้าเหรียญทองมาแล้ว 13 ครั้ง (รวมครั้งนี้) จากทั้งหมด 28 ครั้ง รองลงมาคือประเทศอินโดนีเซีย 10 ครั้ง ขณะที่ สิงคโปร์ ไม่เคยเป็นเจ้าซีเกมส์แม้แต่ครั้งเดียว
มหกรรมกีฬา "ซีเกมส์" ก็เปรียบคล้าย "กีฬาสีอาเซียน" หากใครเป็นเจ้าภาพ ก็จะคิดหาวิธี "ตัด" "เพิ่ม" "ลด" เพื่อหาทางเป็นเจ้าเหรียญทอง หรือกอบโกยให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ จะเป็นผลดีกับวงการกีฬาอาเซียนหรือไม่ ทุกชาติต้องร่วมกันหาคำตอบ...?
Cr.ไทยรัฐออนไลน์ , Asia21st