หลังจาก กรุงเทพมหานคร เคยเป็น 1 ใน 10 เมืองที่มีผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กชื่อดัง "เฟซบุ๊ก (FacebooK)" มาแล้ว และตามมาด้วย คนไทยติดอันดับโลกอีกครั้งบน ยูทูบ (YouTube) โดยครั้งนี้ติด 1 ใน 10 ประเทศที่มีระยะเวลารับชมวิดีโอออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ "ยูทูบ (YouTube) " สูงที่สุด
"กูเกิล" ต้นสังกัด "ยูทูบ (YouTube) ประเทศไทย" พูดถึงความสำเร็จของ "ยูทูบ (YouTube)" ว่ามีทั้งในแง่การผลักดันให้มีผู้พัฒนาเนื้อหาเพิ่มขึ้น และระยะเวลาในการรับชม ทำให้มีช่องรายการที่มีผู้ติดตามมากกว่าล้านไอดีเป็นจำนวนมาก
วันนี้ครบรอบ 1 ปี "ยูทูบ (YouTube) ประเทศไทย" และ 10 ปี "ยูทูบ (YouTube)" ในโลกหลังเปิดบริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2548 (กูเกิลซื้อกิจการมาในปี 2549)
"กัวทาม อนันต์" ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการและพันธมิตร ยูทูบ (YouTube)เอเชียแปซิฟิกบอกว่า หลังจากเป็นช่องทางให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกอัพโหลดเนื้อหาวิดีโอผ่านทาง Pocket WiFi ขึ้นมาเผยแพร่ให้คนบนโลกออนไลน์ได้รับชมครบ 1 ปีเต็ม
บริษัทก็เปิดตัว Partner Program หรือระบบโฆษณาแทรกไว้บนวิดีโอเพื่อหารายได้ โดยไม่ลืมจะสร้างระบบป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ด้วย
การ รุกเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เป็นการกระตุ้นให้แบรนด์สินค้า และผู้พัฒนาคอนเทนต์ตื่นตัวใช้แพลตฟอร์ม "วิดีโอ" ส่งผลให้มี "คอนเทนต์" ท้องถิ่นเพิ่มขึ้นถึง 50% ขณะที่เวลาในการรับชมเองก็เพิ่มขึ้นถึง 110% สูงกว่าเวลาในการรับชม ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 50%
ปัจจุบัน "ยูทูบ (YouTube)" ให้บริการเป็นภาษาท้องถิ่น 76 ภาษา ครอบคลุม 95% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก และมีผู้เข้าใช้งานเพิ่มขึ้น 40% ผ่านทาง ตัวรับสัญญาณ WiFi อัตราการเติบโตในประเทศไทย ล้ำหน้าตลาดโลกไปไกลทั้งในแง่การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้ และระยะเวลาในการรับชม ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะปัจจัยเสริมส่งครบถ้วน
ปัจจัยที่ส่งผล ก็มีตั้งแต่ราคาเครื่อง, ค่าบริการ, พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่ชื่นชอบการเสพคอนเทนต์ด้านความบันเทิงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นละคร, เพลง หรือเกมโชว์ เป็นต้น และระบบอินเทอร์เน็ต ไวไฟ (Wi-Fi) อุปกรณ์ไวไฟ (Wi-Fi) ต่าง ๆ มากมายที่รองรับการเชื่อมต่อไวไฟ ( WIFI ) ในทุกที
"อริยะ พนมยงค์" หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ กูเกิล ประเทศไทยระบุว่า ผู้ใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตในไทย ปัจจุบันมีสัดส่วนกว่า 45% ของจำนวนประชากร หรือคิดเป็น 2 ใน 3 ของประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และมีไวไฟ (WIFI) รองรับมากมาย
เท่ากับว่า "อินเทอร์เน็ต" ได้กลายเป็นช่องทางในการรับ "สื่อ" ที่สำคัญมาก เป็นรองแค่ "โทรทัศน์" เท่านั้น จึงไม่แปลกที่แบรนด์สินค้าและผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตวิดีโอจะ หันมาเข้าถึงผู้บริโภคผ่าน "ยูทูบ (YouTube)"
"ราคาอุปกรณ์ที่ถูกลงทำให้คนทุกระดับเข้าถึงได้ ขณะที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือยังสร้างแพ็กเกจรับชมยูทูบ (YouTube)ได้ไม่อั้นในราคาต่ำสุดแค่ 29 บาท/วัน ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงคอนเทนต์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น"
ปัจจุบันผู้ใช้ "ยูทูบ (YouTube)" ในประเทศไทยมีการรับชมผ่านมือถือคิดเป็นสัดส่วน 50% ของวิธีรับชมทั้งหมด ขณะที่แบรนด์สินค้าเริ่มจับทางได้และการสร้างวิดีโอโฆษณาออนไลน์ได้ดีขึ้น ทำให้มีช่องรายการของแบรนด์ต่าง ๆ ถึง 15 ราย มีผู้ติดตามเกินล้าน และโฆษณาที่ได้รับความนิยมสูงสุด 10 อันดับแรกเป็นโฆษณาของบริษัทไทยทั้งหมด"
ปีนี้ "ยูทูบ (YouTube)" ไม่รีรอที่จะเพิ่มความเข้มข้นในการทำตลาดมากขึ้นไปอีก โดยประกาศตัวว่าจะเป็นแพลตฟอร์มของทุกกลุ่มผู้ใช้ ไม่ว่าจะในฐานะช่องรายการที่รวมรายการจำนวนมากไว้, ช่องทางปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์, ช่องทางสร้างรายได้ให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ และเป็นช่องทางหลักในการประชาสัมพันธ์ให้สินค้า
ไม่ใช่แค่นั้น กูเกิลต้องการดึงดูดให้คน (ไทย) เสพความบันเทิงผ่านเว็บ "ยูทูบ (YouTube)" มากขึ้นไปอีกด้วยการเปิดบริการ "YouTube Offline Viewing" (การรับชมโดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต) แล้วไทยเป็นประเทศที่ 4 ที่มี YouTube Offline Viewing ให้เลือกใช้ตามหลังอินเดีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
บริการดังกล่าวขีดวงไว้ให้ใช้ได้เฉพาะบน "สมาร์ทดีไวซ์" และไม่รวมคอนเทนต์เพลงด้วยเหตุผลทางธุรกิจของค่ายเพลงต่าง ๆ นอกนั้นดึงลงมาเก็บไว้ดูแบบออฟไลน์ได้หมด มีข้อแม้เพิ่มเติมอีกนิดว่า คอนเทนต์ที่ดึงมาเก็บไว้ดูมีอายุในการรับชมแค่ 48 ชม.หลังเริ่มต้นดู
"YouTube Offline Viewing" มีให้บริการเฉพาะในภูมิภาคเอเชียเท่านั้น ด้วยเหตุผลว่าต้องการช่วยผู้บริโภคแถบนี้ให้เข้าถึงการรับชมรายการได้อย่าง สะดวกและถูกลง เพราะจัดเก็บวิดีโอที่ต้องการรับชมผ่านการเชื่อมต่อเครือข่าย "ไวไฟ (WiFi)" ไว้ล่วงหน้าได้ ประหยัดค่าอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือไปได้เยอะ
เอาใจและอำนวยความสะดวกขนาดนี้ ไม่รู้ว่าครบ 2 ปีคนไทยจะขยับอันดับโลกขึ้นมาเป็นเท่าไร ?
Cr.ประชาชาติธุรกิจ