ก้าวสู่ยุค Internet of Things (IoT) |
Internet of Things (IoT) คือการก้าวเข้าสู่ยุคที่ หลากหลายสรรพสิ่ง สามารถพูดคุยกันเอง และติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องรอคอยให้มนุษย์สั่งการอีกต่อไป สำหรับผู้อ่าน ที่ติดตามกระแสของเทคโนโลยี ย่อมต้องทราบดีว่า Apple Watch เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของ Internet of Things (IoT) และเทรนด์ดังกล่าวนี้ ได้มีจุดเริ่มต้นมาระยะหนึ่งแล้ว และสามารถสังเกตเห็นได้แม้กระทั่งในประเทศไทย
สำหรับ ผู้อ่านหลายท่าน อาจยังจำได้ดี หลายปีก่อนหน้านี้ หากต้องการติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์และแล็ปท็อปเท่านั้น แต่ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ได้เกิด Disruptive Innovation ของสมาร์ทโฟน ที่ทำให้มนุษย์สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จากทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์
ไม่นานหลังจากนั้นเทคโนโลยีจากสมาร์ทโฟน ก็ได้ถูกนำมาปฏิรูปเครื่องใช้เทคโนโลยีอื่นๆ จนเกิดเป็น สมาร์ททีวี(Android TV Box) สมาร์ทคาเมรา(Smart IP Camera) สมาร์ทคาร์(Smart Car) ฯลฯ แต่ในยุคนั้น เครื่องมือและเครื่องใช้ที่สามารถติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเทอร์เน็ต ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงและมีความสลับซับซ้อนทางไอที (รีวิวการใข้งาน กล้อง IP Camera)
Internet of Things จะเป็นยุคที่หลากหลายสรรพสิ่ง แม้แต่เครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่มีควรจะมีความสลับซับซ้อน ยังสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ได้แก่ หลอดไฟอัตโนมัติ เครื่องปรับอากาศ เสื้อผ้า ตู้เย็น เครื่องทำกาแฟ ตู้ซักผ้า ฯลฯ (รีวิวการใช้งาน ไฟอัตโนมัติ)
บริษัทวิจัย Gartner ได้ประเมินว่าจะมี Internet of Things (IoT) อย่างน้อย 26,000 ล้านอุปกรณ์ ภายในปี 2020 นี้ ในขณะที่บริษัทเทคโนโลยี CISCO ได้ประเมินว่าจะมีถึง 50,000 ล้านอุปกรณ์ในปีเดียวกัน
ความ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างอุปกรณ์ในยุคของสมาร์ท (สมาร์ทโฟน(SmartPhone) สมาร์ททีวี(Smart TV) สมาร์ทคาเมรา(Smart IP Camera) และยุคของ Internet of Things (IoT) ก็คือมนุษย์เป็นผู้ใช้อุปกรณ์สมาร์ทในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่างเช่น มนุษย์ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเล่นเฟซบุ๊ค ในขณะที่ Internet of Things (IoT) ได้บุกเบิกการที่สรรพสิ่งสามารถติดต่อสื่อสารกันเองผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องรอยคอยการสั่งการของมนุษย์ กล่าวคือ สรรพสิ่งนั้นเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเสียเอง
ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาที่ผู้ใช้สวมใส่อยู่ อาจแจ้งเตือนไปที่เครื่องปรับอากาศ ระบบไฟในบ้าน ระบบไฟอัตโนมัติ และกระทั่งเครื่องทำกาแฟ ผ่านอินเทอร์เน็ต ว่าผู้ใช้กำลังเดินทางใกล้ถึงบ้านแล้ว เพื่อให้อุปกรณ์ Internet of Things (IoT) เหล่านี้ เริ่มทำงานทันที เพื่อเตรียมบรรยากาศในบ้านให้พร้อมที่สุด ก่อนที่ผู้ใช้จะเดินทางถึงบ้าน หรือเปิดทีวีผ่านกล่องแอนดรอย (Android TV Box) เมือมาถึงบ้าน
อีกตัวอย่างหนึ่ง โทรทัศน์ ที่เข้าสู่ยุคของ Internet of Things (IoT) อาจได้รับการแจ้งเตือนจากนาฬิกาของผู้ใช้งาน ว่าเขาจะกลับมารับชมรายการโปรดไม่ทัน เลยตัดสินใจอัดรายการเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับชมในภายหลัง
ตัวอย่าง สุดท้าย เสื้อผ้าที่ผู้ใช้สวมใส่อยู่ อาจรับทราบว่าผู้ใช้ได้สูญเสียเหงื่อไปมาก ภายใต้อุณภูมิที่ร้อนระอุ จึงได้แจ้งตู้เย็นให้เตรียมเครื่องดื่มเย็นๆ ให้กับผู้ใช้
นอกเหนือจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแล้ว ปัจจัยสำคัญของ Internet of Things คือระบบเซนเซอร์เฉพาะตัวของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลที่สำคัญ โดยที่ไม่ต้องอาศัยมนุษย์มาคอยกดปุ่มอัพโหลดข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกา ที่สามารถบันทึก ตำแหน่งสถานที่ การเคลื่อนไหว ฯลฯ ของผู้ใช้งาน เสื้อผ้าที่สามารถวัดการสูญเสียเหงื่อ อุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ เป็นต้น
ข้อมูลจากเซนเซอร์เหล่านี้ เมื่อประยุกต์ด้วยระบบ Big Data ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญของ Internet of Things (IoT) จะสามารถทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถตัดสินใจแทนมนุษย์ได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อประยุกต์ข้อมูลเซนเซอร์ของนาฬิกา ที่ทำให้รู้ตำแหน่งสถานที่ การเคลื่อนไหว ฯลฯ ของผู้ใช้งาน ระบบ Big Data จะวิเคราะห์ได้ว่า ผู้ใช้กำลังกลับบ้าน และควรออกคำสั่งอะไรให้กับเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟในบ้าน และกระทั่งเครื่องทำกาแฟ เพื่อเตรียมบ้านให้พร้อมก่อนที่ผู้ใช้จะเดินทางไปถึง ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นโดยที่มนุษย์อาจไม่ได้สังเกตเห็น เพราะเป็นขั้นตอนของ Automation หรือการนำระบบอัตโนมัติใช้แทนคนในการสั่งการ
ในปัจจุบัน โลกแห่งอินเทอร์เน็ต อาจเต็มไปด้วยข้อมูลจากมนุษย์ เพื่อมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เป็นข้อมูลจากโลกโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนังสือ ภาพ เสียง และวีดีโอ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจาก นวัตกรรมของ เว็บ 2.0 ที่ถูกต่อยอดด้วยโซเชียลมีเดีย และเป็นการปลดแอกครั้งสำคัญ ที่ใครๆ ก็สามารถเป็นสื่อได้ เปิดหาความบันเทิงภายในบ้านด้วยกล่องแอนดรอย (Android TV Box)
แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ โลกแห่งอินเทอร์เน็ต อาจเต็มไปด้วยข้อมูลจากสรรพสิ่ง เพื่อสรรพสิ่ง เพราะ Internet of Things จะเป็นการปลดแอกอีกครั้งหนึ่ง ที่สรรพสิ่งใดๆ ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ การร่วมใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างมนุษย์ และ สรรพสิ่ง เป็นเทรนด์ใหม่ ที่ต้องมาอย่างแน่นอน และไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ที่เคยพลาดโอกาสทองทางธุรกิจจากยุคของ เว็บ 2.0 และ โซเชียลมีเดียมาแล้ว
อย่างไรก็ดี การฉกฉวยโอกาสจาก Internet of Things (IoT) นี้ จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีในเชิงลึก ซึ่งรวมไปถึง Big Data ด้วย และอาจไม่ใช่เรื่องราวของ Media ที่ไม่จำเป็นต้องรู้ลึกในเทคโนโลยีอีกต่อไป จึงเป็นที่น่าสมควรติดตาม ถึงการพัฒนาธุรกิจนี้ต่อไปในประเทศไทย
Cr.กรุงเทพธุรกิจ