El แกมมาเงามัวได้ถึงเพดานของพวกเขาในขณะที่ Gerphil เป็นเพียงการเริ่มต้น คำถามที่ยิ่งใหญ่สำหรับนักเต้นเงาในขณะนี้คือ "ทำอะไรต่อไป"
ฟิลิปปินส์มีสองผู้โชคดีรอบชิงชนะเลิศแกรนด์ El แกมมาเงามัวเป็นผู้ชนะในวันนี้ในขณะที่ Gerphil ฟลอเรสเป็นผู้ชนะในอนาคต ไม่มีเหตุผลใดที่เงินรางวัลให้กับเอลแกมมาเงามัวเป็น
พวกเขาทำดีที่สุดของพวกเขาและอาจจะเป็นโอกาสสุดท้ายของพวกเขาที่จะเข้าร่วม
ในการแข่งขันที่สำคัญ ๆ เช่น AGT เพื่อให้พวกเขาสมควรได้รับมัน ผมไม่คิดว่ามีการแข่งขันความสามารถอื่น ๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่า AGT ที่พวกเขาอีกครั้งสามารถแสดงความสามารถของพวกเขา ผมไม่ทราบว่ากฎของแฟรนไชส์ แต่ผมคิดว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าร่วมอังกฤษมีพรสวรรค์ ในมุมมองที่แตกต่างกันมันเป็นเรื่องน่าเศร้าที่จะบอกว่าอนาคตของพวกเขาจะถูก จำกัด
อะไรต่อไปสำหรับ Gerphil เจอรัลฟลอเรส?
Gerphil สั้นลงไม่ได้เพราะเธอไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพราะผู้คนจำนวนมากชอบที่จะดูการกระทำที่น่าทึ่งและอารมณ์มากกว่าการร้องเพลง ที่มีความสามารถเท่ากันที่มีคุณภาพกลุ่มเสมอชนะการแข่งขันเพราะคนและผู้พิพากษามักจะเข้าข้างความพยายามของกลุ่ม
อะไรต่อไปสำหรับ Gerphil เจอรัลฟลอเรส?
Gerphil สั้นลงไม่ได้เพราะเธอไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพราะผู้คนจำนวนมากชอบที่จะดูการกระทำที่น่าทึ่งและอารมณ์มากกว่าการร้องเพลง ที่มีความสามารถเท่ากันที่มีคุณภาพกลุ่มเสมอชนะการแข่งขันเพราะคนและผู้พิพากษามักจะเข้าข้างความพยายามของกลุ่ม
ผ่านพ้นการประกวดรอบ "แกรนด์ ไฟนอล (Grand Final)”
หรือการแข่งขันรอบสุดท้ายเพื่อให้ประชาชนทั่วเอเชียโหวตว่าใครจะเป็นผู้ชนะ
เลิศในรายการ "เอเชียก็อตทาเลนต์ (Asia's Got Talent)"
อุ่นเครื่องเปิดม่านการแสดงโดย “มิค” ชวกร คงธนะเจริญชัย ผู้ชนะคะแนนโหวต
จากการส่งคลิปมาประกวดผ่านแฟนเพจของ บิ๊กโคล่า (Big Cola) ชาวไทย ออกมาเต้น
“ป๊อปปิ้ง (popping)” เรียกเสียงปรบมือ
ก่อนที่ผู้เข้าแข่งขัน 9 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบไก้แก่ The
Talento-ไทย Gao Lin and Liu Xin -จีน Gwyneth Dorado-ฟิลิปปินส์ Dance
Thrilogy-สิงคโปร์ Khusugtun-มองโกเลีย Triqstar-ญี่ปุ่น El Gamma
Penumbra-ฟิลิปปินส์ Gerphil Geraldine Flores -ฟิลิฟปินส์ และ Junior New
System -ฟิลิปปินส์ จะออกมาประชันกันอย่างสุดฝีมือ
"บันเทิง คมชัดลึก" ได้รับเชิญจาก "บิ๊กโคล่า" เจ้าของสโลแกน
"THINK BIG…คิดใหญ่ ไปให้สุด" ผู้สนับสนุนหลักในรายการ
ให้เข้าร่วมรับชมการแข่งขันในรอบนี้ ณ มารินา เบย์ แซนดส์ เธียเตอร์
ประเทศสิงคโปร์
พร้อมได้สัมภาษณ์พิเศษจากคณะกรรมการทั้ง 4 ท่านคือ เดวิด
ฟอสเตอร์ เมลานี ซี อังกุน จิปตา ซัสมี และ แวนเนส วู
ภายหลังจากการแข็งขันรอบแกรนด์ไฟนอลเสร็จสิ้น
โดยคณะกรรมการแต่ละท่านให้ความเห็นว่า มีทีมที่อยู่ในใจหลายทีม
ถ้าจะให้บอกว่าทีมไหนมีโอกาสชนะ หรือชอบทีมไหนมากที่สุด คงไม่สามารถตอบได้
“ตอนแรกเรายังไม่รู้จักผู้เข้าแข่งขันในแต่ละทีมมากท่าไหร่
แต่พอการแข่งขันมีไปเรื่อยๆ ทำให้เริ่มรู้จักผู้เข้าแข่งขันมากขึ้น
โดยเฉพาะในรอบไฟนอลนี้ ทุกคนมีพัฒนาการ แต่ละโชว์สุดยอดมาก
ทำให้ความชอบเปลี่ยนไปเรื่อยๆ” คำตอบของเมลานี
ส่วนเกณฑ์ในการตัดสินให้คะแนน ของโชว์ที่มีมากกว่าการ้องเพลง
กรรมการให้ความเห็นว่า พวกเขาทั้ง 4 คน มีความเชี่ยวชาญในหลายส่วน
เดวิดกับอังกุนจะดูเรื่องการร้อง ส่วนแวนเนสและเมลานี ดูเรื่องการเต้น
แลกเปลี่ยนความรู้และพึ่งพาอาศัยกันไป
“เดวิดเป็นคนที่ให้ความเห็นที่ตรง จริงใจ และโหดร้าย แต่เขาทำมันด้วยความความมีเสน่ห์” แวนเนสบอก
เดวิดเสริมต่อว่า “ผมตัดสินใจที่จะซื่อสัตย์กับตัวเอง
ด้วยการให้ความคิดเห็นถูกต้องที่สุดเมื่อจำเป็น เพราะถ้าบางโชว์แย่จริงๆ
พวกเขาไม่สมควรอยู่บนเวทีในรอบสุดท้าย
ผมรู้ว่าวัฒนธรรมเอเชียว่าค่อนข้างจะนุ่มนวล ซึ่งผมทำตัวดีที่สุดแล้ว
เชื่อหรือเปล่า ผมสามารถโหดได้กว่านี้อีก”เดวิดกล่าวอย่างตรงไปตรงมา
สุดท้ายสิ่งที่คณะกรรมการชื่นชอบในการแข่งขัน เอเชียก็อตทาเลนต์
คือความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เจอ
เรียกว่าเหมือนได้มาเฉลิมฉลองความเป็นเอเชีย
นอกจากนี้ นักร้องวงร็อกรุ่นจิ๋วที่เรียกเสียงกรี๊ดสนั่น
จากเพลง "Final Countdown" ของยุโรป ที่ใช้เปิดโชว์ในรอบแกรนด์ไฟนอล
เป็นตัวแทนประเทศไทยเพียงหนึ่งเดียวในนามวง "ทาเลนท์โต (Talento)"
มีสมาชิกประกอบด้วย "พรู" ด.ช.ธันวา เนตรไทย อายุ (ร้องนำ)
"มิค" ด.ช.เสฏฐนันท์ (กีตาร์) แม็ค" ด.ช.สุภณัฐ พรวรวาณิช (กลอง) "ริว"
ด.ช.จิรพัฒน์ กนกวิไลรัตน์ (คีย์บอร์ด) และ "พร้อม" ด.ช.ปภังกร
เดชาวงศ์ภาคิน (เบส) ได้มาเปิดใจหลังการแข่งขันให้ฟังว่า
จุดเริ่มต้นการรวมตัวกันครั้งนี้
มาจากการเป็นเพื่อนในโรงเรียนอัสสัมชัญ
และเห็นรุ่นพี่ในโรงเรียนที่เล่นดนตรีเก่ง ทำให้อย่างเล่นบ้าง
จึงมาสมัครที่ชมรมวงดนตรีสากล ก่อนจะรวมตัวเป็นวงดนตรีมากว่า 3 ปี
ส่วนการตัดสินใจเข้าแข่งขันรายการ เอเชียก็อตทาเลนต์
เพราะท้าทายความสามารถและไม่จำกัดอายุในการประกวด
ในส่วนของการคิดโชว์หรือเรียบเรียงดนตรีเพื่อใช้ในการแข่งขัน
คนที่ควบคุมวงคือ อ.ขจรพรรณ แก้วสุวรรณ์ คุณครูที่โรงเรียน
นอกจากนี้ยังมีการขอให้นักดนตรีมืออาชีพ มาช่วยเรียบเรียงเพลงให้ใหม่บ้าง
"แต่ละเพลงที่เราเอามาแข่งขันในรายการนี้ พวกเราเกิดไม่ทัน
แต่เราศึกษาเพลงร็อกเกือบจะทุกแนว
และทำตามความเหมาะสมของรูปแบบการแข่งขันในแต่ละรอบ หาเพลงที่เหมาะสม
อย่างรอบไฟนอลเป็นโชว์ของเราครั้งสุดท้ายการใช้เพลง Final Countdown
หมายถึงการนับถอยหลังครั้งสุดท้าย" พรูกล่าว
น้องๆ ยังเล่าต่อว่า การเล่นดนตรีไม่ยาก
แต่อยู่ที่ความตั้งใจของแต่ละคนว่า อยากพัฒนาไปถึงแค่ไหน
ทุกคนซ้อมกันหนักมากใช้เวลาทั้ง เช้า กลางวัน และ เย็น แม้จะซ้อมหลัก
แต่ทุกคนไม่ย่อท้อ เพราะดนตรีเป็นเสมือนส่วนหนึ่งในชีวิต
Cr.คมชัดลึก