11 พ.ค. 2558

ดีแทคเบอร์ 1 โมบายอินเทอร์เน็ต


ดีแทคเบอร์ 1 โมบายอินเทอร์เน็ต


เปิดกลยุทธ์ซีอีโอดีแทค ผนึกบริษัทอินเทอร์เน็ตระดับโลกลุย 4จี   ดันดีแทคเบอร์1โมบายเน็ต

กว่า 1 เดือนแล้วที่ "ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง" เข้ามานั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ "ดีแทค" เป็นจังหวะที่ค่ายมือถือเบอร์ 2 เจอมรสุมทั้งภายใน และภายนอก รวมถึงข่าวลือมากมาย ขณะที่การประมูล 4จี ก็ใกล้เข้ามา


แต่ด้วยศักยภาพของเงินทุนที่มากพอของกลุ่ม "เทเลเนอร์ กรุ๊ป" ทำให้ดีแทคยังคงเดินหน้ารุกตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการอัดเงินลงทุนขึ้นไปถึง 20,000 ล้านบาท เพื่อเสริมศักยภาพเครือข่าย 3จี และเสริมเขี้ยวเล็บให้เครือข่าย 4จี ในอนาคต ด้วยเป้าหมายผู้นำในตลาดโมบาย อินเทอร์เน็ตในไทย
เพื่อช่วยดูหนัง ฟังเพลงบนโมบาย หรือ ผ่านกล่องแอนดรอย ฯลฯ เพิ่มขึ้น

โอกาสนี้ "กรุงเทพธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ ซีอีโอป้ายแดง "ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง" ในมุมมองของการแข่งขันของผู้ให้บริการมือถือในประเทศไทยที่เต็มไปด้วยความท้าทาย

แผนการลงทุน 4จี ที่มีการเพิ่มเงินลงทุน
ล่าสุดนี้เทเลนอร์ กรุ๊ป ได้อนุมัติเพิ่มวงเงินลงทุนในปีนี้จากเดิม 14,000 ล้านบาท เป็น 18,000-20,000 ล้านบาท เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้โครงข่ายของดีแทคทั้ง 4จี และ 3จี พร้อมรุกขขยายโครงข่าย 3จี ครอบคลุมเพิ่มขึ้นเป็น 95% ของจำนวนประชากรภายในสิ้นปีเหมือนที่บอกไปแล้วข้างต้น

ทั้งนี้ งบประมาณขยายโครงข่ายใหม่บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 6,700 สถานีฐาน แบ่งเป็นสถานีฐานให้ที่บริการ 3จีจำนวน 3,700 แห่ง และ 4จีจำนวน 3,000 แห่ง ส่วนงบประมาณล่าสุด 20,000 ล้านบาท จะขยายสถานีฐานเพิ่มทั้ง 4จีในย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ซึ่งปัจจุบันมีอยู่จำนวน 3,100 แห่งมากกว่าเป้าหมายเดิม 500 แห่ง และจะขยายสถานีฐาน 3จีบนย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์เพิ่มเติมด้วยจากขณะนี้ที่มี 11,000 แห่ง ให้เป็น 15,000 แห่งในปีนี้

ถือว่าดีแทคมีความพร้อมเต็มที่ที่จะประมูล4จี
คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะเริ่มต้นประมูลใบอนุญาตปลายปีนี้ ดีแทคมีความพร้อมที่จะเข้าประมูลอย่างเต็มที่ และต้องการใบอนุญาตทั้ง 2 ย่านความถี่ เพื่อเสริมศักยภาพในการให้บริการไปอย่างหลากหลายและมีเสถียรภาพแก่ลูกค้า ด้วยสปีดที่เร็วต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ

ขณะที่ งบประมาณที่เตรียมไว้สำหรับการประมูล ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะต้องรอการประชุมกับบอร์ดเทเลนอร์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่น่ากังวลอะไร เพราะเทเลเนอร์มีประสบการณ์ในการประมูลมาแล้วในหลายประเทศ

ดังนั้นเรามีแนวทางที่ชัดเจนในการเตรียมตัว ที่สำคัญไทยถือเป็นประเทศที่ทำรายได้จากการใช้โมบาย บรอดแบนด์สูงมากในช่วง 2-3 ปีมานี้ หากเทียบกับหลายประเทศ อีกทั้งไทยยังสร้างรายได้ให้แก่เทเลนอร์ กรุ๊ป เป็นอันดับที่สอง รองจากเทเลนอร์ นอร์เวย์ด้วย ดีแทคสำคัญกับเทเลนอร์มาก

หลังประมูล4จี ดีแทคมองภาพการแข่งขันในตลาดอย่างไร
วันนี้เรามีฐานลูกค้าที่ใช้ 4จี ปัจจุบัน ราว 1 ล้านราย การประมูล 4จี มีความสำคัญกับดีแทคมาก ด้วยความต้องการใช้โมบาย อินเทอร์เน็ตที่สูงมากในไทย ที่จะรองรับการใช้งานดูหนัง ฟังเพลงต่่างๆ ที่ปัจจุบันนี้ ก็ใช้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น ค่ายทรู  ค่าย3bb โดยต่อเข้ากับ กล่องอินเตอร์เน็ต ,กล่องset-top-box หรือ กล่องแอนดรอย  ฯลฯ

เราถึงต้องการคลื่นที่มากพอในการให้บริการ ส่วนการแข่งขันหลังจากประมูล 4จี แล้วนั้น ผมมองว่า วันนี้การแข่งขันในตลาดก็สูงอยู่แล้ว แต่หลังจากการประมูล ผมมองว่า มันจะมีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกมาก ด้วยการเติบโตของผู้ใช้โมบาย อินเทอร์เน็ต และโมบายดาต้าที่แข็งแกร่ง

ขณะที่กว่า 50% ของคนไทยก็มีสมาร์ทโฟน มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตในแต่ละวันสูง ใช้โซเชียลมีเดีย ค้นหาข้อมูลผ่านเน็ต ดีวีดิโอคอล สูง  นั่นทำให้เราต้องเพิ่มศักยภาพของเครือข่าย และต้องมีคลื่นที่้มากพอในการรองรับ ขณะที่ในหลายๆ อุตสาหกรรมก็จะได้รับประโยชน์จาก 4จี ด้วย

ธุรกิจใหม่ๆ ที่จะได้เห็นหลังประมูล 4จี
เรามีความร่วมมือกับบริษัทด้านอินเทอร์เน็ตระดับโลก ที่ทำด้านสตรีมมิ่ง รองรับความบันเทิงได้หลากหลายรูปแบบ ผ่านกล่องสมาร์ททีวี กล่องแอนดรอย หรือบนโมบายเน็ต
ขณะเดียวกันเราก็มีการรวมบริการที่เราทำขึ้นเอง เช่น ดีแทค แคปเจอร์ เป็นคลาวด์ที่ให้ลูกค้าสามารถเก็บข้อมูล ดาต้าต่างๆ บริการเพลงออนไลน์ บริการด้านสตรีมมิ่งต่างๆ ที่เรามีความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่ทำด้านสตรีมมิ่ง ทั้งเพลง ภาพยนตร์ เราจะได้เห็นการรวมกันของบริการเหล่านี้มากขึ้น ในยุคของ 4จี

การเติบโตของโมบายดาต้าในไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
ผมก็ยังเห็นการเติบโตที่สูงอย่างมากในการใช้โมบาย ดาต้าในไทย โดยเฉพาะใน 9 ประเทศที่เทเลนอร์ทำธุรกิจ ไทยมีอัตราการขยายตัวเร็วมาก ลูกค้าของดีแทคปัจจุบันใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือมากกว่า 50% และจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง มีการใช้สตรีมมิ่งเพิ่มสูงขึ้น ผมถึงบอกว่า 4จี นั้นสำคัญ เพราะด้วยความเร็วของการรับส่งข้อมูล ดีไวซ์ 4จี จะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้ใช้งานได้มากกว่า

กสทไม่อนุมัติให้อัพเกรดคลื่น1800ทำ4จี
ตามแผนเดิมดีแทคต้องการจะลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี 2จีเป็น 4จีในคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ซึ่งยังอยู่ในสัญญาสัปมทานถึงปี 2561 และพอสิ้นสุดลงก็ต้องส่งทรัพย์สินให้แก่บมจ.กสท โทรคมนาคมในฐานะเป็นเจ้าของสัมมปทาน แต่หลังจากที่คณะกรรมการบอร์ด (กสท) ระบุว่าการอัพเกรดเทคโนโลยีเป็น 4จีแอลทีอีเป็นอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ทางดีแทคก็คงต้องหารือกับทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อให้ได้ข้อสรุป แต่ในความเห็นของดีแทคแล้วอยากให้มองที่ผลประโยชน์ของประเทศ เพราะอัตราการใช้งานโมบายดาต้าเติบโตอย่างมาก ดังนั้น ผลดีก็จะตกกับประชาชนที่ใช้บริการ     เนื่องจากความถี่ที่มีอยู่ก็สามารถนำมาอัพเกรดได้ทันทีไม่ต้องจัดสรรใหม่  แต่อย่างใด

เรื่องนี้เราคงต้องคุยกับกสท และกสทช.ให้ใกล้ชิดมากขึ้นซึ่งที่ผ่านมาก็เคยหารือร่วมกันมารอบหนึ่ง จริงๆ ดีแทคเพียงแค่ต้องการคลื่นความถี่ที่ให้บริการเพียงพอต่อดีมานด์ของลูกค้าที่เพิ่มหลายเท่าตัว

ไม่ทำฟิกซ์บรอดแบนด์จะเสียเปรียบหรือไม่   ผมเคยบริหารงานในตำแหน่งซีอีโอให้เทเลนอร์ สวีเดน ซึ่งที่นั่นมีผู้ประกอบการในตลาดอยู่ 3 ราย คือ เทเลนอร์ สวีเดน เทเลียร์ และทรี (3) ซึ่งแต่ละรายก็ล้วนแต่มีจุดเด่นให้บริการเฉพาะตัวคือ   1.เป็นผู้ใบริการโมบาย อย่างเดียว  2.ให้บริการโมบายและฟิกซ์บรอดแบนด์ และอีกรายก็ให้บริการแต่ฟิกซ์บรอดแบนด์อย่างเดียว แต่การแข่งขันทางธุรกิจก็ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบเท่าไรนัก เพราะแต่ละผู้ประกอบการก็ให้บริการในสินค้าที่ตัวเองเชี่ยวชาญและมีศักยภาพ

ดังนั้น หากลองมาเทียบกับอุตสาหกรรมในประเทศไทย ก็จะเห็นว่ามี 2 รายในตลาดตอนนี้ให้บริการทั้งโมบายและฟิกซ์บรอดแบนด์ซึ่งสิ่งที่ดีแทคมองคือเราคงไม่เข้าไปแตกไลน์ทำธุรกิจอื่นเพิ่มจากโมบายที่มีอยู่ เพราะจะหมายถึงการลงทุนก้อนมหาศาล การเรียนรู้ตลาดนั้นใหม่ทั้งหมด

แต่ดีแทคก็ไม่ได้มองว่าเราเสียเปรียบเพราะดีแทคใช้กลยุทธ์การร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่เข้มแข็งในธุรกิจของตัวเอง อย่างเช่นการเปิดบริการด้านไฟแนนซ์เชี่ยล เซอร์วิส หรือแม้แต่การให้บริการดูทีวีบนโมบายผ่านแอพพลิเคชั่น ดีแทค Watchever ที่ปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 4 แสนรายแล้ว

ก่อนมานั่งเก้าอี้ซีอีโอ ดีแทค นายลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Digi Telecommunications ประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่เดือน ส.ค.2557 และเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของเทเลนอร์ สวีเดนหลายตำแหน่ง ได้แก่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ตั้งแต่เดือนเม.ย.2552 - ก.ค. 2557 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี (CTO) ตั้งแต่เดือนก.ย. 2550 - มี.ค. 2552 และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) สำหรับฝ่าย Fixed Network and Products ตั้งแต่เดือนก.ย. 2549 - ส.ค. 2550

Cr.Bangkok Biz