21 ส.ค. 2558

ท่าอากาศยานพลังงานแสงอาทิตย์


ท่าอากาศยานพลังงานแสงอาทิตย์
ท่าอากาศยานพลังงานแสงอาทิตย์
ท่าอากาศยาน  Cochin International แห่งนี้อยู่ที่เมือง Kochi City ในรัฐ ในรัฐ Kerala ประเทศอินเดีย  เป็นท่าอากาศยานพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของโลก  จากเทคโนโลยีของเยอรมนี บริษัทวิศวกรรม Bosch ของเยอรมนีเป็นผู้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าที่ว่านี้ ซึ่งมีขนาด 12 เมกกะวัตต์ และใช้แผงรับแสงอาทิตย์มากกว่า 46,000 แผง  สามารถนำมาพัฒนาเป็นพลังงานไฟฟ้ามาใช้กับอุปกรณ์เครืองใช้ไฟฟ้ามากกมายภายใน ท่าอากาศยาน ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟโซล่าเซลล์  แบตสำรองโซล่าเซลล์ (Solar Collector)  ฯลฯ

นาย V.J. Kurian กรรมการผู้จัดการของท่าอากาศยานใหม่แห่งนี้ กล่าวว่า ระบบการผลิตไฟฟ้าของท่าอากาศยานสามารถผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ มากถึง 52,000 กิโลวัตต์ แต่ที่จะใช้เองนั้น เท่ากับ 49,000 กิโลวัตต์ ที่เหลือจะส่งมอบให้การไฟฟ้าของรัฐ Kerala ท่าอากาศยานพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของโลกจะมีพิธีเปิดท่าอากาศยานแห่งนี้ อย่างเป็นทางการในวันที่ 18 สิงหาคมนี้

ก่อนหน้านี้ ประเทศอินเดียมได้เริ่มใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยนำมาพัฒนาเป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์คร่อมคลองนามา ด้า ทางตอนเหนือของแคว้นคุชราต ในพื้นที่รกร้างทางเหนือของเมือง มีโครงการนำร่องที่แก้ปัญหาทั้งการขาดแคลนพลังงาน และขาดน้ำใช้ในละแวกคลองนามาด้า ด้วยวีธีง่ายๆ แต่ได้ผลไม่น่าเชื่อ โครงการน้ำร่องนี้เริ่มต้นที่ต้องการจะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แจกจ่ายไฟฟ้าตามหมู่บ้านแล้วเหลือเก็บสำรองในรูปแบบพลังงานสำรอง หรือ แบตสำรองโซล่าเซลล์ (Solar Collector)

พื้นที่ จะติดตั้งนั้นเมื่อไปวางบนผืนดินก็อาจจะเสียพื้นที่อยู่อาศัยหรือการทำ เกษตรกรรมรูปแบบต่างๆ ไปได้ ทางเลือกที่โครงการน้ำเสนอคือ ไหนๆ ก็ต้องวางเหล่าดงแผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้แล้ว ต้องวางที่ไหนจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด ทางออกของปัญหาจึงมาจบลงที่วางทุ่งแผงโซลาร์เซลล์นี้คร่อมคลองนามาด้าเสีย เลย ด้วยเพราะจะสามารถลดการเสียน้ำไปจากการระเหยด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์

ใน 1 ปีจะลดการระเหยของน้ำได้ถึง 9 ล้านลิตรจากระยะทางของการคลุมคลองความยาวกว่า 19,000 กิโลเมตร ผลลัพธ์เหล่านี้สามารถนำน้ำที่เคยหายไปมาช่วยชาวคุชราตได้มากเลยทีเดียว และยังผลิตไฟฟ้ากว่า 600 เมกกะวัตต์ให้กับ 11 ตำบลในคุชราตอีกด้วย

ใน ปัจจุบันคลองที่มีแผงโซลาร์เซลล์คลุมเพื่อลดการระเหยของน้ำนี้มีความยาวกว่า 458 กิโลเมตรในเส้นคลองหลัก หากโครงการนี้แล้วเสร็จจะมีความยาวมั้งหมด 85,000 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยให้ชาวอินเดียมีน้ำใช้ ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอีกโขเลยทีเดียว ด้วยวิธีแก้ปัญหาอันชาญฉลาดก็คือ การวางแผน การออกแบบก่อนลงมือทำเท่านั้นเอง และในขณะเดียวกันที่บ้านเรามีคลองชลประทานมากมาย พร้อมกับมีแสงอาทิตย์เข้มข้นเหลือเฟือ ดูงานนี้แล้วมันน่าสนใจจริงๆ

อย่าง ไรก็ตาม ท่าอากาศยาน “สีเขียว” แห่งแรกของโลกนั้นที่ใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ มีการสร้างมาก่อนหน้าอินเดียเสียอีก  สร้างขึ้นไว้ที่หมู่เกาะ Galapagos ในประเทศ Ecuador เมื่อปี ค.ศ. 2012 และพลังงานที่ท่าอากาศยานแห่งนี้ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าคือพลังลม ซึ่งทั้งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เมืองไทยเรามีเหลือที่สามารถนำมา พัฒนาได้เลย  เหลือเพียงวางแผนและลงมือทำอะไร ๆ ก็ง่ายไปหมด

Cr.Creative Move,Voice of America,Synergy | Facebook ,เล่าสู่กันฟัง ,