ขณะที่ไทยเรามีนวัตกรรม กล้องจุลทรรศน์สมาร์ท โฟน (Smartphone Microscope) เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ผลงานการพัฒนาของ รศ.ดร.สนองเอกสิทธิ์ และคณะ แห่งคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (แผนกประถมศึกษา) ซึ่งคว้ารางวัลเหรียญทองเกียรติยศระดับนานาชาติ มาหมาด ๆ จากการเข้าร่วมแสดงนิทรรศการและประกวดในงาน “43rd International Exhibition of Inventions of Geneva” ที่จัดขึ้นที่กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส เมือ 2-3 เดือนที่ผ่านมา
มองไปที่ทั่วโลก จากบ้านเราที่เล็กที่สุด กล้องจิ๋วสมาร์ท โฟน (Smartphone Microscope) ไปสู่กล้องดูดาวที่ใหญ่ที่สุดในโลกในอีกไม่ช้า กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope) เป็นอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ ใช้บันทึกและวัดสัญญาณคลื่นวิทยุจากวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope)ต่างจากกล้องโทรทรรศน์เชิงแสงตรงที่ปฏิบัติงานในความถี่ของคลื่น วิทยุที่ความยาวคลื่นตั้งแต่ 10 มิลลิเมตร ไปจนถึง 10-20 เมตร โดยทั่วไปจานเสาอากาศของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope)จะมีรูปร่างเป็นพาราโบลา
จีนทุ่มกว่า 6 พันล้าน สร้าง FAST กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope)ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดเท่าสนามฟุตบอล 30 สนาม กำหนดแล้วเสร็จกลางปีหน้า หวังใช้เป็น "หู" ฟังเสียงจักรวาล รับคลื่นได้ไกลถึงนอกระบบสุริยะ
ความพยายามศึกษา เรื่องนอกโลกของมนุษย์ไม่เคยหยุดอยู่กับที่จริง ๆ ล่าสุดเร็ว ๆ นี้ เว็บไซต์เดลี่เมล เผยภาพความคืบหน้าการก่อสร้าง FAST โปรเจคท์สร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope)ขนาดยักษ์ของจีน โดยการก่อสร้างดังกล่าวเริ่มดำเนินการ เมื่อเดือนมีนาคม 2554 และมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2559 ใช้เงินลงทุนกับโปรเจคท์นี้ถึง 1.2 พันล้านหยวน หรือประมาณ 6.3 พันล้านบาท
FAST ถูกก่อสร้างขึ้นที่ในแอ่งต้าหวอต่าน ในมณฑลกุ้ยโจว ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเอื้อต่อการสร้างสิ่งก่อสร้างรูปจานพาราโบลาขนาด มโหฬารเช่นนี้ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ห่างไกลชุมชน จึงไม่ต้องกลัวการก่อสร้างจะก่อผลกระทบกับใคร ในรัศมี 19 กิโลเมตรโดยรอบมีหมู่บ้านเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ตัดปัญหาคลื่นแม่เหล็กจากครัวเรือนรบกวนได้เป็นอย่างดี
กล้อง โทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope)ยักษ์นี้ มีขนาดใหญ่เทียบเท่าสนามฟุตบอลถึง 30 สนาม ประกอบไปด้วยแผ่นสะท้อนคลื่น 4,450 แผ่น แต่ละแผ่นเชื่อมต่อกับระบบสั่งการ ที่จะประมวลผลแล้วส่งคำสั่งบังคับให้แผ่นสะท้อนคลื่นเหล่านี้ปรับมุมให้ได้ องศาการรับคลื่นที่เหมาะสมที่สุด ละเอียดในระดับหน่วยมิลลิเมตร ซึ่งนับเป็นความท้าทายของโปรเจคท์นี้นอกเหนือจากขนาดสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โต
ใน การสร้างคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำนวณประมวลผลได้อย่างละเอียดและฉับไว เพื่อสั่งการแผ่นสะท้อนให้ทำงานร่วมกันเพื่อรับคลื่นวิทยุให้มีประสิทธิภาพ ที่สุด โดย FAST ถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ให้มันเป็น "หู" ของโลก ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถจับสัญญาณวิทยุอ่อน ๆ จากอวกาศได้ และรับได้ไกลในระดับนอกระบบสุริยะด้วย
สำหรับ FAST เมื่อสร้างแล้วเสร็จ มันจะกลายเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope)ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แทนที่กล้อง Arecibo ในประเทศเปอร์โตริโก ที่จะกลายเป็นเล็กกว่า FAST ถึง 10 เท่า ขณะที่ หลี่ ตี้ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์จากหอดูดาวแห่งชาติ สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ระบุว่า FAST จะยังคงเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope)ที่ดีสุดในโลกติดต่อไปอีก 20-30 ปีหลังมันสร้างเสร็จ
"FAST ไม่เพียงช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์เท่านั้น แต่ยังช่วยตอบเรื่องเกี่ยวกับมนุษยชาติและธรรมชาติด้วย ประสิทธิภาพทางวิทยาศาสตร์ของกล้องโทรทัศน์วิทยุนี้ยากที่จะทำนายได้" หลี่ ตี้ กล่าว
ขณะที่ เฉิน ซื่อเหลย นักฟิสิกส์ กล่าวว่า ด้วยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคลื่นความโน้มถ่วงที่จะได้จากกล้องโทรทรรศน์ วิทยุ (Radio Telescope)นี้ จะช่วยให้เราสามารถพิสูจน์ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ได้
Cr.กระปุก,วิกิพีเดีย,Asia21st ,Synergy | Facebook