รถยนต์ไร้คนขับ
Photo : Google Driverless Car
ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีความเร็วสูงขึ้นและยืดหยุ่นขึ้นมาก ทำให้การตรวจวัดหรือจับสัญญาณตัวแปรเพื่อความปลอดภัยรอบข้างยานพาหนะทำได้ รวดเร็ว และอาจดีกว่าการที่มนุษย์จะเป็นผู้ตัดสินใจเองต่อสถานะการณ์ความปลอดภัยทั้ง เหตุฉุกเฉินหรือปกติ อีกทั้งความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ก้าวมาถึงระบบอัตโนมัติที่ทำให้ เกิดการขับเคลื่อนด้วยตนเองได้แล้ว จึงนำมาสู่ยุค“รถยนต์ไร้คนขับ (driverless car)” เพื่อทั้งภารกิจจำเป็นเฉพาะงานจนถึงการเป็นรถสาธารณะที่ประหยัดและปลอดภัย มากขึ้น จากงานวิจัยพบว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งเพิ่มราคาอยู่ที่คันละอีก 350 เหรียญ แต่สามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้ถึง 592,000 ครั้ง รักษาไว้ได้ถึง 1,083 ชีวิตในแต่ละปี

กูเกิลที่โด่งดังนอกจากจัดรถมาถ่ายภาพถนนหน ทางไปทำแผนที่เสมือนจริง (Google street view) แล้ว กูเกิลก็ได้ออกตัวหนักหน่วงกับรถยนต์ไร้คนขับ (driverless car) นี้ ณ ตอนนี้ ถึงกลางปีค.ศ.2015 รัฐแคลิฟอร์เนียออกใบอนุญาตเพื่อการทดสอบรถไร้คนขับไปแล้ว 48 ราย โดยที่รถของกูเกิลทำระยะไปมากสุดประมาณ 1.8 ล้านไมล์ของช่วงเวลานั้นจากการได้ทดสอบถึง 23 รถต้นแบบ   อย่างนั้นไปดูรถกูเกิล “รถยนต์ไร้คนขับ (driverless car)” ที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมที่ใหญ่ยิ่งนี้กันลำดับต่อไป กับความปลอดภัยการใช้รถใช้ถนนอันเป็นปัจจัยสำคัญสูงสุดของสมองกลอันชาญฉลาด ที่ฝังใส่ให้รถที่วิ่งไปนับล้านไมล์ได้แล้วโดยไม่ต้องกลัว รวมถึงไปดูระบบสื่อสารด้วยไฟอัตโนมัติ จากแสงแอลอีดีด้วยว่าจะช่วยอะไรได้บ้าง ?

แสงสว่างจากแอลอีดีที่มีประกอบภายในและนอกยานพาหนะและมิใช่แค่เป็น หลอดไฟเปิดปิดอัตโนมัติ ให้ความสว่าง  ตบแต่งเพื่อความสวยงาม อำนวยความสะดวกการใช้ในหลายระบบ แต่ที่เรื่องใหม่กว่าคือสื่อสัญญาณด้วยแสงสว่างพ่วงมาด้วยเลย ทั้งระหว่างหรือภายในรถเอง และ จากแผงป้ายจราจรบอกข้อมูลอัจฉริยะ ริมทางข้างถนนและบนแยกต่าง ๆ เทคโนโลยีด้านหลังของงานเหล่านี้จัดอยู่ในหลายหมวด อาทิ การสื่อสารจากการมองเห็น (visual communication) และการสื่อสารระหว่างพาหนะกับโครงสร้างพื้นฐานข้างถนน (V2I: Vehicle to Infrastructure) ซึ่งเริ่มปรากฏมาตั้งแต่ค.ศ.2003 นานแล้ว จนกระโดดมาที่ การสื่อสารระหว่างยานพาหนะกันเอง (V2V: Vehicle-to-Vehicle) ที่มีทั้งการใช้คลื่นไวไฟ (WiFi) มากหน่อยและคลื่นอื่นที่พยายามปรับเข้ามาร่วม แน่นอนว่าแสงจากแอลอีดีก็แทรกตลาดนี้เป็นส่วนหนึ่งกับเขาได้ด้วย

ได้ เวลามาพิจารณาหาตัวช่วยเพื่อลดอุบัติเหตุนั้นกัน เทคโนโลยีที่จะใช้ต้องทำให้ขับขี่ดีกว่ามนุษย์ขับเองโดยรวมและลดการสูญเสีย ลงได้ หนึ่งในหัวข้อเหล่านี้คือศักยภาพและโอกาสของการส่องสว่างข้อมูล ที่สามารถยนต์ไร้คนขับ (driverless car)ให้ความถูกต้องในการระบุตำแหน่งแบบละเอียดได้ระดับต่ำกว่าเมตร (sub-meter) อันจะเป็นระดับที่สามารถปรับใช้เพื่อความปลอดภัยระหว่างยานยนต์ได้ (V2V: Vehicle-to-Vehicle) ขณะที่การสื่อสารภายนอกอาคารทั่วไป ใช้การระบุตำแหน่งจากจีพีเอส (GPS) หรือระบบบอกตำแหน่งพิกัดบนพื้นผิวโลก (GPS) และระบบในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (cellular) ผลจากการระบุได้ที่ความละเอียดกว้างเกิน (กว่าเมตร) กับรถรอบข้างนี้ จึงเป็นที่มาของการประสงค์รวมระบบการส่องสว่างข้อมูลความซับซ้อนต่ำเพื่อ ระบุตำแหน่งละเอียดขึ้น ที่จะขยายขีดความสามารถได้ดีในกรณีมีความหนาแน่นของปริมาณรถสูง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก็ทำได้รวดเร็วอีกด้วย

การใช้หลอดไฟแอลอีดี ส่องสว่างที่มาพร้อมกับข้อมูล จึงเป็นระบบสื่อสารด้วยแสงสว่างจากแอลอีดีร่วมประยุกต์ใช้งานตรวจสอบความ เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ รวมทั้งให้การเตือนก่อนที่จะเกิดเหตุ (early warning) เตือนการชน (collision warning) การควบคุมความเร็วหรือการเคลื่อนที่อัตโนมัติตามสภาพจราจร (adaptive cruise control) การตรวจจับรับรู้ผู้เดินอยู่บนทางเท้าหรือเฝ้าระวัง และการลดความน่าจะเป็นของการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งการส่องสว่างพร้อมรับส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันจะมาร่วมทำอย่างน่าสนุกกับ งานเหล่านี้  มาดูพัฒนาการด้านการสื่อสารและการมองเห็นด้วยการใช้หลอดแอลอีดีบอกข้อมูลให้ การขับโดยคนหรือหุ่นยนตร์ไร้คนขับไปสู่การที่รถยนต์ไร้คนขับ (driverless car)เห็นถนนหนทางได้ด้วยตนเอง รับรู้ข้อมูลและตัดสินใจอย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มกันอีกสองชิ้น

ก) ภาพเสมือน
อุปกรณ์ ความฉลาดเสริมให้รถยนต์ไร้คนขับ (driverless car)เพื่อลดเวลาการตัดสินใจของผู้ขับขี่ มีออกมาในแนวการมองเห็นได้ที่ไม่ให้ต้องก้มเงยขัดจังหวะเช่นผ่านแผงจอหรือ กระจกหน้าร่วมไปกับทัศนวิสัยปกติ หรืออุปกรณ์ช่วยมองที่จะทำให้การขับขี่ของมนุษย์ปลอดภัยขึ้นโดยรวมเป็นวิว เสมือนในขณะขับ ภาพเสมือนเหล่านี้จะไปอยู่ในสมองอัฉริยะของรถเรียบร้อยแล้ว

ข) ตาเสมือน  กล้องอินฟราเรดและเซนเซอร์ทำงานตัวอย่างหนึ่งสัมพันธ์กับไฟหน้าส่องฉลาดยาม ค่ำหรือมืด โดยปรับตัวลำแสงเปลี่ยนมุมได้อัตโนมัติตามสถานะการณ์และสถานที่ ไม่ว่าจะทางโค้งมุมกว้าง ทางยกทางเลี้ยว รถยนต์ไร้คนขับ (driverless car)จะจดจำภาพป้ายจราจร เช่นวงเวียน ทางแยก ทางข้ามหรือขอบทางร่วมกับแผนที่ GPS บอกตำแหน่งและ สิ่งที่เคยเห็นจากอินเทอร์เน็ตเพื่อนำมาตัดสินใจแบบคิดเองได้ เมื่อรถยนต์สวนทางที่เข้าโค้งมาเร็ว จักรยานปั่นช้าอยู่มุมอับของวงเวียนถนน แม้คนเดินบนฟุตบาทหรือสัตว์ใหญ่ตัดหน้าด้วยความเร็วน้อยนิดคิดหนีรถก็ไม่ทัน ไฟหน้าแอลอีดี (หรือเลเซอร์ผสม) จะปรับตามให้มีมุมแสงกลบได้ครบองศาสำคัญ เพื่อการตัดสินใจของมนุษย์หรือสมองกลของรถที่ขับขี่อยู่

รถยนต์ไร้ คนขับ (driverless car)แต่ละคันสื่อสารร่วมกันแม้เซนเซอร์จะอยู่แยกก็จะทำให้เกิดภาพและการมอง เห็นดีขึ้นได้แน่ รูปแบบจึงเป็นยานพาหนะคุยกันเองได้ แทนการให้ผู้ขับขี่ดำเนินการลำพังทีละส่วน โดยรวมจึงปลอดภัยสูงกว่าด้วยในที่สุดไม่ว่าด้วยทั้งคนไปขับหรือรถจะขับไปเอง “ภาพเสมือนและตาเสมือน”ทำให้รถเห็นได้ที่จะมาจากมากหน่วยเซนเซอร์ตรวจวัด สัญญาณ (เช่น radar, sonar, vision หรือ LIDAR) รถอนาคตจึงทำงานราวกับมีตามากมายกว่ามนุษย์ผู้ขับขี่ที่มีเพียงแค่สอง  เมื่อรถตัดสินใจได้มากอย่างในเวลาใกล้กันและเร็วกว่า มนุษย์จึงได้ย้ายการ“มอง”ของตนไปให้รถยนต์ได้“เห็น” โดยเริ่มให้รถทำแทนหมดกันแล้ว

Cr.เดลินิวส์,Synergy | Facebook ,e-news ,เล่าสู่กันฟัง ,