โรคความดันเลือดสูง มีอุบัติการณ์เกิดโรคสูงขึ้นทุกปีและเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย “รำข้าว” ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการขัดสีข้าวเปลือกนั้น นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารแล้ว ยังพบว่าเปปไทด์ที่สกัดจากรำข้าวนั้นมีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระและยังยั้งการ สร้างสารที่ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ ดังนั้นหากมีการนำเปปไทด์รำข้าวมาทำการศึกษาวิจัยต่อยอดทั้งในคนและสัตว์ที่ มีภาวะความดันเลือดสูงที่วัดได้จากเครื่องวัดความดัน จะทำให้ได้ข้อมูลสำคัญที่นำไปใช้ในการพัฒนาเปปไทด์รำข้าวให้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพต่อไป
จาก ผลการศึกษาวิจัยของ รศ.ยุพา คู่คงวิริยพันธุ์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะวิจัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พบว่า เปปไทด์รำข้าวหอมมะลิมีความปลอดภัยในการนำไปใช้ และจากการทดลองในหนูทดลองความดันเลือดสูง พบว่าเปปไทด์รำข้าวมีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ ลดความดันเลือด และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือด ส่วนการศึกษาในคนที่เริ่มเป็นความดันเลือดสูงที่วัดค่าได้จากเครื่องวัดความดัน พบว่าเปปไทด์รำข้าวช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดความแข็งของหลอดเลือดแดง จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซึ่งเป็นโรคสำคัญที่ทำ ให้ประชากรเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
ดังนั้นผลจากการศึกษา วิจัยในโครงการนี้จึงพบข้อมูลใหม่ที่สำคัญและเป็นรายงานชิ้นแรกเกี่ยวกับผล ของเปปไทด์รำข้าวในการเป็นสารต้านออกซิเดชัน ลดความดันเลือด และช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นผลดีอย่างยิ่งกับคนสูงอายุ และคนที่มีการเสื่อมถอยของระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคความดันเลือดสูง ได้ทำการจดอนุสิทธิบัตรแล้วเมื่อปี 2551 ชื่อผลงานคือ "การผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทจากรำข้าวที่มีคุณสมบัติลดความดัน"
ปัจจุบัน ประชาชนทั่วไปเริ่มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ภาคเอกชนได้ผลิตเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของเปปไทด์ แต่ยังไม่พบว่าเป็นเปปไทด์ที่ได้จากโปรตีนรำข้าวหอมมะลิ ส่วนใหญ่จะสกัดเปปไทด์จากโปรตีนจากถั่วเหลือง ซึ่งราคาขายยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง ขวดละประมาณ 70 บาท เนื่องจากว่าราคาเปปไทด์ผงโดยทั่วไปปัจจุบันตกอยู่ที่กิโลกรัมละ 3,000-4,000 บาท ซึ่งยังถือว่าราคาสูงมาก
ผลงานวิจัยนี้จะช่วยเพิ่ม มูลค่ารำข้าวที่เป็นวัสดุเหลือใช้ให้เป็นสารเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันและรักษาโรคความดันเลือดสูงต่อไป งานวิจัยนี้ส่งผลดีทางด้านการสาธารณสุข การเกษตร การอุตสาหกรรม และการพาณิชย์ของประเทศ ทำให้ข้าวไทยและกากรำข้าวไทยมีมูลค่าสูงขึ้น สามารถแข่งขันกับตลาดข้าวระดับโลก และเพิ่มชื่อเสียงให้กับข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
ส่วนกระบวนการศึกษา วิจัย ขั้นแรกนำรำข้าวมาสกัดน้ำมันออกก่อน จากนั้นนำไปสกัดโปรตีน เมื่อได้โปรตีนจากรำข้าวแล้วจึงนำไปผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 4 จากนั้นนำมาปรับสภาพให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมที่เอนไซม์จะทำงาน คือ ค่า pH8 อุณหภูมิประมาณ 55 องคาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการย่อยสลายโดยเอนไซม์โพรเทค 6 L ประมาณ 4 ชั่วโมง จากนั้นก็จะหยุดปฏิกิริยาของเอนไซม์ โดยการให้ความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 95-100 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 10-15 นที จากนั้นนำมาแยกโดยการกรอง ผ่านอัลตราฟิลเทนชั่นเมมเบรน จนได้สารละลายที่มีองค์ประกอบของเปปไทด์ซึ่งอยู่ในรูปของผงละเอียด
แต่ งานวิจัยชิ้นนี้คงจะต้องมีการศึกษาต่อถึงเรื่องโครงสร้างของตัวเปปไทด์ ความคงตัว รวมทั้งอาจศึกษาต่อว่าสารเปปไทด์มีผลต่อระบบสมองหรือไม่ รวมทั้งอาจจะศึกษาถึงแนวทางการเพิ่มผลผลิตเปปไทด์โดยเปลี่ยนจากการทำแห้งแบบ ละเหิดมาเป็นแบบพ่นฝอย
ล่าสุดทางนักวิจัยได้มีการนำเสนอผลงานการ วิจัยต่อผู้ประกอบการผลิตน้ำมันรำข้าว ที่มีความสนใจในการใช้ประโยชน์จากโปรตีนรำข้าวนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร สุขภาพ ทั้งในรูปแบบของแคปซูล ชนิดผง หรือในรูปแบบผสมในเครื่องดื่ม ซึ่งหากงานวิจัยสามารถผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสทจากรำข้าวที่มีคุณสมบัติช่วยลด ความดัน หรือต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน ทางผู้ประกอบการก็มีความสนใจที่จะลงทุนต่อไปในอนาคต
ปัจจุบันนี้ทีม นักวิจัยได้ทดลองผลิตเครื่องดื่มนมถั่วเหลืองผสมเปปไทด์จากโปรตีนรำข้าวหอม มะลิขนาด 180 มิลลิกรัม/ขวด โดยผสมน้ำนมถั่วเหลือง 94.9% น้ำตาล 5% และเปปไทด์รำข้าวอีก 100 มิลลิกรัม ซึ่งคำนวณต้นทุนการผลิตคาดว่าราคาขายน่าจะอยู่ที่ขวดละ 15-20 บาท
Cr.บ้านเมือง,มหาวิทยาลัยขอนแก่น