25 ก.ย. 2558

Single Gateway ให้ CAT ทำ

 
Single Gateway ให้ CAT ทำ
Single Gateway ให้ CAT ทำ

รมว.ไอซี ที ยัน Single Gateway ยังไม่เข้า ครม. และยังไม่มีอะไรเป็นรูปธรรม ยันโครงการทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดการลงทุนซับซ้อนไม่ได้ต้องการล้วงข้อมูล

24 ก.ย. 2558 สำนักข่าวบีบีซีไทยรายงาน คำให้สัมภาษณ์ของ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช. กรณีรัฐบาลไทยกำลังดำเนินการจัดตั้ง Single Gateway เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูล ข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตว่า

แท้จริงแล้วเป้าหมายของรัฐบาลคือต้องการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจดิ จิทัลในภูมิภาค สร้างแรงจูงใจให้เอกชนเข้ามาใช้ช่องทางเชื่อมต่อของไทยแทนที่จะเป็นเพื่อน บ้าน อย่างสิงคโปร์หรือมาเลเซีย อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าไทยยังมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านนี้ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ เขามองว่า ควรจะเรียก Single Gateway ว่าเป็น “ฮับ” หรือศูนย์กลางดิจิตัล จะเหมาะสมกว่า โดย บริษัท กสท โทรคมนาคม (จำกัด) หรือ CAT จะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ “ฮับ” และเมื่อมีความพร้อมก็จะเชิญผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในไทยที่มีอยู่ราว 9 รายให้หันมาเลือกช่องทางนี้

นอกจากนี้ พ.อ.เศรษฐพงศ์ ไม่ได้ปฏิเสธเป้าหมายเรื่องความมั่นคงของรัฐในโลกไซเบอร์ ที่การสร้างศูนย์กลางช่องทางจราจรดิจิทัลจะทำให้ง่ายต่อการรับมือแล้ว ยังต้องอาศัยกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงไซเบอร์มารองรับการทำงานของรัฐ ป้องกันการโจมตีและอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ กับทำให้มีความเป็นสากลสอดคล้องกับหลายประเทศที่มีกฎหมายลักษณะนี้แล้ว เช่น สหรัฐฯ 




นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึง กรณีการคัดค้านการจัดตั้ง Single Gateway ว่า Single Gateway เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนเหตุผลทางเศรษฐกิจ ไม่ได้ทำเพื่อความมั่นคง แต่ต้องการช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตที่มีโครงข่ายเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ (เกตเวย์) ของตนเอง สามารถร่วมใช้โครงข่ายเดียวในการให้บริการ ซึ่งทางกระทรวงไอซีทีจะไม่บังคับว่าจะมีผู้ประกอบการรายใดจะมาเข้าร่วมบ้าง ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ โดยหลังจากนี้จะมีการเชิญภาคธุรกิจ และภาคประชาชนเข้ามาหารือพร้อมทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน
       

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นของการพิจารณา แต่ยังไม่มีอะไรเป็นรูปธรรม และยังไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้น กระแสการคัดค้านน่าจะเป็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อน รัฐบาลไม่ได้ต้องการนำมาใช้ควบคุมข่าวสารอย่างที่เข้าใจ รัฐบาลยังเคารพสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนในการใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ และที่สำคัญโครงการดังกล่าวไม่ได้ยึดโมเดลต้นแบบของประเทศในระบบคอมมิวนิสต์ ที่ใช้กันแต่อย่างใด
      
ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูง จากกระทรวงไอซีที กล่าวว่า ความจริงแล้วไม่ควรใช้คำว่า Single Gateway เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่ารัฐบาลจะรวมเกตเวย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประมาณ 9 ราย มาใช้เกตเวย์อันเดียวกัน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ รัฐบาลไม่ได้ต้องการยุบเหลือเกต์เวย์เดียว แต่ต้องการให้เกตเวย์ที่ให้บริการอยู่ผ่านฮับอันเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลจะดูแค่เรื่องความปลอดภัย เพราะในอนาคตสงครามไซเบอร์จะมีมากขึ้นการให้เกตเวย์วิ่งผ่านฮับเดียวกันจะทำ ให้เราตามหาผู้กระทำผิดได้
       

ที่สำคัญรัฐบาลจะทำโครงการดังกล่าวได้จำเป็นต้องมีกฎหมายที่เกี่ยว กับกลุ่มกฎหมายด้านความมั่นคง ได้แก่ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และกฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีผลบังคับใช้ก่อน ดังนั้น รัฐบาลจะละเมิดข้อมูลไม่ได้ เป็นสิ่งผิดกฎหมาย
      
ทุกวันนี้ นอกจากเกตเวย์ที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีเกตเวย์เถื่อนอีกจำนวนมาก การทำโครงการนี้จะทำให้เรามีความปลอดภัยมากขึ้น ต่างประเทศก็ทำกัน แต่ต้องย้ำว่า โครงการนี้ยังไม่เกิด ดังนั้น ขออย่าให้ประชาชนคิดไปไกล หรือกังวลเกินเหตุ





Cr.ผู้จัดการ,ประชาไท,Synergy | Facebook ,เล่าสู่กันฟัง ,