เดิมที่ “อากาศยานไร้คนขับติดกล้อง” หรือ “โดรน” ถูกนำไปใช้ในงานทหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อชีวิตของเหล่าทหารในการเข้าถึง พื้นที่ที่ยากลำบากหรือเสี่ยงอันตรายมาก แต่ปัจจุบันได้เปิดกว้างให้คนทั่วไปสามารถนำโดรน มาใช้เพื่อการพาณิชย์และความบันเทิงมากขึ้น และ ด้วยเทคโนโลยีของกล้องถ่ายภาพที่สูงขึ้น โดรน ถูกพัฒนาต่อยอดใหม่ให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และราคาถูกลง
การใช้ งานที่ง่ายและฉลาดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก โดรน รุ่นใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆได้ดีขึ้น จึงไม่แปลกที่ปัจจุบันเราจะได้เห็นโดรนถูกใช้ในงานถ่ายภาพ งานถ่ายทำภาพยนตร์และ บางครั้งก็ถูกใช้สำรวจพื้นที่ที่เข้าถึงยากลำบากแทน การใช้เฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กแบบเก่า และในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซก็ขอแนะนำโดรน รุ่นใหม่ล่าสุดที่มีชื่อว่า ”Parrot Bebop (แพร์รอท บีบ๊อป)” ที่พัฒนาต่อยอดมาจากรุ่น AR.Drone 2.0
สำหรับ ภาพรวม Parrot Bebop ก็ถือเป็นโดรน Parrot Bebopขนาดเล็กอีกหนึ่งตัวที่มีพลังในตัวสูง ส่วนราคาก็อยู่ที่ 21,900 บาท สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย สามารถถ่ายได้ทั้งในบ้าน นอกบ้าน โรงถ่ายต่างๆ ด้วยขนาดตัวที่เล็กและน้ำหนักเบามาก สามารถใช้ร่วมกับสมาร์ทดีไวซ์ (สมาร์ทโฟนหรือ แท็บเล็ต) ที่ถึงแม้จะบินได้ไม่สูงมาก แต่ก็สามารถนำไปบินถ่ายวิวทิวทัศน์เล็กๆน้อยๆ หรือใช้ในงานถ่ายทำภาพยนตร์ขนาดเล็ก ถ่ายทำรายการได้
การออกแบบและสเปก
Parrot Bebop Drone ถูกออกแบบใหม่หมดให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักน้อยลง และด้วยผลิตและประกอบที่ละเอียดจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัดขนาดวัดจาก เวอร์เนียร์(Vernier Caliper) เพื่อการประกอบเครื่องที่ลงตัว โดยทางแพร์รอทเน้นใช้วัสดุเป็นพลาสติก ABS ความยืดหยุ่นสูงร่วมกับโฟมกันกระแทก โดยตัวโดรน Parrot Bebopมีขนาดเล็กเพียง 33x38x3.6 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) น้ำหนักอยู่ที่ 420 กรัม
ในส่วนใบพัดมี 4 ชุด 4 มอเตอร์ (ใบพัดสามารถถอดเปลี่ยนได้เมื่อชำรุด) ผลิตจากวัสดุพลาสติกโพลีคาร์บอเนต พร้อม Bumper โฟมกันกระแทกเกรด EPP เมื่อต้องใช้บินในที่ร่ม นอกจากนั้นมอเตอร์ควบคุมใบพัดยังมาพร้อมระบบป้องกันมอเตอร์ไหม้ เมื่อใบพัดหมุนไปติดกับวัตถุใดก็แล้วแต่ ใบพัดจะหยุดหมุนทันที
สำหรับ สเปกโดรน Parrot Bebop การควบคุมต้องทำผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต รองรับระบบปฏิบัติการ iOS, Android และ Windows Phone ร่วมกับสัญญาณ WiFi 802.11 a/b/g/n/ac รองรับทั้งความถี่ 2.4GHz และ 5GHz โดยภายในตัวโดรน Parrot Bebopมาพร้อมเสาสัญญาณ WiFi MIMO dual-band จำนวน 2 เสา
ในส่วนการรับส่งสัญญาณระหว่างโดรน Parrot Bebopกับสมาร์ทโฟนมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1.ถ้า เชื่อมต่อโดรน Parrot Bebopกับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตผ่าน WiFi โดยตรง ระยะเชื่อมต่อสูงสุดคือ 250 เมตร แต่ทางผู้ผลิตแนะนำไว้ไม่ควรบินไกลเกิน 50-100 เมตร และเมื่อบินในแนวตั้งฉากไม่ควรสูงเกิน 10-20 เมตร แต่ทั้งนี้เงื่อนไขของข้อนี้ขึ้นอยู่กับความแรงของ WiFi ในสมาร์ทโฟนของผู้ใช้และสภาพแวดล้อมด้วย เช่น ทีมงานทดสอบแถวชายทะเล ปากน้ำระยองด้วย iPhone 6 จะสามารถส่งสัญญาณในแนวตั้งฉากได้สูงถึง 90 เมตรเลยทีเดียว
2.ถ้าเชื่อมต่อโดรน Parrot Bebopกับสมาร์ทโฟนผ่าน Sky Controller (ซื้อแยก) ระยะเชื่อมต่อสูงสุดคือ 2,000 เมตร แต่ทางผู้ผลิตแนะนำไว้ไม่ควรบินไกลเกิน 300 เมตร และเมื่อบินในแนวตั้งฉากไม่ควรสูงเกิน 120 เมตร แต่ทั้งนี้ทีมงานขอแนะนำว่า การหาระยะบินสูงสุดและไกลสุดของโดรน Parrot Bebopรุ่นนี้ เมื่อผู้อ่านซื้อมาใช้งานครั้งแรก ควรมองหาลานกว้างโล่งแจ้งทดสอบหาระยะบินในแนวต่างๆด้วยตัวเองจะดีที่สุด
มา ดูในเรื่องสเปกหน่วยประมวลผลและกล้องถ่ายภาพกันบ้าง เริ่มจากสเปกหน่วยประมวลผลที่ทางผู้ผลิตเครมว่าเร็วกว่ารุ่นเดิมถึง 8 เท่าด้วยซีพียู Parrot P7 Dual-Core (บนสถาปัตยกรรมซีพียู Cortex 9) ประกบหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) แบบ Quad-core บนระบบปฏิบัติการ Linux
ใน ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลภายในเป็น Flash memory ขนาด 8 GB ไม่สามารถเพิ่มการ์ดความจุได้ โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่ใน Flash memory ผู้ใช้สามารถโอนถ่ายไปยังสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือ คอมพิวเตอร์ได้สองวิธีคือ โอนไฟล์ผ่าน WiFi และผ่านทางสาย MicroUSB
ด้านสเปกกล้องถ่ายภาพ มาพร้อมเซนเซอร์รับภาพ CMOS ขนาด 1/2.3 นิ้ว ที่วัดจากเวอร์เนียร์(Vernier) เครื่องมือวัดขนาดชิ้นงาน เลนส์กล้องมี 6 ชิ้นเลนส์ เป็นเลนส์มุมกว้างพิเศษ Fisheye สามารถเก็บภาพได้ 180 องศา พร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหวฮาร์ดแวร์แบบ 3 แกนทำงานสอดประสานกับซอฟต์แวร์และเซนเซอร์ Gyroscope, Magnetometer, Accelerometer, Optical flow sensor และ Ultrasound sensor ที่ช่วยให้งานวิดีโอออกมานิ่งแม้โดรน Parrot Bebopจะแกว่งไปมาจากแรงลมเมื่อบินขึ้นสูง รวมถึงช่วยประคองและสั่งถ่ายเทความแรงของมอเตอร์ใบพัดทั้ง 4 มุมให้โดรน Parrot Bebopบินได้ตรงและบังคับทิศทางได้แม่นยำ ลื่นไหล
สำหรับ ความละเอียดของภาพ รองรับการบันทึกวิดีโอความละเอียด 1,920x1,080 พิกเซล ที่ความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาที ในรูปแบบไฟล์ H264 ภาพนิ่งสามารถบันทึกที่ความละเอียด 14 ล้านพิกเซล (4,096x3,072 พิกเซล) รองรับฟอร์แมตภาพ JPEG และ RAW แบบ DNG
แบตเตอรีในชุดให้มา จำนวน 2 ก้อน เป็นแบบ Lithium Polymer ความจุ 1,200 mAh สำหรับการบันทึกวิดีโอต่อเนื่องทำได้นาน 11-12 นาทีต่อแบตเตอรี 1 ก้อน ด้านสเปกอื่นๆ ระบบ GPS เลือกใช้ GPS+GLONASS และความเร็วสูงสุดที่บินได้คือ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
การใช้งานและฟีเจอร์เด่น
อย่าง ที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า Parrot Bebop Drone ใช้การควบคุมจากสมาร์ทโฟนหรือ แท็บเล็ตบนระบบปฏิบัติการ iOS, Android และ Windows Phone เป็นหลัก โดยแอปฯ ที่เป็นตัวกลางในการใช้ควบคุมมีชื่อว่า ”FreeFlight 3” (ดาวน์โหลดฟรี) ซึ่งภายในแอปฯ สามารถแบ่งส่วนใช้งานได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆดังต่อไปนี้
1.FreeFlight หน้าใช้งานหลักเพื่อควบคุมโดรน Parrot Bebopทั้งหมด ซึ่งในส่วนของปุ่มควบคุมจะใช้ปุ่มทิศทางแบบเสมือนในการบังคับการบินไปในทิศ ทางต่างๆของโดรน Parrot Bebop แบ่งเป็นด้านซ้ายควบคุมมุมกล้องขึ้น-ลง หมุนกล้องไปทางซ้ายหรือขวา ส่วนด้านขวาเป็นปุ่มบังคับให้โดรน Parrot Bebopบินไปข้างหน้าหรือถอยหลัง
แต่ทั้งนี้สำหรับผู้ใช้ที่ไม่ ถนัดการควบคุมด้วยลักษณะนี้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้จากเมนู Piloting Settings โดยจะมีให้เลือกเลย์เอาท์ส่วนควบคุมเพิ่มอีก 2 แบบได้แก่ ACE และ Joypad พร้อมสามารถปรับองศาความลาดเอียงของโดรน Parrot Bebopเวลาบินไปข้างหน้าได้ด้วย
กลับมาดูหน้าจอหลักอีกครั้ง สำหรับการใช้งานครั้งแรกหลังจากวางโดรน Parrot Bebopในพื้นที่ที่ต้องการบินได้แล้ว ให้กดปุ่ม Take Off วิดีโอจะเริ่มบันทึกและโดรน Parrot Bebopจะเริ่มบินขึ้น ส่วนเมื่อเลิกบินต้องการให้โดรน Parrot Bebopลดระดับลงมา ก็เพียงกดปุ่ม Landing เท่านั้น หรือถ้าโดรน Parrot Bebopบินไปไกลเกินตาจะมองเห็นและต้องการให้โดรน Parrot Bebopบินกลับมาหาที่จุดเริ่มต้นก็เพียงกดปุ่ม Settings (รูปเฟืองมุมขวาบน) จากนั้นกดเลือก Return Home โดรน Parrot Bebopจะบินกลับมาจุดเริ่มต้นอัตโนมัติ
สำหรับปุ่ม Emergency หรือปุ่มฉุกเฉิน เมื่อกดปุ่มนี้ ระบบจะตัดการทำงานของมอเตอร์ใบพัดทั้ง 4 ในทันที ควรกดใช้เวลาจำเป็นจริงๆเท่านั้น เมื่อแบตเตอรีกำลังจะหมดลง จะมีข้อความแจ้งเตือนปรากฏขึ้นและโดรน Parrot Bebopจะบินกลับมายังจุดเริ่มต้นอัตโนมัติทันที
สำหรับการบินทุกครั้ง ระบบจะมีการบันทึกพิกัดจุด Take off และพิกัดการบินตลอดเวลา โดยเมื่อระหว่างใช้งานและเกิดเหตุ WiFi หลุดจนไม่สามารถควบคุมโดรน Parrot Bebopได้ โดรน Parrot Bebopจะไม่ปิดการทำงานในทันที แต่จะบินค้างบนท้องฟ้าจนแบตเตอรีเริ่มหมด (ใช้เวลาประมาณ 12 นาที) และหลังจากนั้นโดรน Parrot Bebopจะบินกลับมายังจุดเริ่มต้นและค่อยๆลดระดับลงมาจนถึงพื้นดินอย่างช้าๆ
2.ส่วน ของ Settings ปรับแต่งโดรน Parrot Bebopที่น่าสนใจ เริ่มจาก Recording Settings ที่นอกจากโดรน Parrot Bebopจะบันทึกวิดีโอและถ่ายภาพนิ่งได้แล้ว ระบบยังรองรับการถ่ายภาพนิ่งแบบ Timelapse และถ่ายรูป 180 องศาได้ด้วย นอกจากนั้นระบบยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งความสว่าง ชดเชยแสงและ White Balance ได้ด้วย
Flight Limit เป็นอีกหนึ่งออปชันที่ผู้ใช้ควรให้ความสนใจเป็นอันดับแรก เพื่อป้องกันการบังคับโดรน Parrot Bebopเพลินจนหลุดออกจากเขตเชื่อมต่อ โดยออปชันส่วนนี้จะช่วยจำกัดระยะบินในส่วนความสูงและระยะทางได้ เมื่อโดรน Parrot Bebopบินไปถึงระยะที่กำหนดไว้ โดรน Parrot Bebopจะไม่บินต่อไปข้างหน้าหรือบินขึ้นสูงกว่าระยะที่กำหนดไว้
3.Drone Academy ส่วนสำคัญส่วนสุดท้าย เพราะส่วนนี้จะช่วยให้เราเห็นสถิติการบินของเราทั้งหมดในแผนที่ตั้งแต่จุด เริ่มต้นไปถึงจุดสุดท้ายที่บิน นอกจากนั้นแอปฯ ยังมีการสรุปความสูง ระยะทางบินและความเร็วที่ใช้บินไว้ในส่วนของ Graphics ด้วย
อีก ทั้งในส่วน Drone Academy ยังมาพร้อมบริการ Parrot Cloud ที่ช่วยเก็บสถิติการบินรวมถึงวิดีโอหรือ รูปภาพนิ่งที่ถ่ายได้แชร์ไปยังเครือข่ายสังคม รวมถึง Facebook และ Youtube ด้วย
นอกจากนั้น สำหรับผู้ใช้ที่อยากได้ซอฟต์แวร์ควบคุมโดรน Parrot Bebop ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทางผู้ผลิตก็มี in-app purchase ให้เลือกซื้อผ่านสโตร์ของ Parrot ไม่ว่าจะเป็น Flight Plan ที่ช่วยกำหนดเส้นทางบินก่อนจะปล่อยให้โดรน Parrot Bebopบินตามเส้นทางที่กำหนดไว้อัตโนมัติแบบเดียวกับระบบ Auto Pilot ของเครื่องบินปกติ เป็นต้น
สรุป
ถือเป็นโดรน Parrot Bebopรุ่นกลางๆ ที่ใช้การควบคุมผ่านสมาร์ทดีไวซ์เป็นหลัก และให้ Controller เป็นส่วนซื้อแยกต่างหาก แน่นอนข้อดีของโดรน Parrot Bebopลักษณะนี้คือ มีราคาที่ไม่สูงมากอยู่ที่ 21,900 บาท ในขณะโดรน Parrot Bebopรุ่นท็อปที่มาพร้อม Controller ส่วนใหญ่จะมีราคาเกิน 3-4 หมื่นบาท
แต่ ทั้งนี้การใช้โดรน Parrot Bebopด้วยการควบคุมผ่านสมาร์ทดีไวซ์ จะมีปัญหาหลักอยู่ในเรื่องความเสถียรของ สัญญาณ WiFi ที่ปล่อยมาจากสมาร์ทดีไวซ์แต่ละรุ่นที่แตกต่างกัน สมาร์ทดีไวซ์บางรุ่นรับส่งสัญญาณ WiFi ไม่ดี ก็จะทำให้ระยะใช้งานโดรน Parrot Bebopสั้นลง และไม่เสถียรเท่ากับการควบคุมโดรน Parrot Bebopผ่าน Controller หรือแม้กระทั่งส่วนของซอฟต์แวร์ควบคุมหลักเอง ที่บางครั้งก็อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แอปฯ ค้างระหว่างใช้งานจนไม่สามารถควบคุมโดรน Parrot Bebopได้
จุด ที่ต้องชื่นชม Bebop Drone ที่แม้ว่าระหว่างทำงานจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นบ้าง แต่โดรน Parrot Bebopก็ไม่เกิดปัญหาให้ทีมงานต้องสูญเงินหมื่นบาทไป ส่วนนี้ต้องยกความดีให้กับ เรื่องระบบเก็บพิกัดคล้ายกล่องดำบนเครื่องบิน ทันทีที่การเชื่อมต่อมีปัญหา โดรน Parrot Bebopจะยังคงรักษาเพดานบินอยู่บนท้องฟ้าในตำแหน่งสุดท้ายก่อนการเชื่อมต่อ หลุดออก จนกว่าผู้ใช้จะเชื่อมต่อใหม่ได้ ระบบก็จะสามารถทำงานต่อเนื่องได้อย่างไร้รอยต่อ
แต่ทั้งนี้ ถ้าการเชื่อมต่อหลุดไปแบบถาวร โดรน Parrot Bebopก็จะบินอยู่บนท้องฟ้าจนแบตเตอรีหมด แล้วจะค่อยๆ Landing ลงมายังพื้นดินให้อัตโนมัติ หรืออีกกรณีถ้าระหว่างใช้งาน ผู้ใช้บินโดรน Parrot Bebopเพลินไปในระยะทางไกล เมื่อแบตเตอรีหมด โดรน Parrot Bebopจะพยายามบินกลับมายังจุดเริ่มต้นให้อัตโนมัติ แต่ถ้าบินไปไกลมากจนเกินไป การพยายามบินกลับจุดเริ่มต้นอาจทำได้ไม่สำเร็จ โดยโดรน Parrot Bebopอาจตกกระแทกพื้นบริเวณใดก็ได้ (ส่วนนี้ก็แล้วแต่โชค...)
สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงตัว โปรแกรมมิ่งของ Parrot Bebop ที่เขียนมาได้ค่อนข้างฉลาดและช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดจากความไม่ตั้งใจได้ ส่วนหนึ่ง (อีกส่วนหนึ่งอยู่ที่ผู้ใช้ต้องวางแผนการบินให้ดีก่อนนำโดรน Parrot Bebopขึ้นบินทุกครั้ง)
แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่ลืมว่า โดรน Parrot Bebopเป็นอุปกรณ์ที่มีอันตรายและสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้ การจะเลือกบินโดรน Parrot Bebopในพื้นที่ต่างๆ ควรมีการวางแผน ดูความเหมาะสม ไม่ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลผู้อื่น และที่สำคัญก่อนนำโดรน Parrot Bebopขึ้นบินทุกครั้งต้องเช็คความเรียบร้อย โดยเฉพาะระยะสัญญาณ WiFi ไม่ควรบินสูงหรือไกลเกินระยะที่ทางผู้ผลิตแนะนำไว้ รวมถึงแบตเตอรีที่ควรตรวจให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานทุกครั้ง
Cr.ผู้จัดการ