สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น
การจะแยกแยะธนบัตร อาจถือเป็นเรื่องยาก แต่ แว่นตา“วิชั่นเนียร์”
ผลงานนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะมาช่วยให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป
แว่นตา “วิชั่นเนียร์”
นวัตกรรมแว่นตาพร้อมกล้องจิ๋วแยกแยะวัตถุพร้อมเสียงบรรยาย
ช่วยคนตาบอดแยกธนบัตร-สีสัน-ยี่ห้อสินค้า-ไฟห้องเปิดปิดได้ภายใน 5 วินาที
คว้ารางวัลที่ 2 เวทีสิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการ i-CREATEd ประเทศสิงคโปร์
จากน้อง ๆ นักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
ผู้ค้นคิดนวัตกรรมใหม่พร้อมโปรแกรมวิเคราะห์ภาพจากกล้องถ่ายรูป
นาง สาวบุษภาณี พงษ์ศิริยาภรณ์ บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หนึ่งในผู้ประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์สวมใส่สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นหรือ แว่นตา “วิชั่นเนียร์” กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้พิการทางสายตามากกว่า 2 แสนคน เมื่อต้องเลือกพัฒนานวัตกรรมสำหรับการทำโครงงานจบการศึกษา เธอจึงมุ่งเป้าไปที่นวัตกรรมเพื่อกลุ่มคนตาบอด ซึ่งตรงกับความถนัดของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานของเธอที่สร้างสรรค์ผลงาน เพื่อคนตาบอดมาแล้วหลายต่อหลายชิ้น
บุษภาณี กล่าวว่า ช่วงแรกเธอยังไม่มีแนวความคิดชัดเจนว่าจะทำนวัตกรรมอะไร แต่เมื่อได้ลงพื้นที่วิจัยในสถานที่จริงกับผู้พิการทางสายตาที่สมาคมคนตาบอด กรุงเทพฯ ทำให้เธอทราบว่า ปัญหาสำคัญที่คนตาบอดต้องการ การแก้ไขมีด้วยกัน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ การแยะแยะธนบัตร, การแยกแยะสีสัน, การอ่านบาร์โค้ดเลือกซื้อสินค้า และการประเมินการเปิดปิดไฟในห้อง ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันแสนง่ายของคนทั่วไป แต่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากสำหรับผู้พิการทางสายตา
เมื่อ ได้โจทย์วิจัย เธอและทีมจึงสร้างชุดประมวลผล ด้วยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลภาพ ที่ได้จากกล้องจิ๋วขนาดเล็ก ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ซึ่งติดอยู่บริเวณด้านหน้าของแว่นตา“วิชั่นเนียร์”สำหรับผู้พิการ ทำหน้าที่เสมือนเครื่องสแกน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่จะคอยจับรายละเอียดของลายน้ำบนธนบัตร,ความเข้มสีบนเสื้อผ้า,รหัสบาร์โค้ด ของสินค้าต่าง ๆ และแหล่งกำเนิดแสงในห้อง ก่อนจะประมวลผลแล้วสั่งการผ่านเสียงเพื่อบอกใหัผู้ใช้รับรู้ว่าสิ่งที่กำลัง ตรวจสอบอยู่คือวัตถุชนิดใด
เวลาจะใช้ก็แค่หมุนปุ่มปรับที่กล่องประมวลผลว่าจะใช้โหมดใด เช่น เครื่องสแกนเพื่ออ่านธนบัตร เครื่องสแกนบาร์โค้ดเพื่อ อ่านรหัสบาร์โค้ดสินค้า แล้วเอาวัตถุนั้นมาไว้ใกล้ๆ ตาที่ใส่แว่นตา“วิชั่นเนียร์” ประมาณ 5 วินาทีก็จะมีเสียงจากลำโพงว่าแบงค์นี้คือแบงค์อะไร สินค้านั้นเป็นอะไร ราคาเท่าไร เพราะกล้องจะจับรายละเอียดแล้วส่งข้อมูลผ่านบลูทูธไปยังส่วนวิเคราะห์ เพื่อเทียบกับฐานข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้พิการใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งเครื่องนี้สามารถทำงานได้ โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แต่เมื่อเชื่อมต่อแว่นตา“วิชั่นเนียร์” กับ แอปพลิเคชั่นวิชั่นเนียร์บนโทรศัพท์มือถือ จะสามารถเชื่อมต่อกับเฟซบุ๊คแฟนเพจ 'ช่วยอ่านหน่อยนะ' เพื่อขอคำอธิบายภาพที่ปรากฎด้านหน้าผู้ใช้จากบุคคลอื่น
บุ ษภาณี เผยว่า จุดเด่นที่ทำให้แว่นตา“วิชั่นเนียร์”ได้รางวัลเหรียญเงินด้านเทคโนโลยี สำหรับคนพิการและสูงอายุ จากเวทีการประกวดนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ i-CREATEd ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่การใช้งานซึ่งมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริง และด้วยการออกแบบที่เรียบง่าย ใช้งานง่ายทำให้วิชั่นเนียร์เข้าถึงผู้บกพร่องทางการมองเห็นทุกระดับตั้งแต่ ตาพร่ามัวจนถึงบอดสนิท อีกทั้งมีราคาที่เหมาะสมทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะต่อยอดไปสู่การผลิตใน เชิงพาณิชย์
ก่อนนำไปแข่งขันก็นำไปให้ผู้พิการใช้ ซึ่งพวกเขาก็ให้การตอบรับค่อนข้างดี บอกว่าใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น แต่ก็พบปัญหาใหม่คือแว่นตา“วิชั่นเนียร์”ค่อนข้างหลวม ขั้นต่อไปจึงเป็นการพัฒนาให้แว่นตา“วิชั่นเนียร์”มีความกระชับของแว่นตารับ กับสรีระใบหน้าของแต่ละคนมากขึ้น ส่วนแบตเตอรี่ที่ใช้กับกล่องประมวลผลไม่มีปัญหา ใช้ได้นานพอๆ กับแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ แล้วในอนาคตก็มีแผนที่จะพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ด้วย โดยจะพยายามทำให้ราคาถูกที่สุดเพื่อให้เข้าถึงผู้พิการทางสายตาทุกคน ซึ่งตอนนี้มีต้นทุนการผลิตแว่นตา“วิชั่นเนียร์”อยู่ที่ประมาณ 3,000-5,000 บาท
แว่นตา“วิชั่นเนียร์” เป็น 1 ใน 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนักศึกษา ในงานประชุมวิชาการ I-CREATe 2015 (ไอครีเอท 2015) ที่มหาวิทยาลัยนันยางเทคโนโลยี สาธารณรัฐสิงคโปร์
Cr.ผู้จัดการ,VoiceTV
นาง สาวบุษภาณี พงษ์ศิริยาภรณ์ บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หนึ่งในผู้ประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์สวมใส่สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นหรือ แว่นตา “วิชั่นเนียร์” กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้พิการทางสายตามากกว่า 2 แสนคน เมื่อต้องเลือกพัฒนานวัตกรรมสำหรับการทำโครงงานจบการศึกษา เธอจึงมุ่งเป้าไปที่นวัตกรรมเพื่อกลุ่มคนตาบอด ซึ่งตรงกับความถนัดของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานของเธอที่สร้างสรรค์ผลงาน เพื่อคนตาบอดมาแล้วหลายต่อหลายชิ้น
บุษภาณี กล่าวว่า ช่วงแรกเธอยังไม่มีแนวความคิดชัดเจนว่าจะทำนวัตกรรมอะไร แต่เมื่อได้ลงพื้นที่วิจัยในสถานที่จริงกับผู้พิการทางสายตาที่สมาคมคนตาบอด กรุงเทพฯ ทำให้เธอทราบว่า ปัญหาสำคัญที่คนตาบอดต้องการ การแก้ไขมีด้วยกัน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ การแยะแยะธนบัตร, การแยกแยะสีสัน, การอ่านบาร์โค้ดเลือกซื้อสินค้า และการประเมินการเปิดปิดไฟในห้อง ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันแสนง่ายของคนทั่วไป แต่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากสำหรับผู้พิการทางสายตา
เมื่อ ได้โจทย์วิจัย เธอและทีมจึงสร้างชุดประมวลผล ด้วยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลภาพ ที่ได้จากกล้องจิ๋วขนาดเล็ก ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ซึ่งติดอยู่บริเวณด้านหน้าของแว่นตา“วิชั่นเนียร์”สำหรับผู้พิการ ทำหน้าที่เสมือนเครื่องสแกน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่จะคอยจับรายละเอียดของลายน้ำบนธนบัตร,ความเข้มสีบนเสื้อผ้า,รหัสบาร์โค้ด ของสินค้าต่าง ๆ และแหล่งกำเนิดแสงในห้อง ก่อนจะประมวลผลแล้วสั่งการผ่านเสียงเพื่อบอกใหัผู้ใช้รับรู้ว่าสิ่งที่กำลัง ตรวจสอบอยู่คือวัตถุชนิดใด
เวลาจะใช้ก็แค่หมุนปุ่มปรับที่กล่องประมวลผลว่าจะใช้โหมดใด เช่น เครื่องสแกนเพื่ออ่านธนบัตร เครื่องสแกนบาร์โค้ดเพื่อ อ่านรหัสบาร์โค้ดสินค้า แล้วเอาวัตถุนั้นมาไว้ใกล้ๆ ตาที่ใส่แว่นตา“วิชั่นเนียร์” ประมาณ 5 วินาทีก็จะมีเสียงจากลำโพงว่าแบงค์นี้คือแบงค์อะไร สินค้านั้นเป็นอะไร ราคาเท่าไร เพราะกล้องจะจับรายละเอียดแล้วส่งข้อมูลผ่านบลูทูธไปยังส่วนวิเคราะห์ เพื่อเทียบกับฐานข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้พิการใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งเครื่องนี้สามารถทำงานได้ โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แต่เมื่อเชื่อมต่อแว่นตา“วิชั่นเนียร์” กับ แอปพลิเคชั่นวิชั่นเนียร์บนโทรศัพท์มือถือ จะสามารถเชื่อมต่อกับเฟซบุ๊คแฟนเพจ 'ช่วยอ่านหน่อยนะ' เพื่อขอคำอธิบายภาพที่ปรากฎด้านหน้าผู้ใช้จากบุคคลอื่น
บุ ษภาณี เผยว่า จุดเด่นที่ทำให้แว่นตา“วิชั่นเนียร์”ได้รางวัลเหรียญเงินด้านเทคโนโลยี สำหรับคนพิการและสูงอายุ จากเวทีการประกวดนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ i-CREATEd ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่การใช้งานซึ่งมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริง และด้วยการออกแบบที่เรียบง่าย ใช้งานง่ายทำให้วิชั่นเนียร์เข้าถึงผู้บกพร่องทางการมองเห็นทุกระดับตั้งแต่ ตาพร่ามัวจนถึงบอดสนิท อีกทั้งมีราคาที่เหมาะสมทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะต่อยอดไปสู่การผลิตใน เชิงพาณิชย์
ก่อนนำไปแข่งขันก็นำไปให้ผู้พิการใช้ ซึ่งพวกเขาก็ให้การตอบรับค่อนข้างดี บอกว่าใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น แต่ก็พบปัญหาใหม่คือแว่นตา“วิชั่นเนียร์”ค่อนข้างหลวม ขั้นต่อไปจึงเป็นการพัฒนาให้แว่นตา“วิชั่นเนียร์”มีความกระชับของแว่นตารับ กับสรีระใบหน้าของแต่ละคนมากขึ้น ส่วนแบตเตอรี่ที่ใช้กับกล่องประมวลผลไม่มีปัญหา ใช้ได้นานพอๆ กับแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ แล้วในอนาคตก็มีแผนที่จะพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ด้วย โดยจะพยายามทำให้ราคาถูกที่สุดเพื่อให้เข้าถึงผู้พิการทางสายตาทุกคน ซึ่งตอนนี้มีต้นทุนการผลิตแว่นตา“วิชั่นเนียร์”อยู่ที่ประมาณ 3,000-5,000 บาท
แว่นตา“วิชั่นเนียร์” เป็น 1 ใน 2 ผลงานที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนักศึกษา ในงานประชุมวิชาการ I-CREATe 2015 (ไอครีเอท 2015) ที่มหาวิทยาลัยนันยางเทคโนโลยี สาธารณรัฐสิงคโปร์
Cr.ผู้จัดการ,VoiceTV