ซิงเกิล เกตเวย์ โดดใจชาวเน็ต |
ชาวเน็ตนัดรวมตัวต่อต้าน ซิงเกิล เกตเวย์ เตรียมถล่มเว็บไซต์กระทรวงไอซีที ล่าสุดยังไม่ถึงเวลานัด เว็บชิงล่ม ไม่ทราบสาเหตุ
กระแสต่อต้านโครงการ 'ซิงเกิล เกตเวย์' ในโลกออนไลน์ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลังจากเมื่อวานนี้ (29 ก.ย.) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ระบุว่ารัฐบาลยังคงเดินหน้าดำเนินโครงการ ซิงเกิล เกตเวย์ ต่อไป แม้ว่าจะมีชาวเน็ตบางส่วนและบุคคลในวงการไอทีออกมาคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า หากผู้คัดค้านยังไม่เข้าใจ ก็ขอให้ลองศึกษารูปแบบและรับฟังความคิดเห็นเสียก่อน
ด้านกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มีการส่งต่อข้อความ ระบุว่า คืนนี้ (30 ก.ย.) เวลา 22.00 น. ชาวเน็ตจะร่วมแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ โดยการถล่มเว็บไซต์ของรัฐบาล ด้วยวิธีการ DdoS ซึ่งมีเป้าหมายแรกที่เว็บไซต์ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ไอซีที เพื่อจำลองสถานการณ์ให้เห็นว่า หากประเทศไทยใช้ระบบ ซิงเกิล เกตเวย์ จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างไรบ้าง
สำหรับการโจมตีแบบ DDoS จะมีรูปแบบการโจมตี 2 ลักษณะที่มักพบเห็นทั่วไป ได้แก่
1.การกินแบนด์วิธ แต่ละองค์กรจะมีแบนด์วิธที่ใช้ต่ออินเทอร์เน็ตเหมือนซอยเข้าบ้าน คนที่ไม่หวังดีก็จะเข้ามาใช้เครื่องมือกั้นแบนด์วิธทำให้แบนด์วิธเต็ม เหมือนจอดรอดขวางเต็มซอย หรือ ถ้าใช้คนเข้ามาเรียกดู (Request) แบบที่ชาวเน็ตไทยทำกับเว็บไซต์ภาครัฐอยู่ตอนนี้ ก็จะต้องใช้คนจำนวนมหาศาลมากๆ แต่ส่วนตัวจากประสบการณ์ที่พบ จะเป็นการนำเครื่องมือมาช่วยยิงเว็บให้ร่วงมากกว่า
2.การทำให้คอนเนคชั่นเต็ม ผู้ไม่หวังดี เขามาในระบบค่อยๆ สร้างคอนเนคชั่นไปเรื่อยๆ เหมือนช่องจ่ายเงินทางด่วยมีรถจอดคาด่าน เต็มทุกช่องคนในองค์กรอาจจะไม่เห็นว่าเว็บล่ม แต่คนภายนอกเข้าเว็บไม่ได้แล้ว
การที่เว็บไซต์ภาครัฐร่วงเป็นว่าเล่นในคืนวันที่ 30 ก.ย.เป็นสัญญาณอีกด้าน ที่เมื่อมองในแง่ดี คือ สะท้อนถึงความอ่อนแอของหน่วยงานด้านไอทีภาครัฐ ความหละหลวมในการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในช่วงเวลาที่กระทรวงไอซีทีกำลังผลักดันเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอล คนยังไม่พร้อม ระบบไม่พร้อม เราจะรับมือกับเหตุไม่คาดฝันเหล่านี้อย่างไร เพราะหากเป็นของจริง จะเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย และความเสียหายอาจขยายวงกว้างมากกว่านี้ แล้วรัฐบาลจะแก้ไขจัดการ รวมทั้งป้องกันเรื่องนี้อย่างไร อยากให้ผู้ที่รับผิดคำนึงถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ปัจจุบันมีประเทศที่ใช้ Single Gateway คือ ลาว จีน เกาหลีเหนือ และประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นประเทศที่ภาครัฐสามารถควบคุมดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนได้ สะดวก โดยเฉพาะจีนที่รัฐบาล ควบคุมไม่ให้ประชาชนในประเทศเล่นสื่อโซเชียลอย่าง Facebook รวมถึงการห้ามใช้ Google นั่นเอง
ข้อดี หลังการติดตั้ง Single Gateway
- รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนในประเทศ ทำให้สามารถคัดกรองข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้ รวมถึงป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม
- ส่งเสริมความมั่นคงในประเทศชาติ ยากต่อการก่อการร้าย เพราะรัฐบาลจะรู้ก่อน
- ควบคุมข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลจากต่างประเทศเข้ามาทางอินเทอร์เน็ต
ข้อเสีย หลังการติดตั้ง Single Gateway
- อินเตอร์เน็ตช้าลงแน่นอน เนื่องจากมี Gateway เดียว
- หาก Gateway ล่มก็จะล่มกันหมดทั้งประเทศ เพราะจะไม่มี Gateway ตัวอื่นรองรับ
- ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปถูกจำกัดการใช้เครือข่ายกับต่างประเทศมากขึ้น และต้องระวังการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน เช่น การถูกรัฐบาลบล็อก แบน แสกน การใช้งานอินเทอร์เน็ต
- รัฐบาลสามารถปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่ประชาชนค้นหาได้อย่างรวดเร็วเต็ม ประสิทธิภาพ ด้วยป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่รัฐบาลไม่ต้องการ
- มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องสร้าง Gateway ที่มีขนาดใหญ่รองรับปริมาณการใช้งานทั้งประเทศ และต้องใหญ่พอที่จะรองรับปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
- บริษัทข้ามชาติลังเลที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากไม่มั่นใจด้านความมั่นคงและรู้สึกไม่ปลอดภัยในการให้บริการอิน เทอร์เน็ต กังวลถึงข้อมูลทางการค้าที่ถูกล้วงความลับได้ง่าย
- ประเทศไทยขาดโอกาสการเป็นฮับทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน
Cr.ไทยรัฐ,Kapook