เมื่อเร็วๆ
นี้ประเทศญี่ปุ่นจ้าวแห่งเทคโนโลยีรถไฟระบบรางก็เพิ่งเปิดตัวรถไฟพลังแม่
เหล็กอย่าง Maglev ทำลายสถิติอีกครั้งโดยฝ่ากำแพงความเร็ว 600
กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไปสร้างสถิติที่ 603 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้แล้ว
ส่วนในประเทศไทยกำลังปฏิรูปพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งขนานใหญ่เพื่อนำพาประเทศไทย
เป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาคอาเซียนก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่งคั่งและ
ยั่งยืน โดยมีสองหนุ่มนักศึกษาคนรุ่นใหม่จากคณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.)
ประเทศไทยได้รับคัดเลือกบินไปฝึกงานและออกแบบชิ้นส่วนรถไฟความเร็วสูงชินคัน
เซ็น ณ โรงงานฮิตาชิ เมืองยามากูชิ ประเทศญี่ปุ่น
รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวว่า เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสไปเรียนรู้งานรถไฟ ความเร็วสูงชินคันเซ็นที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านวิจัยและพัฒนารถไฟความเร็ว สูงในแดนอาทิตย์อุทัย ฮิตาชินั้นอยู่ภายใต้กลุ่มเจอาร์ กรุ๊ปหรือการรถไฟประเทศญี่ปุ่น และเป็นปีแรกที่บริษัทฮิตาชิตอบรับให้มีนักศึกษาไทยเข้าฝึกงานที่โรงงาน โดยให้โควต้าเพียง 2 คน ซึ่งก่อนไปทั้งสองได้ผ่านด่านคัดเลือกกันหลายด่านเลยทีเดียว
ตั้งแต่ ความรู้ความสามารถในวิชาวิศวกรรมไปจนถึงความสามารถพิเศษทางภาษาญี่ปุ่น โดยในขั้นแรกฝ่ายคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จะเป็นผู้คัดเลือกโดยดูจากประวัติการเรียน ความรู้ความสามารถในวิชาวิศวกรรม ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และมีข้อบังคับว่าต้องสามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในขั้นพื้นฐานได้ จากนั้นเมื่อผ่านการคัดเลือกจึงไปสัมภาษณ์ที่สำนักงานใหญ่ของฮิตาชิในประเทศ ไทย โดยมีระยะเวลาในการฝึกงาน 30 วัน ซึ่งนักศึกษาทั้งสองคนนั้นได้เก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการขน ส่งระบบรางในอนาคต และสามารถนำประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนาระบบรถไฟของประเทศ
ผศ.ดร.มน ศักดิ์ พิมสาร ประธานสาขาวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวถึง หลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ได้เปิดมาเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตวิศวกรที่มีความรู้ความรู้สามารถอย่างเชี่ยวชาญทั้ง ทางวิชาการและทางปฏิบัติเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศและตอบรับวิถีโลกศตวรรษ ที่ 21 ที่การอุปโภคบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นจึงต้องมีการจัดระบบการขนส่งให้มี ประสิทธิภาพมากที่สุด ไร้มลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยแก้ปัญหารถติดได้
มารู้จักกับ 2 นักศึกษาไทยคนรุ่นใหม่จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ประเทศไทยได้รับคัดเลือกบินไปฝึกงานและออกแบบชิ้นส่วนรถไฟความเร็วสูงชินคัน เซ็น ณ โรงงานฮิตาชิ เมืองยามากูชิ ประเทศญี่ปุ่น
นายธณวิน มั่นสกุล นักศึกษาชั้นปีที่4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวดีใจที่ได้รับโอกาสไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่นในโรงงานผลิตชิ้นส่วน และประกอบรถไฟชินคันเซ็น ซึ่งมีพนักงานรวมกว่า 1,500 คน ได้ฝึกงานในส่วนของแผนกวิศวกรรมล้อเลื่อน (Rolling stock) โรงงานนี้ทำงานเชื่อมโยงกับเจอาร์กรุ๊ปในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนของตู้ผู้ โดยสารชินคันเซ็น เช่น พื้นของห้องโดยสาร หรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า โยโกฮาริ (yokohari) เป็นต้น ผมได้ฝึกการออกแบบชิ้นส่วนของรถไฟชินคันเซ็นและมีโอกาสได้ดูงานการประกอบ รถไฟ การใช้เครื่องมือวัดขนาดต่างๆ อุปกรณ์สำหรับใช้วัดขนาดงานความละเอียดสูง หรือพวกไมโครมิเตอร์ (Micrometer) ก่อนนำแต่ละชิ้นส่วนมาประกอบกัน
เริ่ม จากการฝึกดูแบบ 2 มิติ จากนั้นนำมาวาดให้เป็น 3 มิติ แล้วจึงนำมาทดลองใส่แรงกระทำเพื่อทดสอบว่าสามารถนำเอาไปใช้ได้จริงไหม และยังได้ออกแบบชิ้นส่วนที่จะนำไปใช้ประกอบรถไฟจริง โดยได้ออกแบบเป็นพื้นของห้องโดยสารรถไฟชินคันเซ็น บรรยากาศของการทำงานของคนญี่ปุ่น ผู้ที่เป็นคนดูแลระหว่างฝึกงานนั้นได้ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาให้ ระหว่างที่ฝึกทำงานจะมีงานวิจัยด้านการออกแบบและพัฒนาให้เราศึกษาค้นคว้า และได้เข้าเทรนนิ่งสำหรับทีมงานชินคันเซ็นทุกๆวันพุธ
คนญี่ปุ่นจะทำ งานกันจริงจังไม่มีคุยเล่นระหว่างงาน ถ้าจะคุยก็ต่อเมื่อพักกลางวัน และทำงานหนักโดยจะมีการทำงานล่วงเวลา 2 ช่วง คือช่วง 6-8 โมงเช้า และอีกช่วงคือ 5 โมงเย็นถึงสี่ทุ่ม โดยอุปนิสัยของคนญี่ปุ่น มีความขยัน ทุ่มเท มีระเบียบวินัย รักองค์กร และให้ความสำคัญด้านการเสริมสร้างความปลอดภัยระหว่างการทำงาน เช่น การบังคับให้สวมใส่อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เช่น แว่น หมวกและรองเท้านิรภัยทุกครั้งหากเข้าโรงงาน
นายฐาปนิก ศรีพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) บอกเล่าความประทับใจที่มีต่อการฝึกงานที่โรงงานฮิตาชิ เมืองยามากูชิ ประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ว่า สนใจและหลงใหลในรถไฟหัวกระสุนนี้มาตั้งแต่เด็กทำให้ตั้งใจเกี่ยวเก็บความรู้ และประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกงาน ในระหว่างฝึกงาน รู้สึกประทับใจมาก เพราะไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน จึงได้เปิดโลกทัศน์ ได้เรียนรู้อะไรมากมายจากทีมงานชาวญี่ปุ่นที่ให้คำแนะนำและวิจารณ์ผลงานซึ่ง ทำให้เราได้พัฒนาทักษะต่างๆจากที่ได้เรียนมา รวมถึงความรู้และประสบการณ์ตรงนอกเหนือจากห้องเรียน ผมได้ฝึกงานที่ฝ่ายการผลิต ได้ทำหน้าที่ออกแบบ และสั่งผลิต ได้ใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) เครื่องวัดขนาด และอื่น ๆ ที่นำมาใช้ในงานออกแบบและทำการผลิต
หน้าที่ โดยรวมคือการประสานงานกับฝ่ายผลิตโดยตรง โรงงานฮิตาชิแห่งนี้จะผลิต 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ชิ้นส่วนต่างๆของรถไฟ ทั้งรถไฟความเร็วสูงอย่างชินคันเซ็น รถไฟรางเดียว (Monorail) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (Subway) ต่อมา คือ ระบบปรับอากาศ (Air Conditioning) และตู้รถไฟโดยสาร (Car) นอกเหนือจากนี้ สิ่งทีได้ฝึกฝนในระหว่างการฝึกงาน คือ ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ หากสนทนาโดยทั่วไปในที่ทำงานจะใช้ภาษาญี่ปุ่น แต่ถ้าเป็นเรื่องงานทางด้านวิศวกรรมจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ในช่วงเวลาหยุดสุดสัปดาห์ ผมกับธณวินก็จะออกไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆในประเทศญี่ปุ่นโดยใช้รถไฟชินคัน เซ็น ในอนาคตจะได้นำไปพัฒนาการรถไฟในประเทศของเรารวมถึงแบ่งปันประสบการณ์เป็นแรง บันดาลใจให้นักศึกษารุ่นน้องที่สนใจในอนาคตด้วยครับ
โลกคมนาคมขนส่ง ก้าวไกลด้วยการวิจัยและพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยขนส่งระบบรางเพื่อตอบสนองความต้องการของการคมนาคมในเมือง ระหว่างเมือง และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน แล้วอีกไม่นานประเทศไทยเราก็มีระบบขนส่งระบบรถไฟฟ้าทั้งที่เชื่อมระหว่าง เมือง และรถไฟฟ้าภายในเมืองเชื่อมโยงครบวงจรอีกในไม่ช้าไม่นาน
Cr.Thai PR
รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวว่า เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสไปเรียนรู้งานรถไฟ ความเร็วสูงชินคันเซ็นที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านวิจัยและพัฒนารถไฟความเร็ว สูงในแดนอาทิตย์อุทัย ฮิตาชินั้นอยู่ภายใต้กลุ่มเจอาร์ กรุ๊ปหรือการรถไฟประเทศญี่ปุ่น และเป็นปีแรกที่บริษัทฮิตาชิตอบรับให้มีนักศึกษาไทยเข้าฝึกงานที่โรงงาน โดยให้โควต้าเพียง 2 คน ซึ่งก่อนไปทั้งสองได้ผ่านด่านคัดเลือกกันหลายด่านเลยทีเดียว
ตั้งแต่ ความรู้ความสามารถในวิชาวิศวกรรมไปจนถึงความสามารถพิเศษทางภาษาญี่ปุ่น โดยในขั้นแรกฝ่ายคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จะเป็นผู้คัดเลือกโดยดูจากประวัติการเรียน ความรู้ความสามารถในวิชาวิศวกรรม ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และมีข้อบังคับว่าต้องสามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในขั้นพื้นฐานได้ จากนั้นเมื่อผ่านการคัดเลือกจึงไปสัมภาษณ์ที่สำนักงานใหญ่ของฮิตาชิในประเทศ ไทย โดยมีระยะเวลาในการฝึกงาน 30 วัน ซึ่งนักศึกษาทั้งสองคนนั้นได้เก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการขน ส่งระบบรางในอนาคต และสามารถนำประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนาระบบรถไฟของประเทศ
ผศ.ดร.มน ศักดิ์ พิมสาร ประธานสาขาวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวถึง หลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ได้เปิดมาเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตวิศวกรที่มีความรู้ความรู้สามารถอย่างเชี่ยวชาญทั้ง ทางวิชาการและทางปฏิบัติเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศและตอบรับวิถีโลกศตวรรษ ที่ 21 ที่การอุปโภคบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นจึงต้องมีการจัดระบบการขนส่งให้มี ประสิทธิภาพมากที่สุด ไร้มลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยแก้ปัญหารถติดได้
มารู้จักกับ 2 นักศึกษาไทยคนรุ่นใหม่จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ประเทศไทยได้รับคัดเลือกบินไปฝึกงานและออกแบบชิ้นส่วนรถไฟความเร็วสูงชินคัน เซ็น ณ โรงงานฮิตาชิ เมืองยามากูชิ ประเทศญี่ปุ่น
นายธณวิน มั่นสกุล นักศึกษาชั้นปีที่4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวดีใจที่ได้รับโอกาสไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่นในโรงงานผลิตชิ้นส่วน และประกอบรถไฟชินคันเซ็น ซึ่งมีพนักงานรวมกว่า 1,500 คน ได้ฝึกงานในส่วนของแผนกวิศวกรรมล้อเลื่อน (Rolling stock) โรงงานนี้ทำงานเชื่อมโยงกับเจอาร์กรุ๊ปในการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนของตู้ผู้ โดยสารชินคันเซ็น เช่น พื้นของห้องโดยสาร หรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า โยโกฮาริ (yokohari) เป็นต้น ผมได้ฝึกการออกแบบชิ้นส่วนของรถไฟชินคันเซ็นและมีโอกาสได้ดูงานการประกอบ รถไฟ การใช้เครื่องมือวัดขนาดต่างๆ อุปกรณ์สำหรับใช้วัดขนาดงานความละเอียดสูง หรือพวกไมโครมิเตอร์ (Micrometer) ก่อนนำแต่ละชิ้นส่วนมาประกอบกัน
เริ่ม จากการฝึกดูแบบ 2 มิติ จากนั้นนำมาวาดให้เป็น 3 มิติ แล้วจึงนำมาทดลองใส่แรงกระทำเพื่อทดสอบว่าสามารถนำเอาไปใช้ได้จริงไหม และยังได้ออกแบบชิ้นส่วนที่จะนำไปใช้ประกอบรถไฟจริง โดยได้ออกแบบเป็นพื้นของห้องโดยสารรถไฟชินคันเซ็น บรรยากาศของการทำงานของคนญี่ปุ่น ผู้ที่เป็นคนดูแลระหว่างฝึกงานนั้นได้ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาให้ ระหว่างที่ฝึกทำงานจะมีงานวิจัยด้านการออกแบบและพัฒนาให้เราศึกษาค้นคว้า และได้เข้าเทรนนิ่งสำหรับทีมงานชินคันเซ็นทุกๆวันพุธ
คนญี่ปุ่นจะทำ งานกันจริงจังไม่มีคุยเล่นระหว่างงาน ถ้าจะคุยก็ต่อเมื่อพักกลางวัน และทำงานหนักโดยจะมีการทำงานล่วงเวลา 2 ช่วง คือช่วง 6-8 โมงเช้า และอีกช่วงคือ 5 โมงเย็นถึงสี่ทุ่ม โดยอุปนิสัยของคนญี่ปุ่น มีความขยัน ทุ่มเท มีระเบียบวินัย รักองค์กร และให้ความสำคัญด้านการเสริมสร้างความปลอดภัยระหว่างการทำงาน เช่น การบังคับให้สวมใส่อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เช่น แว่น หมวกและรองเท้านิรภัยทุกครั้งหากเข้าโรงงาน
นายฐาปนิก ศรีพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) บอกเล่าความประทับใจที่มีต่อการฝึกงานที่โรงงานฮิตาชิ เมืองยามากูชิ ประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ว่า สนใจและหลงใหลในรถไฟหัวกระสุนนี้มาตั้งแต่เด็กทำให้ตั้งใจเกี่ยวเก็บความรู้ และประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกงาน ในระหว่างฝึกงาน รู้สึกประทับใจมาก เพราะไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน จึงได้เปิดโลกทัศน์ ได้เรียนรู้อะไรมากมายจากทีมงานชาวญี่ปุ่นที่ให้คำแนะนำและวิจารณ์ผลงานซึ่ง ทำให้เราได้พัฒนาทักษะต่างๆจากที่ได้เรียนมา รวมถึงความรู้และประสบการณ์ตรงนอกเหนือจากห้องเรียน ผมได้ฝึกงานที่ฝ่ายการผลิต ได้ทำหน้าที่ออกแบบ และสั่งผลิต ได้ใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) เครื่องวัดขนาด และอื่น ๆ ที่นำมาใช้ในงานออกแบบและทำการผลิต
หน้าที่ โดยรวมคือการประสานงานกับฝ่ายผลิตโดยตรง โรงงานฮิตาชิแห่งนี้จะผลิต 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ชิ้นส่วนต่างๆของรถไฟ ทั้งรถไฟความเร็วสูงอย่างชินคันเซ็น รถไฟรางเดียว (Monorail) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (Subway) ต่อมา คือ ระบบปรับอากาศ (Air Conditioning) และตู้รถไฟโดยสาร (Car) นอกเหนือจากนี้ สิ่งทีได้ฝึกฝนในระหว่างการฝึกงาน คือ ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ หากสนทนาโดยทั่วไปในที่ทำงานจะใช้ภาษาญี่ปุ่น แต่ถ้าเป็นเรื่องงานทางด้านวิศวกรรมจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ในช่วงเวลาหยุดสุดสัปดาห์ ผมกับธณวินก็จะออกไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆในประเทศญี่ปุ่นโดยใช้รถไฟชินคัน เซ็น ในอนาคตจะได้นำไปพัฒนาการรถไฟในประเทศของเรารวมถึงแบ่งปันประสบการณ์เป็นแรง บันดาลใจให้นักศึกษารุ่นน้องที่สนใจในอนาคตด้วยครับ
โลกคมนาคมขนส่ง ก้าวไกลด้วยการวิจัยและพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยขนส่งระบบรางเพื่อตอบสนองความต้องการของการคมนาคมในเมือง ระหว่างเมือง และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน แล้วอีกไม่นานประเทศไทยเราก็มีระบบขนส่งระบบรถไฟฟ้าทั้งที่เชื่อมระหว่าง เมือง และรถไฟฟ้าภายในเมืองเชื่อมโยงครบวงจรอีกในไม่ช้าไม่นาน
Cr.Thai PR