4 ก.พ. 2558

โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai) พลังไฮโครเจน

 
รถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงHydrogen Fuel Cell Vehicle – FCV
รถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell Vehicle – FCV)

TOYOTA MIRAI ยานยนต์ไฮโดรเจน ปล่อยของเสียเป็นน้ำดื่มบริสุทธิ์


บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวรถรุ่นใหม่ ‘มิไร’ รถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell Vehicle – FCV) และจะจำหน่ายในตลาดรถยนต์ประเทศญี่ปุ่นวันที่ 15 ธันวาคม 2557 โตโยต้า มิไร ส่งสัญญาณว่ายุคใหม่แห่งยานยนต์โตโยต้าเริ่มต้นแล้ว ด้วยการเป็นยนตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความสะดวกสบาย สุนทรียภาพในการขับขี่ มิไร ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในอนาคต ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

มิไร

โตโยต้า มิไร ใช้ระบบเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า (Toyota Fuel Cell System—TFCS) มีต้นกำเนิดจากการผสานการทำงานของเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงกับนวัตกรรมไฮบริด รวมถึง ระบบเซลล์เชื้อเพลิงลิขสิทธิ์ใหม่ล่าสุดของโตโยต้า อย่าง เซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้า (FC Stack) และถังเก็บไฮโดรเจนแรงดันสูง สำหรับระบบเซลล์เชื้อเพลิงโตโยต้านั้น กล่าวได้ว่าประหยัดพลังงานกว่าระบบเครื่องยนต์เผาไหม้และไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ สารที่มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ (Substance of Concern—SOCs) ในระหว่างการขับขี่ โดยผู้ขับขี่จะได้สัมผัสการขับขี่ที่สะดวกสบาย และขับได้ในระยะทางที่ไกล รวมถึงใช้เวลาในการเติมพลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรเจนแค่ประมาณสามนาที
มิไร เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่ยานยนต์รุ่นใหม่ควรจะมี ทั้งดีไซน์โดดเด่นสะดุดตา ประกอบกับการขับขี่ที่เหนือชั้นด้วยเสถียรภาพแห่งการควบคุมยานยนต์ที่เหนือกว่า โดยมาจากศูนย์ถ่วงต่ำของรถ ความเงียบแต่ปราดเปรียวทรงพลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า โตโยต้า มิไร ยังประกอบไปด้วยระบบเทเลมาติกส (Telematics Service) เพื่อให้มั่นใจว่าการขับขี่จะปลอดภัย มีเสถียรภาพ และสะดวกสบาย รถรุ่นนี้ยังสามารถเป็นแหล่งพลังงานสำรองที่ทรงประสิทธิภาพถึงสองเท่า หากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ภัยพิบัติ หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ

TOYOTA MIRAI ยานยนต์ไฮโดรเจน

TOYOTA MIRAI ยานยนต์ไฮโดรเจน




เชื่อเพลิงไฮโดรเจน

พลังงานไฮโดรเจน ถือเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกอีกประเภทหนึ่ง ผลิตได้จากแหล่งต้นกำเนิดพลังงานที่หลากหลาย อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม เมื่อได้รับแรงอัด มวลความหนาแน่นของพลังงานไฮโดรเจนจะสูงกว่าแบตเตอรี่สำรองที่ใช้ในรถขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งความสะดวกในการเก็บรักษา และการขนส่ง นอกเหนือจากอรรถประโยชน์ในฐานะเชื้อเพลิงสำหรับที่อยู่อาศัยและวงการยานยนต์แล้ว พลังงานไฮโดรเจนยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์อีกมากมาย รวมทั้ง เป็นแหล่งสร้างพลังงานขนาดใหญ่ ดังนั้น รถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง หรือ FCV จึงสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจากไฮโดรเจนได้ หมายถึง มันจะนำไปสู่ภาพอนาคตของสังคมที่จะพึ่งพาพลังงานไฮโดรเจน และเพิ่มความหลากหลายในการผลิตพลังงานให้มากขึ้น




เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell Vehicle – FCV)
‘มิไร’ รถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell Vehicle – FCV)

แผนการวางจำหน่าย รถไฮโดรเจน

เริ่มวางจำหน่าย: ต้นปี     2558 เป็นต้นไป
ช่องทางการจำหน่าย: ตัวแทนจำหน่าย “โตโยต้า” และ “โตโยเปต” (Toyopet)
เป้าหมายของยอดขาย : ประมาณ 400 คัน ภายในปี 2558 สำหรับตลาดรถยนต์ประเทศญี่ปุ่น
ราคาปลีกที่ผู้ผลิตแนะนำ: 7,236,000 เยน
 (รวมภาษีผู้บริโภค แต่ไม่รวมค่ารีไซเคิล ราคาอาจแตกต่างสำหรับ  ฮอกไกโด และโอกินาว่า)

โรงงานผลิต
โรงงานประกอบรถยนต์โมโตมาจิ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น

Cr.ไทยรัฐ