กลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ขึ้นอีกครั้งหนึ่งสำหรับเหตุการณ์
ไฟไหม้ปริศนากว่า 200 ครั้งที่บ้านหลังหนึ่งใน จ.พัทลุง
หลังจากมีนักข่าวซ่อนกล้องภายในบ้าน
และพบว่ามีหญิงสาวรายหนึ่งยื่นมือไปทำอะไรในกองผ้า
จากนั้นก็เรียกเด็กมาชี้จุดเกิดเหตุ
ล่าสุด ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการประจำ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส มาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงเหตุการณ์การซ่อนกล้อง/แอบถ่าย บันทึกภาพทำได้ไหม? จากกรณีบ้านไฟไหม้ปริศนาที่กำลังเป็นข่าว นักข่าวสามารถซ่อนกล้องได้หรือไม่
1. ทำได้…
แต่ต้องคิดว่า ใช่เรื่องที่ "ประชาชนมีสิทธิ/จำเป็นต้องได้รู้จริงๆ หรือไม่? โดยปกตินักข่าวจะซ่อนกล้องหรือไมโครโฟนได้ (และควรเป็นวิธีสุดท้าย) เช่น
- กรณีเปิดโปงการทุจริต โกง ขบวนการคอร์รัปชันของรัฐ ราชการ รัฐวิสาหกิจ
- กรณีเปิดโปงลัทธิ ขบวนการต้มตุ๋น แก๊งหลอกลวงชาวบ้านประชาชนในสิ่งที่โง่งมงาย
- กรณีการหาข้อพิสูจน์ทางสังคม เช่น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แปลก -กรณีอาชญากรรม ภัยสังคม อันตรายที่กระทบต่อชีวิตทรัพย์สินของประชาชน
และนักข่าว ต้องแน่ใจว่า "ซ่อนกล้องเพื่อค้นหาความจริง"
2. ทำอย่างไร?....
- ปรึกษากับผู้บริหาร/กองบรรณาธิการก่อน
- คำนึงถึงความปลอดภัยของทีมงานและผู้ถูกบันทึกภาพ
- ต้องมีทีมงานข่าว ผู้สื่อข่าวที่อยู่ในภาพข่าวที่แอบซ่อนกล้องนั้นด้วย
- อาจแจ้งขออนุญาตเจ้าของสถานที่ หรือเจ้าทุกข์ เจ้าของเรื่องก่อน
- เมื่อได้ภาพแอบบันทึกนั้นมาแล้ว ต้องให้เจ้าของ(คนที่อนุญาต) ได้พิจารณาดูก่อนออกอากาศ
- เซ็นเซอร์ ปกปิดอัตลักษณ์บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในกรณีนี้ (บ้านไฟไหม้) ต้องเซ็นเซอร์ทั้งหมด เพราะทุกคนยังเป็นผู้ต้องสงสัย
3. เจ้าของบ้านฟ้องสื่อได้ไหม?
1. ฟ้องได้ ในลักษณะละเมิดสิทธิ แต่กรณีนี้ เจ้าของบ้านไม่น่าจะฟ้องได้ ถ้าทีมงานข่าวได้แจ้งเจ้าของบ้าน/และหรือก็ไปยืนถ่ายทำด้วยตัวเองในบ้าน (เจ้าของบ้านอาจจะรู้อยู่กับนักข่าวแค่สองคน)
2. ฟ้องได้ แต่อาจจะแพ้ ถ้านักข่าวพิสูจน์จนสุดทางว่าเป็นขบวนการต้มตุ๋นหลอกลวง หรือ นักข่าวก็นำเสนอโดยเซ็นเซอร์ภาพทุกคนทั้งหมดแต่แรก
3. ฟ้องได้ ถ้าสำนักข่าวนั้น ไม่ควบคุมความคิดเห็นของผู้คนอื่นๆ ที่อาจมีลักษณะหมิ่นประมาท มาดร้าย สื่ออาจโดนฟ้องในคดีหมิ่นประมาท
4. วิธีการอื่นมีไหม? การซ่อนกล้องควรเป็นวิธีการสุดท้ายจริงๆ
ที่สุดแล้วเรื่องราวทั้งหมดยังต้องหาคำตอบว่าอะไรคือเรื่องจริง อะไรคือลวง ส่วนสื่ออย่างเราๆ อะไรคือความพอดี?
Cr.ไทยรัฐ,ไทยพีบีเอส
ล่าสุด ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการประจำ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส มาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงเหตุการณ์การซ่อนกล้อง/แอบถ่าย บันทึกภาพทำได้ไหม? จากกรณีบ้านไฟไหม้ปริศนาที่กำลังเป็นข่าว นักข่าวสามารถซ่อนกล้องได้หรือไม่
1. ทำได้…
แต่ต้องคิดว่า ใช่เรื่องที่ "ประชาชนมีสิทธิ/จำเป็นต้องได้รู้จริงๆ หรือไม่? โดยปกตินักข่าวจะซ่อนกล้องหรือไมโครโฟนได้ (และควรเป็นวิธีสุดท้าย) เช่น
- กรณีเปิดโปงการทุจริต โกง ขบวนการคอร์รัปชันของรัฐ ราชการ รัฐวิสาหกิจ
- กรณีเปิดโปงลัทธิ ขบวนการต้มตุ๋น แก๊งหลอกลวงชาวบ้านประชาชนในสิ่งที่โง่งมงาย
- กรณีการหาข้อพิสูจน์ทางสังคม เช่น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แปลก -กรณีอาชญากรรม ภัยสังคม อันตรายที่กระทบต่อชีวิตทรัพย์สินของประชาชน
และนักข่าว ต้องแน่ใจว่า "ซ่อนกล้องเพื่อค้นหาความจริง"
2. ทำอย่างไร?....
- ปรึกษากับผู้บริหาร/กองบรรณาธิการก่อน
- คำนึงถึงความปลอดภัยของทีมงานและผู้ถูกบันทึกภาพ
- ต้องมีทีมงานข่าว ผู้สื่อข่าวที่อยู่ในภาพข่าวที่แอบซ่อนกล้องนั้นด้วย
- อาจแจ้งขออนุญาตเจ้าของสถานที่ หรือเจ้าทุกข์ เจ้าของเรื่องก่อน
- เมื่อได้ภาพแอบบันทึกนั้นมาแล้ว ต้องให้เจ้าของ(คนที่อนุญาต) ได้พิจารณาดูก่อนออกอากาศ
- เซ็นเซอร์ ปกปิดอัตลักษณ์บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในกรณีนี้ (บ้านไฟไหม้) ต้องเซ็นเซอร์ทั้งหมด เพราะทุกคนยังเป็นผู้ต้องสงสัย
3. เจ้าของบ้านฟ้องสื่อได้ไหม?
1. ฟ้องได้ ในลักษณะละเมิดสิทธิ แต่กรณีนี้ เจ้าของบ้านไม่น่าจะฟ้องได้ ถ้าทีมงานข่าวได้แจ้งเจ้าของบ้าน/และหรือก็ไปยืนถ่ายทำด้วยตัวเองในบ้าน (เจ้าของบ้านอาจจะรู้อยู่กับนักข่าวแค่สองคน)
2. ฟ้องได้ แต่อาจจะแพ้ ถ้านักข่าวพิสูจน์จนสุดทางว่าเป็นขบวนการต้มตุ๋นหลอกลวง หรือ นักข่าวก็นำเสนอโดยเซ็นเซอร์ภาพทุกคนทั้งหมดแต่แรก
3. ฟ้องได้ ถ้าสำนักข่าวนั้น ไม่ควบคุมความคิดเห็นของผู้คนอื่นๆ ที่อาจมีลักษณะหมิ่นประมาท มาดร้าย สื่ออาจโดนฟ้องในคดีหมิ่นประมาท
4. วิธีการอื่นมีไหม? การซ่อนกล้องควรเป็นวิธีการสุดท้ายจริงๆ
ที่สุดแล้วเรื่องราวทั้งหมดยังต้องหาคำตอบว่าอะไรคือเรื่องจริง อะไรคือลวง ส่วนสื่ออย่างเราๆ อะไรคือความพอดี?
Cr.ไทยรัฐ,ไทยพีบีเอส