30 ส.ค. 2559

รถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk) ดังไกลทั่วโลก

 

รถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk) ดังไกลทั่วโลก

หากชาวต่างชาติพูดถึงประเทศไทย นอกจากอาหารไทยและทะเลที่สวยงามแล้ว สิ่งที่พวกเขาจะกล่าวถึงเป็นลำดับแรกๆก็น่าจะเป็น “รถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)” อย่างแน่นอน บางคนถึงกับกล่าวว่า ถ้าหากคุณมาเที่ยวประเทศไทยแล้วยังไม่เคยใช้บริการรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)แล้วหล่ะก็ ถือว่าคุณยังมาไม่ถึงประเทศไทย…. อาจกล่าวได้ว่ารถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)นั้นได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยมานานแล้ว ชาวต่างชาติรู้จักรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)มากขึ้นเรื่อยๆทั้งจากสื่อต่างๆและจากการมาเที่ยวประเทศไทยด้วยตัวเอง  สำหรับคนไทยเราเองก็คงจะคุ้นหน้าคุ้นตากับรถสามล้อเครื่องหลากสีนี้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือตามเมืองใหญ่ต่างๆทั่วประเทศ


เชื่อว่าคนไทยทุกคนน่าจะรู้จักรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk) แต่คงมีไม่กี่คนที่จะรู้จักความเป็นมาของรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk) รวมไปถึงหลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมเราถึงเรียกรถประเภทนี้ว่า รถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk) … วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว  รถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)ที่พวกเราเห็นและใช้บริการกันอยู่ทุกวันนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า รถสามล้อเครื่อง ถูกเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกประมาณช่วงปี พ.ศ. 2503 สำหรับประเทศที่นำเข้ามานั้นมีหลากหลายแตกต่างออกไป แต่ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ในสมัยนั้นรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)มีหลากหลายยี่ห้อไม่ว่าจะเป็นไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ แต่ทุกวันนี้เจ้าเดียวที่ยังคงครองตลาดก็คือ ไดฮัทสุ


นอกจากนี้ราคาของรถก็ได้เพิ่มขึ้นมาอย่างมาก จากในยุคแรกเริ่มที่ราคาอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นบาท ปัจจุบันราคาขึ้นมาอยู่ที่หลักแสนแล้ว และเมื่อรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)อยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานเข้า คนไทยเราก็ได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เหมาะสมกับคนไทยมากขึ้น เพิ่มความเป็นไทยและความสะดวกสบายให้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้รถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)บ้านเรามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น แม้แต่ภาพยนต์ฮอลลีวูดดังๆหลายเรื่องก็ยังมีฉากที่มีรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)รวมอยู่ด้วย ชาวต่างชาติบางคนถึงกลับถูกใจซื้อรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)กลับประเทศไปด้วยก็มี


ว่ากันในเรื่องของคำว่า ตุ๊กตุ๊ก ที่เราเรียกกันจนติดปาก คำนี้ในแง่ของภาษาศาสตร์แล้วไม่ได้มีความหมายแต่อย่างใด โดยที่มาของคำว่าตุ๊กตุ๊กนี้ก็มาจากบรรดาชาวต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทยและไม่รู้จะเรียกรถประเภทนี้ว่าอะไรดี หากจะให้เรียกว่ารถสามล้อเครื่องก็อาจจะยากและยาวเกินไป พวกเขาจึงตั้งชื่อรถประเภทนี้จาก “เสียง” ของรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)นั่นเอง เสียงที่ว่าก็คือเสียงของท่อไอเสียเวลาที่รถขับหรือเสียงเวลาที่รถเร่งเครื่องนั่นเอง ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามพวกเขาคิดว่าเสียงเหล่านี้น่าจะออกเสียงได้ประมาณว่า ตุ๊กตุ๊ก รถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk) ดังไกลทั่วโลกและนั่นก็ทำให้ตุ๊กตุ๊กกลายเป็นคำเรียกติดปากของคนทั่วโลกตลอดมา


ตามหลักของภาษาไทย ชื่อรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)นี้ตรงกับเรื่องของการใช้ภาพพจน์ ซึ่งก็คือการใช้ถ้อยคำหรือสำนวนให้ผู้รับสารเกิดภาพ เกิดจินตนาการตาม ซึ่งจะทำให้เข้าใจและรับรู้ตรงกับความต้องการของผู้ส่งสาร ตัวอย่างง่ายๆก็เช่น อุปมา (การเปรียบเหมือน) อุปลักษณ์(การเปรียบเป็น) ส่วนคำว่า ตุ๊กตุ๊ก นี้ก็คือการใช้สัทพจน์ (Onomatopoeia)นั่นเอง สัทพจน์คือการใช้คำที่เลียนเสียงธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเสียงดนตรี เสียงร้องของสัตว์ หรือเสียงกิริยาอาการต่างๆของคน ทั้งนี้เพื่อทำให้ผู้รับสารเข้าใจและรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงนั้นๆ เช่น ฝนตกดังแปะๆ คลื่นซัดครืนๆ เป็นต้น และการที่รถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)ของเราได้ชื่อมาจากเสียงท่อไอเสียหรือเครื่องยนต์ของรถนั้นก็จัดอยู่ในประเภทสัทพจน์เช่นเดียวกัน (ถึงแม้หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าเสียงของรถที่เราได้ยินทุกวันนี้ไม่ตรงกับคำว่า ตุ๊กตุ๊ก เท่าไร อาจจะด้วยเรื่องของการได้ยินที่แตกต่างกัน แต่ก็เอาเถอะ ถ้าชาวต่างชาติเขาคิดว่าเป็นเสียงนั้นและเรียกกันได้ง่ายๆก็สะดวกดีเหมือนกัน ^^ )


รถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk) ดังไกลทั่วโลกและล่าสุด เมื่อปลายปีที่แล้วเจ้ารถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)นี้ก็ได้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยทำให้คนทั่วโลกตื่นตาอีกครั้งกับชุดประจำชาติประเทศไทยในการประกวดนางงามจักรวาล หรือมิสยูนิเวิร์ส 2016 ที่สหรัฐอเมริกา เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเราได้ฉีกรูปแบบเดิมๆของการออกแบบชุดประจำชาติให้กลายเป็นแบบที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากกว่าความสวยงามในแบบเดิมๆ ในปีนี้เราได้ออกแบบชุดประจำชาติให้มีลักษะเหมือนรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)และชุด “ตุ๊กตุ๊ก ไทยแลนด์” ก็ไม่ทำให้พวกเราผิดหวังเพราะสามารถคว้ารางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมมาได้สำเร็จ โดยสาวงามเจ้าของสายสะพายประเทศไทยปีนี้คือ แนท อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ วัย21ปี นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้สาวงามของเรายังสามารถฝ่าด่านเข้าไปรอบ15คนสุดท้าย และสามารถไปยืนเป็น10คนสุดท้ายบนเวทีนางงามจักรวาลอันทรงเกียรตินี้ได้สำเร็จ


ใครจะคาดคิดกันนะว่าชุดประจำชาติรูปแบบใหม่ที่ฉีกกฏทุกอย่างที่เคยมีมานี้จะสวยงาม น่าตื่นตาจนคว้ารางวัลให้กับประเทศไทยเราได้สำเร็จ และถึงแม้ในตอนแรกจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากสังคมในเรื่องของความเหมาะสมของชุดที่เรียกกันว่า “ชุดประจำชาติ” แต่ท้ายที่สุด ชุดตุ๊กตุ๊กนี้ก็พิสูจน์ให้ทั้งโลกเห็นแล้วว่าพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์สามารถเรื่องราวดีๆได้เสมอ…


กลับมาที่ตัวรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)….ในอีกแง่หนึ่ง ชาวต่างชาติหรือแม้แต่พวกเราคนไทยหลายคนอาจมีทัศนคติและมองภาพของรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)ในทางที่ไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะในเรื่องของราคาค่าโดยสาร ยิ่งถ้าเป็นชาวต่างชาติยิ่งต้องระวังในการถูกโก่งราคาอยู่เสมอ แต่ถึงอย่างนั้นชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในบ้านเราในปัจจุบันก็ทราบและตระหนักถึงข้อมูลนี้ดีจากข้อมูลตามอินเทอร์เน็ตที่มีมากมายในปัจจุบัน ดังนั้นถ้าใครที่มีเพื่อนหรือคนรู้จักที่จะมาเที่ยวประเทศไทยแต่ไม่อยากใช้บริการตุ๊กตุ๊กเพราะปัจจัยดังกล่าว ก็อย่าลืมช่วยกันบอกและอธิบายให้พวกเขาทราบนะ รับรองว่าประสบการณ์บนรถตุ๊กตุ๊ก (tuk tuk)จะเป็นอีกประสบการณ์การท่องเที่ยวที่พวกเขาจะจดจำและนำไปเล่าต่อในอนาคตอย่างแน่นอน!!!

Cr.ข่าว Lexiophiles