ประเทศไทยพร้อมเข้าสู่การใช้งาน IOT(Internet of Things) แล้วหรือยัง? วันนี้จะพาไปหาคำตอบจากอินเทล (Intel) ผู้ผลิตชิพรายใหญ่ของโลก ว่าเจ้าตัว IOT(Internet of Things) มันทำงานเป็นระบบอย่างไร แล้วไทยพร้อมหรือยังที่จะรับระบบนี้มาใช้
นายสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเทล (Intel) ไมโครอิเล็กทรอนิกส์(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การทำ IOT(Internet of Things) หรืออินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ มีหลายส่วนประกอบกันเช่น ชิพ เน็ตเวิร์ก เกตเวย์ซอฟต์แวร์ ระบบความปลอดภัย และที่สำคัญต้องมีความร่วมมือที่ดีจากทั้งภาครัฐและเอกชนในการสร้างสรรค์ พัฒนาและผลักดันให้เกิดการใช้งานหรือที่เรียกว่า อีโคซีสเต็ม (Ecosystem)
"ไทยพร้อมแล้วที่จะก้าวสู่การใช้งานแบบ IOT(Internet of Things) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมี 3 ปัจจัยที่เหมาะสมคือช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าแบนด์วิธหรือความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ตมีราคา ถูกลง 40% ต้นทุนการทำเซ็นเซอร์ลดลง 2 เท่าและต้นทุนในการประมวลผลถูกลง 60 เท่า ซึ่งวันนี้ไทยมีเทคโนโลยีครบจึงพร้อมก้าวสู่การใช้งาน IOT(Internet of Things)" นายสนธิญากล่าว
นายสนธิญา กล่าวต่อว่า ไทยมีความพร้อมในการก้าวสู่การใช้งาน IOT(Internet of Things) อยู่ในระดับแถวหน้าของอาเซียน โดยขณะนี้อินเทล (Intel)ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ นำเทคโนโลยี IOT(Internet of Things) มาใช้งานแล้วเบื้องต้นมี 2 ตัวอย่างได้แก่ การให้บริการรถแท็กซี่ภายใต้ชื่อออลไทยแท็กซี่ (All Thai Taxi) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของนครชัยแอร์
โดยบริการแท็กซี่ดังกล่าวอิน เทล (Intel)ร่วมกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์นำชิพของอินเทล (Intel)ไปติดตั้งในอุปกรณ์เพื่อเก็บข้อมูลคนขับเช่น ปริมาณการเผาผลาญน้ำมันระหว่างขับและลักษณะการขับรถของคนขับ โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยังระบบฐานข้อมูลส่วนกลางของนครชัยแอร์เพื่อทำ การประเมินผลการขับของคนขับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและสามารถรู้สภาพรถ ยนต์เพื่อตรวจสอบได้ “บริการออลไทยแท็กซี่เปิดตัวเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนขับแท็กซี่ไม่สามารถปฏิเสธผู้โดยสารได้ซึ่งทำให้ การให้บริการของแท็กซี่อื่น ๆ ต้องปรับตัว
ซึ่งเป็นโครงการที่วางจุดคุ้มทุนไว้นานและการนำเทคโนโลยี IOT(Internet of Things) เข้ามาใช้ทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการให้บริการที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย”นายสนธิญากล่าว
ส่วนอีกหนึ่งโครงการที่อินเทล (Intel)นำ IOT(Internet of Things) เข้าไปร่วมดำเนินการคือ โครงการสมาร์ทซิตี้ (Smart City)ของเทศบาลเมืองแสนสุข ตำบลแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี ซึ่งหน่วยงานราชการมีแนวคิดทำให้เป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ (Smart City) โดยเริ่มจากเรื่องของการดูแลสุขภาพหรือเฮลท์แคร์เพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ ป่วยระหว่างอยู่ที่บ้าน
ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมในห้องต่างๆ เข้าออกห้องผ่านระบบประตูอัตโนมัติ ( Digital Door Lock ) การตรวจเช็คสุขภาพผ่านเครื่องมือแพทย์ประจำบ้าน ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลกับทางโรงพยาบาลโครงการนี้อินเทล (Intel)เข้าไปร่วมในการเชื่อมโยงการทำงานของทุกส่วนทั้งภาคราชการ การศึกษาและไอที รวมถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมในการใช้งาน IOT(Internet of Things) ซึ่งโครงการนี้หารือตั้งแต่ ต.ค. 2557 คาดจะเริ่มเชื่อมต่อระบบ IOT(Internet of Things) ในไตรมาส 3 และเปิดใช้งานจริงไตรมาส 4 ปีนี้
“การทำเรื่อง IOT(Internet of Things) ในตำบลแสนสุขเกิดขึ้นได้มีภาครัฐเป็นกุญแจสำคัญเพราะมีหลายหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เช่น ไฟฟ้า กรมเจ้าท่า กรมที่ดิน ซึ่งการดำเนินงานมีกฎระเบียบจากหลายส่วนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อผลัก ดันการทำงานในตำบลแสนสุขมีประชาชนราว 2 หมื่นครัวเรือนและมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาชายหาดบางแสนปีละ 1.7 ล้านคน ดังนั้นตำบลแสนสุขถือเป็นสมาร์ทซิตี้ต้นแบบของประเทศ ไทยเนื่องจากเรื่องสมาร์ทซิตี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรื่องเศรษฐกิจ ดิจิตอล” นายสนธิญา กล่าว
ส่วนประเทศในแถบอาเซียนที่นำ IOT(Internet of Things) เข้าไปใช้งานบ้างแล้วได้แก่ ประเทศอินโดนีเซียมีการใช้ IOT(Internet of Things) ในการทำบริการแท็กซี่เช่นเดียวกับในไทย ขณะที่ประเทศมาเลเซียอินเทล (Intel)ร่วมกับหน่วยงานเกษตรทดสอบการทำสมาร์ทฟาร์เมอร์(Smart Farmer)
หรือ การบริหารจัดการด้านการเกษตรอัจฉริยะโดยติดตั้งเซ็นเซอร์ (Sensor) ที่ประตูเปิด-ปิดน้ำอัตโนมัติและการใส่ปุ๋ยในแปลงข้าวโดยให้ชาวนามอนิเตอร์ ผ่านแท็บเล็ตว่าควรเปิด-ปิดประตูน้ำและใส่ปุ๋ยช่วงไหน ผลการทดลอง พบว่าเมื่อมีการบริหารจัดการแบบเป็นระบบทำให้ชาวนาในแปลงทดลองสามารถปลูก ข้าวได้มากถึงปีละ 3 ครั้งจากแต่ก่อนปีละครั้ง นายสนธิญา กล่าวว่า
วันนี้เรื่องของ IOT(Internet of Things) อาจดูเป็นเรื่องใหม่ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปไม่ต้องเข้าใจว่า IOT(Internet of Things) คืออะไรแต่ต้องรู้ว่าอะไรที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเช่น ออกจากบ้านใช้ระบบ กลอนประตูไฟฟ้า ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แล้วสามารถหาข้อมูลได้ว่าเส้นทางไหนรถไม่ติดหรือมีทางเลือกไหนบ้างจนกระทั่ง มาถึงที่ทำงานก็รู้ได้ว่าเราใช้พลังงานไฟฟ้ามากเกินไปหรือเปล่า
ซึ่งวันนี้คนที่ต้องเข้าใจเรื่อง IOT(Internet of Things) คือคนที่ต้องวางแผนวางระบบ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นช่วงแรกของการสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนเรื่องของ IOT(Internet of Things) อินเทล (Intel)ได้ร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนให้ความรู้เรื่อง IOT(Internet of Things) และประโยชน์การใช้งาน
โดยครึ่งปีหลังนี้อินเทล (Intel)เตรียมขยายบุคลากรด้าน IOT(Internet of Things) ตั้งแต่บุคลากรที่ดูแลเรื่องการออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมไปถึงพนักงานทางการตลาดที่จะช่วยดูแลเรื่องการใช้งาน IOT(Internet of Things) ว่าจะเข้าไปช่วยลดต้นทุนให้แก่บริษัทนั้น ๆ ได้ในส่วนไหนบ้างเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มองว่าจะมีการใช้งาน IOT(Internet of Things) เพื่อช่วยในการบริหารจัดการและลดต้นทุนคือ โรงงาน ห้างค้าปลีก สมาร์ทโฮม สมาร์ทซิตี้ และการคมนาคมขนส่ง
ต่อคำถามที่ว่าการใช้งาน IOT(Internet of Things) จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้อย่างไรบ้าง นายสนธิญา กล่าวว่า IOT(Internet of Things) เป็นฟันเฟืองหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่น ใช้ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตที่ได้จากส่วนต่าง ๆ มาวิเคราะห์สินค้าวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าเพื่อปรับ ปรุงสินค้าและวางแผนการตลาดเพื่อทำการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งวันนี้ จีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 45% มาจากบริการและท่องเที่ยว 42% มาจากการส่งออกและ 12-13% มาจากสินค้าเกษตรกรรมหากนำ IOT(Internet of Things) มาช่วยเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อบริหารจัดการลดต้นทุนให้ต่ำลงจะทำให้มี บริการที่ตรงกับความต้องการมีสินค้าที่ตรงกับความต้องการในขณะที่ต้นทุนถูก ลงแต่รายได้เพิ่มขึ้น เรื่องของ IOT(Internet of Things) อาจต้องใช้เวลาเพื่อสร้างความเข้าใจสักนิดแต่ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวจนไม่อาจจะเข้าใจ.
Cr.เดลินิวส์,Synergy | Google+ ,Synergy | YouTube ,