“โดรน (Drone)” หรือ หุ่นยนต์อัตโนมัติ หรือ “อากาศยานไร้คนขับ(UAV)” |
มารู้จักกับประวัติและความหมายของ “โดรน” กันคร่าวๆ และ คำว่า “แก็ดเจ็ตแห่งปี 2014″ อย่างโดรนกัน ถึงเรื่องราวอันน่าสนใจ และ ประโยชน์ที่เป็นมากกว่าของเล่น
ก่อนอื่น เดี๋ยวขอขยายความคำว่า “โดรน (Drone)” ซักนิดหนึ่งก่อนนะครับ เนื่องจากมันแปลได้หลายความหมายมาก กล่าวคือ โดรน หรือ หุ่นยนต์อัตโนมัติ หรือที่เรามักจะรู้จักมันส่วนใหญ่ว่า “อากาศยานไร้คนขับ(UAV)” ไม่ก็หุ่นตัวเล็กๆที่บินไปมาเหมือนในหนัง Sci-Fi (ที่บางตัวติดอาวุธ ไล่ยิงตูดพระเอกอย่างเมามัน) ใช่แล้ว เรามักจะรู้กันส่วนใหญ่ว่ามันคือ ”วัตถุบินได้อัตโนมัติ” นั้นเอง โอเค ต่อไปเราลองมาดูความหมายที่แท้จริงของมันกันครับ
“โดรน” เดิมทีแล้ว มันคือหุ่นยนต์อัตโนมัติชนิดหนึ่งที่ใช้ในทางทหารมาก่อน |
“โดรน” เดิมทีแล้ว มันคือหุ่นยนต์อัตโนมัติชนิดหนึ่งที่ใช้ในทางทหารมาก่อน มีหลายแบบเช่น หุ่นเครื่องบิน หุ่นรถ ยันหุ่นดำน้ำ จะเรียกว่า “หุ่นสังหาร” ก็ยังได้ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในตอนนั้น โดรนก็มีบทบาทแล้ว คือ ทำหน้าที่สำรวจพื้นที่แวดล้อมของข้าศึก โดยมีการติดกล้องความละเอียดสูง(ในสมัยนั้น) ไปสอดแนมพื้นที่เป้าหมายเพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์กัน หรือ ร้ายขึ้นมาหน่อย (ไม่หน่อยละ) คือติดอาวุธสงครามอย่าง จรวดหรือขีปนาวุธถล่มข้าศึกจากระยะไกลซะเลย ข้อดีของมันคือ มันไม่ต้องใช้คนจริงไปเสี่ยงขับเข้าแดนศัตรู แต่ใช้การบังคับจากระยะไกลเลย(ข้อเสียคือแพง) จนเป็นเหตุให้โดรนถูกเรียกว่าอาวุธสังหาร(ที่ไร้หัวใจ) มาจนถึงทุกวันนี้
TDR-1 “assault drone” โดรนสอดแนมที่เคยใช้ในสมัยสงครามโลก ของอเมริกา |
ทีนี้เราก็ได้รู้จักภูมิเก่าของ โดรน กันแล้ว จะเห็นได้ว่ามันไม่ใช้วิทยาการใหม่อะไรเลย เพราะมันมีอายุเกือบ 100 ปีแล้ว หรือปี 1915 นู้น ตั้งแต่สมัยปู่เรายังขี่มอเตอร์ไซค์ยกล้อได้เลยมั่ง ต่อไปเราลองมารู้จักโดรนในสมัยนี้กัน
Drone (โดรน) “มัลติโรเตอร์” หรือ “มัลติคอปเตอร์” |
จากรูปคงคุ้นๆกันแน่นอนว่า “นี้มันโดรนหนิ”
ครับ ไม่ผิดหรอกครับ มันคือโดรนนั้นแหล่ะ แต่แค่ครึ่งเดียวนะ
อ่าวไหงว่างั้นล่ะ ? จริงๆมันมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “มัลติโรเตอร์” หรือ “มัลติคอปเตอร์”
นั้นเอง (สังเกตุจากจำนวนมอเตอร์ที่ใช้)
แล้วทำไมเจ้านี้ยังมีชื่อว่าโดรนติดอยู่ ?
ก็เพราะมันมีความสามารถในตั้งค่าบินอัตโนมัติตามที่เรากำหนดได้
นอกจากการบังคับวิทยุแล้ว เรายังบังคับผ่านคอมฯ หรือ
แม้กระทั้งสมาร์ทโฟนก็ยังได้อีก และตอนนี้ มันก็ไม่ใช่
“อาวุธสังหารของทหาร” อีกต่อไป แต่มันกลายเป็น “ของเล่น”
ที่ไร้พิษสงปราศอาวุธไปแล้ว การที่มันมาถึงมือเราได้
ก็เพราะ เมื่อเวลาผ่านไป บ้านเมืองสงบสุขขึ้น
ก็ถึงเวลาที่จะเอาเทคโนโลยีทางการทหารมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคน
ทั่วไป เช่นเดียวกันกับ “อินเทอร์เน็ต” นั้นเอง
จะเรียกของเล่นก็กระไรอยู่ เรียกว่า “เครื่องมือทำมาหากินชนิดหนึ่ง”
ดีกว่า ทุกคนคงเคยเห็นภาพวิดีโอมุมสูงสวยๆจากในหนัง
ภาพนิ่งมุมสูงในอินเตอร์เน็ต หรือภาพเหตุการณ์มุมสูงจากสำนักข่าวต่างๆ ซึ่ง
ถ้าหากใครจำภาพผู้ชุมนุมจากมุมสูงที่เคยโด่งดังเมื่อปึ 2013 ได้
นั้นแหล่ะครับ มันคือประโยชน์ของเจ้านี้เอง (บางที่
เอามาใช้สำหรับส่งของระยะไกลก็มี เช่น Google Amazon เป็นต้น)
นอกจากเอามาทำงานแล้ว เรายังเอามาบังคับเล่นเพื่อความเพลิดเพลินก็ยังได้
อารมณ์ไม่ต่างจาก เครื่องบินบังคับเลย (แถมบินง่ายกว่าด้วย) แต่เดิมแล้ว
เจ้านี้มีราคาที่แพงเอาเรื่องสุดๆ ในตอนนั้นมักจะใช้กันในหมู่กองถ่าย
หรือไม่ก็สำนักข่าว มากกว่า แต่เดี๋ยวนี้มันเริ่มมีราคาถูกลงขึ้นมาบ้างแล้ว
จนคนทั่วไปสามารถครอบครองได้ บวกกับผู้ผลิตให้ความสนใจมากขึ้น
โดรนจึงเป็นที่รู้จักมากขึ้น จนกลายเป็นที่มาของคำว่า “แก็ดเจ็ตแห่งปี
2014″ นี้เอง (จริงๆมันก็มีมานานแล้ว แต่เพิ่งมาบูมเอาตอนนี้
เพราะราคาที่ถูกลงนั้นเอง) ตอนนี้ก็มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะแล้ว
มีการเอาโดรนหรือ มัลติโรเตอร์ มาแต่งซะจนมีสภาพไม่ต่างรถ “TAMIYA” เลย หากใครหากสนใจ อยากศึกษา หรืออยากหากลุ่มเล่นด้วย ให้ไปที่เว็บ rcthai นี้เลย มีคนเก่งๆพร้อมให้คำแนะนำเสมอครับ
สำหรับครั้งนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ หากมีโอกาสผมจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับ โดรน หรือ มัลติโรเตอร์ กันอีกครั้ง เนื่องจากมันมีรายละเอียดค่อนข้างมากทีเดียว เดี๋ยวจะยาวซะก่อน ก่อนไปขอทิ้งท้ายไว้ว่า
ตัวอย่างภาพถ่ายจากโดรน Drone |
แม้ตอนนี้จะยังไม่มี กฎหมายควบคุมอย่างเป็นทางการ สำหรับอุปกรณ์ตัวนี้ แต่ตอนนี้ทางรัฐบาลกำลังออกกฎหมายควบคุมการใช้โดรน (Drone)
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงได้สั่งการให้กรมการบินพลเรือน ออกประกาศเพิ่มเติม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล การขออนุญาตการใช้และปล่อยอากาศยานไร้คนขับ หรือ "โดรน" เพื่อป้องกันไม่ให้การใช้งาน ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยด้านการจราจรทางอากาศ และการนำไปใช้งานที่เป็นการไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ด้านนายสมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน กล่าวว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้จะออกประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์การขออนุญาตใช้โดรน เบื้องต้นจะออกมาตรการกำกับดูแลการใช้งานโดยมี
เกณฑ์สำคัญ 3 ด้าน คือ
1. สมรรถนะ จะกำหนด น้ำหนัก ขนาด รวมทั้งปริมาณเชื้อเพลิงที่บรรจุภายในโดรนต้องบินในระยะที่ไม่นานเกินกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้รบกวนจราจรทางอากาศ
2. ภารกิจ จะไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปนำโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพขึ้นบิน เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล จะอนุญาตให้โดรนติดตั้งกล้องไปใช้งานได้ เฉพาะธุรกิจที่มีความจำเป็นในการถ่ายภาพ เช่น ธุรกิจประเภทสื่อสารมวลชน หรือธุรกิจการถ่ายทำภาพยนต์
3. ระดับความสูง กำหนดห้ามโดรนบินในระดับความสูงที่เกินกว่า 500 ฟุต และต่ำเกินกว่า 50 ฟุตจากระดับพื้นดิน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบินพาณิชย์ และห้ามบินต่ำเกินไปจนส่งกระทบต่อบ้านเรือนและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งจะกำหนดให้โดรนที่บินจะต้องยื่นขออนุญาตกระทรวงคมนาคม ก่อนขึ้นบินทุกครั้ง หากพบว่าไม่ขออนุญาตจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โทษจำคุก 1 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Cr.ไทยรัฐ,ARIP,กล่อง Android