ปั่นจักรยาน ในกรุงเทพฯ |
แม้กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ให้ความสำคัญและออกเป็นผู้นำการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาให้ปั่นจักรยานอย่าง ต่อเนื่อง เห็นได้จากตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมากระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้ มีกิจกรรมและงานเกี่ยวจักรยานมากมาย อาทิ ทริป ประเพณี กทม.-หัวหิน ระยะทาง 180 กิโลเมตร ที่มีประชาชนทุกเพศทุกวัน โดยเฉพาะเยาวชน มาร่วมกิจกรรมมากกว่า 3,000 คน หรือกิจกรรมแรลลี่จักรยาน "ตามหายักษ์" รอบเกาะรัตนโกสินทร์ที่เพิ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ รวมทั้งงานและมหกรรมจักรยานมากมาย ซึ่งล้วนแล้วประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี ทั้งหมดทั้งมวลก็ต้องความดีความชอบให้แก่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ที่สนับสนุน
ปั่นจักรยาน รอบเกาะรัตนโกสินทร์ |
"ทพ.กฤษดา เรืองอารีรัชต์ "ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.ต้องการเห็นภาพคนไทยหันมาใช้จักรยานในวิถีชีวิตมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ จึงได้พยายามผลักดันและส่งเสริมให้มีนโยบายที่เอื้อต่อผู้ใช้จักรยานมาอย่าง ต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
โดยกิจกรรมต่างๆ ที่ สสส.สนับสนุนหวังจุดประกายให้คนสนใจปั่นจักรยานในวิถีชีวิตมากยิ่งขึ้น นอกจากทุกคนจะมีสุขภาวะดีแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้พื้นที่อื่นๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเกิดเส้นทางจักรยานที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยอีกด้วย
“ผู้จัดการ สสส.” ยังกล่าวถึงแนวทางส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันในโครงการเมืองปั่น ได้ เมืองปั่นดี สนองนโยบายส่งเสริมการใช้จักรยานของรัฐบาลว่า ล่าสุด สสส.ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่ายจัดทำแผนการส่งเสริมการปฏิบัติในแต่ละจังหวัด โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ส. ได้แก่ "1 สวน 1 เส้น 1 สนาม"
ขี่จักรยานในสวนสาธารณะ รอบกรุงเทพฯ |
"สวน คือ สวนสาธารณะที่ให้เอื้อต่อการใช้จักรยาน เด็กๆ สามารถมาหัดขี่จักรยานได้ เส้น คือ ให้แต่ละจังหวัดกำหนด 1 เส้นทางที่สนองต่อผู้ใช้ประจำ เพราะเราต้องการให้มีเส้นทางจราจรในจังหวัดที่สามารถขี่จากบ้านไปโรงเรียน ได้ ซึ่งจะขอให้มีการนำร่องจังหวัดละ 1 เส้นทาง และสนาม ที่มีอยู่แล้วในทุกจังหวัด อาทิ สนามกีฬา สนามบิน หรือสนามของหน่วยราชการให้จัดแบ่งให้เป็นเลนปั่นจักรยานเพื่อการออกกำลังกาย
“ทพ.กฤษดา” เล่าต่อว่า ต่อไปจักรยานจะอยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน ทุกฝ่ายก็หวังจะเห็นภาพการใช้จักรยานที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับการดำเนินการครั้งนี้ในเบื้องต้นจะมีการนำร่องในอีสานใต้ 8 จังหวัด และตอนนี้ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาก็ได้นำเรื่องนี้ลงไปทำเรื่องการ ปั่นเพื่อท่องเที่ยวแล้ว
ขณะที่ “ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์” รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยังกล่าวถึงความสำคัญของการปั่นจักรยานว่า นอกจากจะทำให้เราได้มองบรรยากาศรอบๆ เส้นทาง เห็นอะไรต่างๆ อย่างที่ไม่เคยเห็น ได้สูดอากาศที่สดชื่น ซึ่งสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพนั่นก็คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการปั่นจักรยานก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ลด น้ำหนัก ห่างไกลโรคและความเครียดลงได้
ขณะที่ “เอิ๊ก” เมธี จันทร์ดี นักศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ กล่าวว่า ปกติปั่นจักรยานเป็นประจำเพื่อออกกำลังกาย เพราะเล่นกีฬาประเภทอื่นไม่ค่อยได้ เพราะน้ำหนักตัวมาก นอกจากปั่นเองเป็นการส่วนตัวแล้ว เวลาว่างยังไปร่วมทริปต่างๆ ที่ชมรมจัดขึ้นเป็นประจำ เพราะทำให้เราได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และไม่ไปหลงใหลในอบายมุขต่างๆ ยังได้สังคมและเพื่อนใหม่ๆ ที่ดีขึ้นด้วย
"หากเป็นไปได้อยากให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองจักรยาน มีพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น และอยากให้ผู้ใช้รถยนต์หรือรถประเภทอื่นให้ความสำคัญกับพวกเราด้วย มิใช้มองเป็นสิ่งแปลกปลอมบนท้องถนน” เยาวชนที่ใช้จักรยานเป็นประจำในกรุงเทพฯ ระบุ
เลนจักรยาน ใน สุวรรณภูมิ |
ล่าสุดในปี 2558 ได้เร่งพัฒนาเส้นทางจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ดำเนินการปรับปรุงเส้นทางจักรยานจำนวน 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 8 กิโลเมตร ได้แก่ ถนนมหาไชย ถนนตะนาว ถนนกัลยาณไมตรี ถนนสนามไชย ถนนท้ายวัง ถนนมหาราช ถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระธาตุ ถนนราชินี ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ และถนนบวรนิเวศ
ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงด้านกายภาพ อาทิ ปรับผิวจราจรให้มีความเรียบ ปรับระดับรางรับน้ำและฝาท่อระบายน้ำ ปรับช่องทางเดินรถให้มีความเหมาะสม ปรับช่องทางจักรยานให้มีความชัดเจน เปลี่ยนตะแกรงฝาบ่อพักเป็นแนวขวาง อีกทั้งตีเส้นจราจรช่องทางจักรยานเป็นเส้นคู่ และทาสีพื้นผิวช่องจักรยานเป็นสีเขียว ติดตั้งสัญลักษณ์ทางจักรยานและอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย เป็นต้น
ส่วนในระยะที่ 2 จะดำเนินการปรับปรุงเพิ่มอีก 5 เส้นทาง ในปี 2558 ได้แก่ ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนอรุณอมรินทร์ ถนนพระสุเมรุ (ต่อขยาย) ถนนสนามไชย (ต่อขยาย) และทางเท้าถนนราชดำเนิน
นอกจากนี้ กทม.ยังได้พัฒนาเส้นทางจักรยานภายในสวนสาธารณะต่างๆ เพื่อเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้ประชาชน หรือคนในครอบครัวมาใช้กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้งเกิดความหลากหลายด้านนันทนาการ อาทิ การจัดทำเส้นทางจักรยานรอบแก้มลิงบึงมะขามเทศและสะแกงามสามเดือน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
หากทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและเคารพผู้ใช้จักยาน ก็เชื่อว่าเมืองหลวงแห่งนี้จะกลายเป็นนครแห่งสองล้อของผู้รักสุขภาพ รวมทั้งเด็กและเยาวชนก็จะได้ซึมซับสิ่งดีๆ เหล่านี้ติดตัวไปด้วย.
Cr.ไทยโพสต์