14 ก.ค. 2559

มีอะไรใหม่บน Facebook

ปีนี้มีอะไรใหม่บน Facebook

ปีนี้มีอะไรใหม่บน Facebook
        ปีนี้   เครือข่ายสังคมอันดับ 1 ของโลกอย่าง “เฟซบุ๊ก” (Facebook) ถูกจับตามองใกล้ชิดในหลายวงการ เพราะการประกาศทดสอบระบบมากมายที่เชื่อกันว่าจะสามารถต่อยอดธุรกิจของเฟซบุ๊ก (Facebook)ในตลาดใหม่ได้อย่างยั่งยืน  ไม่ว่าจะเป็น Messenger  ฯลฯ

      ท่ามกลางนักวิเคราะห์ที่ฟันธงว่า สิ่งที่เฟซบุ๊ก (Facebook)ทำและสถิติที่สรุปได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี  นี้จะนำไปสู่เม็ดเงินรายได้เข้ากระเป๋าเฟซบุ๊ก (Facebook)มูลค่าหลักพันล้านแน่นอน
     
       ที่ฮือฮาที่สุดต้องยกให้การเปิดเสรีแชตผ่านแอปพลิเคชัน “แมสเสนเจอร์” (Messenger) โดยไม่ต้องมีบัญชีเฟซบุ๊ก (Facebook) หมากเกมนี้ของเฟซบุ๊กมีนัยซ่อนอยู่เพราะการเปิดเสรีจะทำให้แอป Messenger นั้นมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นแตะหลักพันล้านคน ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้นับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐในอีก 5 ปี ผ่านบริการชำระเงินในแอป Messenger เมือซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ หรือ ผ่านตามห้างสรรพสินค้า ด้วยระบบบาร์โค้ด (Barcode) ผ่านเครื่องอ่านบาร์โค้ด
     
       ฮือฮารองลงมาคือ เฟซบุ๊กประกาศลุยให้บริการ “เฟซบุ๊ก ไลต์” (Facebook Lite) เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้เครือข่าย 2G ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะมีผลช่วยให้ฐานผู้ใช้ และสถิติการชมสื่อบนเฟซบุ๊กยิ่งขยายตัวมากขึ้นอีก โดยเฉพาะยอดชมวิดีโอที่กำลังไล่ตีตื้นเบอร์ 1 อย่างยูทิวบ์ (YouTube) เข้าไปทุกที
     
       นอกจากนี้ ยังมีการประกาศทดสอบระบบกรอกข้อมูลการตลาดอัตโนมัติที่จะดึงข้อมูลประวัติ ของผู้ใช้มาเติมโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ ซึ่งไม่ใช่เพียงข้อมูลอย่างอีเมล ชื่อ หรือวันเกิดของตัวเอง แต่ยังมีโอกาสที่ข้อมูลเจาะลึกเช่นตำแหน่งงาน ชื่อบริษัทที่ทำงาน รวมถึงรหัสไปรษณีย์ จะถูกเติมลงในแบบฟอร์มแบบอัตโนมัติด้วย การทดสอบระบบนี้เกิดขึ้นท่ามกลางข่าวพัฒนาการอัจฉริยะของระบบวิเคราะห์ ข้อมูลตัวตนบนเฟซบุ๊ก (Facebook) รวมถึงการระบุตัวตนผู้ใช้ได้แม้จะเห็นใบหน้าเพียงเสี้ยวเดียว
     
เปิดเสรีแชต Messenger
     
       25 มิถุนายน ที่ผ่านมา เจ้าพ่อเครือข่ายสังคมอันดับ 1 ประกาศเปิดเสรีให้ผู้ใช้สามารถลงชื่อใช้งานแอปพลิเคชันแชต “Messenger” ได้โดยไม่ต้องใช้บัญชีเฟซบุ๊ก (Facebook) เพียงใช้เบอร์โทรศัพท์ก็สามารถส่งข้อความสนทนากับเพื่อนฝูงได้ทั่วโลก
     
       นักสังเกตการณ์เชื่อว่า เฟซบุ๊ก (Facebook)กำลัง พยายามเพิ่มจำนวนผู้ใช้แอปพลิเคชันแชต Messenger ที่ให้บริการแบบแยกเดี่ยว (standalone) อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นไปตามแผนที่ซีอีโอผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กเคยประกาศว่า ต้องการให้ Messenger เป็นประตูเชื่อมต่อร้านค้าปลีก ร้านอาหาร รวมถึงธุรกิจอื่นๆ กรณีที่มีการทานช็อปตามร้านต่าง ๆ ผ่านเครื่องรูดบัตร หรือ เครื่องอ่านบัตร หรือซื้อสินค้าผ่านเครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode)
     
       ก่อนการเปิดเสรีแอปพลิเคชัน Messenger มีผู้ใช้ราว 700 ล้านคน (รวมยอดผู้ใช้รายใหม่ 100 ล้านคนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาแล้ว) จุดนี้เชื่อว่าการเปิดเสรีจะทำให้ Messenger มีฐานผู้ใช้เข้าใกล้หลัก 1 พันล้านอย่างรวดเร็ว
     
       ถามว่าทำไมเฟซบุ๊ก (Facebook)ต้อง เร่งมือขยายฐานผู้ใช้ คำตอบคือ กลยุทธ์หารายได้ที่เฟซบุ๊กบอกใบ้ไว้ต่อสังคมเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ครั้งนั้น เฟซบุ๊กเปิดบริการรับส่งเงินระหว่างผู้ใช้ (peer-to-peer payment) บนแอปพลิเคชัน Messenger แบบฟรีไม่มีค่าธรรมเนียมโอน ซึ่งเรียกคะแนนจากผู้ใช้อย่างเต็มเปี่ยม
     
       ระบบโอนเงินบน Messenger ไม่เพียงทำให้การซื้อสินค้า และบริการบน Messenger เกิดขึ้นได้ง่ายเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ับริการผ่านออนไลน์ หรือช็อปปิงตามร้านค้าผ่านเครื่องยิงบาร์โค้ด (Barcode) แต่ยังช่วยให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันได้ลืมตาอ้าปากผ่านการสร้างสรรค์แอปพลิเคชันสำหรับ Messenger จุดนี้เฟซบุ๊ก (Facebook)เคย ประกาศในเดือนมีนาคมว่า จะพยายามชักจูงให้แบรนด์และธุรกิจใช้ Messenger เป็นช่องทางในการออกใบเสร็จรับเงิน แจ้งข้อมูลสถานะการจัดส่งสินค้า รวมถึงการจัดการงานบริการลูกค้าที่ทั่วถึง
     
       หากเฟซบุ๊ก (Facebook)สามารถ แทรกตัวเพื่อให้บริการสุดยอดช่องทางสื่อสารระหว่างธุรกิจ และผู้บริโภคได้สำเร็จ เฟซบุ๊กก็จะยิ่งมีโอกาสสร้างเงินรายได้มากขึ้นตามไปด้วย จุดนี้ธนาคารแห่งชาติเยอรมนี (ธนาคาร Deutsche) ได้คาดการณ์ว่า แอป Messenger นั้นจะมีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 พันล้านคน และสามารถสร้างรายได้ 9-10 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ.2563
     
       ธนาคาร Deutsche ประเมินว่า บริการทางการเงินบน Messenger สามารถทำเงินได้มากกว่า 49 ล้านเหรียญสหรัฐแล้วในวันนี้ แต่ในปี พ.ศ.2563 จะทำเงินได้ 4.224-4.827 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 17% ของรายได้จากโฆษณาของเฟซบุ๊ก (Facebook)ทั้งหมด

Facebook เพื่อชาวเน็ต 2G
     
       หลังจากมีแผนส่ง Facebook Lite ลงเจาะประเทศกำลังพัฒนา 8 ประเทศ อย่าง บังกลาเทศ เนปาล ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ ซูดาน ศรีลังกา เวียดนาม และซิมบับเว เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ล่าสุด โครงการนี้ทยอยเปิดตัวสู่ระดับโลกต่อเนื่อง โดยในผู้ใช้ในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา ละตินอเมริกานั้นสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ก่อนชาวยุโรป
     
       ข้อมูล ระบุว่า Facebook Lite นี้มีการขยายสู่ประเทศอินเดีย และฟิลิปปินส์แล้ว เฉพาะอินเดีย เฟซบุ๊กมีฐานผู้ใช้มากกว่า 125 ล้านคน และ 90% เป็นผู้ใช้งานผ่านอุปกรณ์พกพา จุดนี้แม้โลกจะมีเครือข่าย 4G แล้ว แต่เครือข่าย 2G ที่ช้ากว่าก็ยังเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยม



       เฟสบุ๊ค ไลฟ์ (facebook live) สำหรับสมาร์ทโฟน Android กำลังจะรองรับฟีเจอร์ในการสตรีมมิ่งวิดีโอถ่ายทอดสด หรือ เฟสบุ๊ค ไลฟ์ (facebook live)  ภายในเร็ว ๆ หน้านี้ โดยจะเริ่มที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนแล้วจึงขยายออกไปยังประเทศอื่นๆต่อไป ฟีเจอร์ เฟสบุ๊ค ไลฟ์ (facebook live)  จะทำให้ผู้ใช้สามารถถ่ายอดวิดีโอแบบสดๆผ่านทางแอป เฟสบุ๊ค ไลฟ์ (facebook live) ได้ ซึ่งได้เปิดให้บริการฟีเจอร์ใน ใน iOS กว่า 30 ประเทศทั่วโลก

       ดูเหมือนว่าผู้คนกำลังให้ความสนใจฟีเจอร์ดังกล่าวของ เฟสบุ๊ค ไลฟ์ (facebook live) มากในเดือนนี้ เพราะด้วยฟีเจอร์นี้ จะทำให้ News Feed ของ เฟสบุ๊ค ไลฟ์ (facebook live) ยิ่งทวีความเป็นรายงานสดมากขึ้นไปอีก ทาง เฟสบุ๊ค ไลฟ์ (facebook live) ได้กล่าวว่า มีผู้ใช้ เฟสบุ๊ค ไลฟ์ (facebook live) สนใจรับชมวิดีโอที่ถ่ายทอดสดเป็นระยะเวลารวมกันนานกว่าวิดีโอที่ไม่ได้ถ่ายทอดสดถึง 3 เท่า โดยรับชมผ่าน เฟสบุ๊ค ไลฟ์ (facebook live) Live และผู้ชมกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ใช้ Android
     
       ผู้บริหารเฟซบุ๊ก (Facebook)ประเมิน ว่า ปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์พกพาผ่านเครือข่าย 2G นั้นมีจำนวนมากกว่า 875 ล้านคนทั่วโลก จุดนี้ทำให้เฟซบุ๊กต้องการสร้างประสบการณ์ยอดเยี่ยมเพื่อเข้าถึงคนกลุ่มนี้
     
       แม้ Facebook Lite จะไม่รองรับคุณสมบัติที่ต้องมีการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เช่น วิดีโอ แต่ขณะนี้สถิติการชมวิดีโอบนเฟซบุ๊กนั้นกำลังขยายตัวสุดขีด ซึ่งไม่แน่ Facebook Lite อาจจะเป็นฐานสำคัญที่ทำให้เฟซบุ๊กมียอดใช้บริการคุณสมบัติสูงในอนาคตก็ได้
     
       จากการสำรวจเมื่อกลางเดือนมิถุนายนพบว่า แม้ยอดชมวิดีโอออนไลน์บนยูทิวบ์จะยังเป็นอันดับ 1 ด้วยตัวเลขทะลุหลัก 3 ล้านล้านครั้งในปีนี้ แต่ยอดชมบนเฟซบุ๊ก (Facebook)กำลังมีแนวโน้มทะยานสู่หลัก 2 ล้านล้านครั้ง เรียกว่าเฟซบุ๊ก (Facebook)มีโอกาสครองยอดชมวิดีโอออนไลน์ 2 ใน 3 ของยอดชมวิดีโอบนยูทิวบ์
     
       บริษัทวิจัยตลาดแอมแปร์ อนาลไลสิส (Ampere Analysis) พบว่า ยอดชมวิดีโอบนยูทิวบ์ถูกมองว่าเด่นเฉพาะในแง่ปริมาณ หรือ volume แต่ยอดชมวิดีโอบน Facebook นั้นโดดเด่นเรื่องคุณภาพมาก เนื่องจากผู้ชมทุกคนจะต้องลงชื่อใช้งาน หรือ log in แน่นอนว่าเหล่าแบรนด์จะมีข้อมูลของผู้ชมบนเฟซบุ๊กมากกว่าบนยูทิวบ์
     
ข้อมูลสะพัดจาก Facebook
     
       ที่ผ่านมา นักการตลาดจำนวนมากต้องสร้างระบบเพื่อดึงให้ชาวออนไลน์เข้ามาลงทะเบียน สำหรับการรับส่งข่าวสารในอนาคต ล่าสุด เฟซบุ๊ก (Facebook)ริ เริ่มทดสอบระบบดึงข้อมูลชื่อ และอีเมลแอดเดรสของผู้ใช้แบบอัตโนมัติ ทำให้นักการตลาดทั่วโลกกำลังจะมีวิธีรวบรวมข้อมูลของผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น กว่าเดิม
     
       เฟซบุ๊ก (Facebook)ทดสอบ ระบบนี้ในโฆษณาบนอุปกรณ์พกพา ชื่อของบริการคือ “ลีด แอดส์” (lead ads) นักการตลาดจะสามารถใช้ระบบนี้ในกรณีที่ขอให้ผู้ใช้ลงชื่อเพื่อรับอีเมล หรือโทรศัพท์สำหรับแจ้งข้อมูลของสินค้า และบริการเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กคลิกสมัครสมาชิก หรืออ่านโฆษณาที่ผูกพ่วงกับแบบฟอร์มอัตโนมัติ ระบบของเฟซบุ๊กจะเป็นผู้เติมแบบฟอร์มนั้นให้อัตโนมัติโดยดึงข้อมูลจากประ วัติเฟซบุ๊กโปรไฟล์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ยินยอมเปิดเผยอยู่แล้ว เช่น ชื่อจริง อีเมลแอดเดรส เบอร์โทรศัพท์ และรหัสไปรษณีย์
     
       แต่ด้วยความที่รูปแบบของแบบฟอร์มที่จะสามารถกรอกข้อมูลได้อัตโนมัตินั้นมี หลากหลาย ซึ่งนักการตลาดจะสามารถเลือกรูปแบบที่เหมาะต่อโฆษณาโมบายของตัวเองที่ลงไว้ กับเฟซบุ๊ก (Facebook)ได้อย่างเสรี นี่เองที่ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า ข้อมูลอื่น เช่น ประเทศที่อยู่ ชื่อบริษัท ชื่อตำแหน่งงาน รวมถึงสถานภาพอื่นอาจจะถูกกรอกลงในแบบฟอร์มแบบอัตโนมัติได้ด้วย
     
       การทดสอบนี้สะท้อนว่า เฟซบุ๊ก (Facebook)กำลัง พยายามตอบโจทย์นักการตลาดที่ใส่ใจต่อกลุ่มผู้คลิกชมโฆษณาเป็นพิเศษ ซึ่งจะเป็นคนละกลุ่มกับนักการตลาดที่ให้น้ำหนักต่อยอดชมโฆษณาแบบผ่านตาเพื่อ สร้างแบรนด์เป็นหลัก จุดนี้ข้อมูลระบุว่า ปีที่ผ่านมา นักโฆษณาที่เน้นกลยุทธ์ตอบสนองลูกค้ารายคน มีการลงโฆษณาคิดเป็นสัดส่วน 59% ของยอด 5.01 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐที่สะพัดในวงการโฆษณาดิจิตอลแดนลุงแซม
     
       สถิติเหล่านี้สะท้อนคุณค่าของข้อมูลผู้ใช้ เหตุผลนี้ทำให้เฟซบุ๊ก (Facebook)ประกาศ เพิ่มความสามารถให้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กต่อเนื่องตลอดเวลา สำหรับครึ่งปีแรกปีที่ผ่านนี้ เฟซบุ๊กทดสอบอัลกอริธึมใหม่ที่สามารถวิเคราะห์ความสนใจของผู้ใช้งานแต่ละราย บนคอนเทนต์หลากหลาย ขณะเดียวกัน ก็พัฒนาระบบวิเคราะห์ภาพ ทำให้เฟซบุ๊กสามารถระบุตัวตนผู้ใช้ได้แม้จะเห็นภาพใบหน้าผู้ใช้เพียงครึ่ง เดียว
     
       เพื่อทดสอบอัลกอริธึมดังกล่าว ทีมงานของเฟซบุ๊ก (Facebook)ได้ รวบรวมภาพบุคคลจากเว็บไซต์ฟลิกเกอร์ (Flickr) จำนวน 40,000 ภาพมาให้ระบบทำการวิเคราะห์ และพบว่า ความแม่นยำในการระบุตัวบุคคลนั้นสูงถึง 83% แม้ว่าภาพบางภาพจะเห็นใบหน้าไม่ครบ ภาพไม่ชัด หรือเป็นภาพใบหน้าด้านข้าง แต่อัลกอริธึมก็สามารถหาเอกลักษณ์ของบุคคลในภาพเพื่อมาวิเคราะห์ได้อย่างถูก ต้อง เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือทรงผม
     
       ...ครึ่งปีแรกผ่านไปแล้ว ครึ่งปีที่ผ่านมา ของเฟซบุ๊กสนุกแน่นอน.. คงรอดูว่าจะมีอะไรใหม่ ๆ บน Facebook

Cr.ผู้จัดการ