ในช่วงที่ผ่านมา อากาศยานไร้คนขับ (drone)หรือโดรนในประเทศไทย ได้รับความสนใจขึ้นมาก ดังจะเห็นได้จากการนำอากาศยานไร้คนขับ (drone)มาใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การถ่ายภาพในมุมสูงเพื่อความบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หรือการลาดตระเวนในทางทหาร ทว่าการใช้งานในภาคสนามเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยังไม่เคยมี นักวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ (drone)ของไทยจึงพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ (drone)ในรูปแบบใหม่ที่นอกจากจะใช้ประโยชน์ ได้เป็นอย่างดี ยังบินไปยังเป้าหมายได้อย่างเฉพาะเจาะจงดีกว่าอากาศยานไร้คนขับ (drone)ทั่วไป
ด้วยเหตุนี้ นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ผู้คลุกคลีอยู่กับวงการอากาศยานไร้คนขับมานานนับ 17 ปีตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม จึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อทำให้อากาศยานไร้คนขับ (drone)ที่มีขายในท้องตลาดทั่วไปสามารถใช้งาน ได้เฉพาะทางยิ่งขึ้น พัฒนาซอฟแวร์ต่อยอดเอาง่ายกว่า นักวิจัยไทยยกระดับอากาศยานไร้คนขับ (drone)จีนด้วยโปรแกรมบินตามพิกัด แชร์โลเคชันปั๊บบินปุ๊บ
เตรียมประยุกต์ใช้กับการขนส่งเครื่องมือแพทย์ในเหตุขับขัน นำร่องใช้แล้วใน 5 หน่วยงานภาครัฐฯ โดยตั้งเป้าให้เป็นอากาศยานไร้คนขับ (drone)ใช้งานทางการแพทย์, อากาศยานไร้คนขับ (drone)ใช้งานทางการทหาร และอากาศยานไร้คนขับ (drone)ใช้งานด้านการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการใช้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์และความมุ่งมั่นนานนับ 8 เดือนเพื่อเปิดซอร์สโค้ดของอากาศยานไร้คนขับ (drone)แล้วเพิ่มซอฟแวร์ RCSA Location ลงไปเพื่อให้อากาศยานไร้คนขับ (drone)สามารถบินไปตามพิกัดที่ระบุไว้ได้ โดยอากาศยานไร้คนขับ (drone) ส่วนใหญ่ที่นำมาพัฒนาเป็นอากาศยานไร้คนขับ (drone)สัญชาติจีนที่ซื้อมาในราคาตัวละ 120,000 บาทด้วยทุนของตัวเอง
นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า อากาศยานไร้คนขับ (drone)ที่สามารถบินไปได้ตามพิกัดจีพีเอสยังไม่มีในประเทศ อากาศยานไร้คนขับ (drone)ที่เขาพัฒนาขึ้นจึงถือเป็นแห่งแรกในไทย เพราะอากาศยานไร้คนขับ (drone)ทั่วไปจะบินไปได้ด้วยการป้อนคำสั่งของเจ้าหน้าที่ผ่านหน้าจอแสดงผล การบินทางอินเทอร์เน็ตหรือการระบุพิกัดแบบคร่าวๆ ทำให้การลงจอดยังไม่ตรงจุดมากพอ ในขณะที่อากาศยานไร้คนขับ (drone)นี้จะสามารถทำได้เพราะมีการกำหนดตำแหน่งด้วยพิกัดละติจูดและลอง ติจูดของพื้นที่เป้าหมาย
โดยหลังจากมีการป้อนพิกัดเข้าสู่ระบบในเวลาไม่ถึง 1 นาทีอากาศยานไร้คนขับ (drone)จะเริ่มออกบินไปยังสถานที่นั้น และลงจอดเพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างแม่นยำในระดับตารางเมตร ทำให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อส่งสิ่งของในลักษณะการกู้ภัย หรือการส่งเครื่องมือแพทย์สำหรับการปฐมพยาบาลเช่น เครื่องปั๊มหัวใจขนาดเล็กที่มีน้ำหนักประมาณ 220 กรัม โดยอากาศยานไร้คนขับ (drone) 1 ตัวจะสามารถบรรทุกสิ่งของได้ประมาณ 400 กรัม
อากาศยานไร้คนขับ (drone)ที่ใช้กันอยู่จะบินได้ก็ต่อเมื่อผู้บังคับรู้สถานที่ที่จะไปลงจอดแต่ ถ้าเราไม่รู้ล่ะจะทำอย่างไร สมมุติว่ามีคนหลงอยู่กลางป่า เราไม่รู้เลยว่าเขาอยู่ป่าส่วนไหน แต่ถ้ามือถือของเค้ายังสามารถใช้งานและแชร์โลเคชั่นมายังศูนย์ควบคุมอากาศยานไร้คนขับ (drone)ได้ อากาศยานไร้คนขับ (drone)ก็จะบินไปให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น หรือถ่ายรูปกลับมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่การเดินทางเข้าไปช่วยของเจ้าหน้าที่
เช่นเดียวกันกับประโยชน์ทางการแพทย์สมมติมีอุบัติเหตุรถชนกัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก รถพยาบาลเข้าถึงตัวผู้ป่วยไม่ได้และต้องการเครื่องปั๊มหัวใจฉุกเฉิน คนที่อยู่บริเวณนั้นสามารถโทรมาที่ศูนย์ควบคุมเพื่อแจ้งพิกัดกับเครื่องมือ ที่ต้องการ อากาศยานไร้คนขับ (drone)ก็จะรีบบินไปให้ความช่วยเหลือ" นายพิศิษฐ์ นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เผย
ซึ่งขณะนี้ได้มีการมอบให้กับอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.นครสวรรค์, พระที่นั่งอัมพรสถาน, หน่วยปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า (หน่วยฯ พญาเสือ) จ.ประจวบคีรีขันธ์, หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่ 491 กองทัพเรือ เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล และค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรีสำหรับการใช้งาน
อย่างไรก็แม้ว่าขณะนี้จะพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ (drone)จนประสบความสำเร็จไปหลายตัวแล้ว ทว่านายพิศิษฐ์ได้เผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่ายังไม่คิดทำขายใน เชิงพาณิชย์เพราะอยากทำให้กองทัพและหน่วยงานภาครัฐฯ ได้ใช้ก่อน และด้วยศักยภาพของอากาศยานไร้คนขับ (drone)ที่อาจพัฒนาไปเป็นอาวุธได้ทำให้ขณะนี้ได้จดสิทธิบัตร คุ้มครองแล้ว
Cr.ผู้จัดการ, SYNERGY