อุตสาหกรรม 4.0 & ประเทศไทย 4.0 |
ด้วยเหตุนี้จึงต้อง มีโมเดล หรือรหัสใหม่เป็น “ประเทศไทย 4.0” คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม(Value-Based Economy)" ตามแนวความคิดนี้ กับการเปลี่ยนแปลงทีกำลังจะไปสู่อุตสาหกรรม 4.0
1. เปลี่ยนจากการผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
2. เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์
3 . เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้น ภาคบริการมากขึ้น
จาก นั้นจะทำอย่างไร สำหรับการก้าวสู่ "ประเทศไทย 4.0" ? เทคโนโลยีระบบใหม่ ที่ต้องการคืออะไร? การวิจัยอะไรบ้างที่ควรเริ่มต้น? ซึ่งขอทิ้งท้าย แนวความคิดของประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คนใหม่ ไว้เป็นข้อคิดการพัฒนาที่ยั่งยื่นในอนาคตเพื่อก้าวสู่ อุตสาหกรรม 4.0 หรืออุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ/หุ่นยนต์ ในการสื่อสารประสานการทำงานกันได้เอง เพื่อรองรับ “ประเทศไทย 4.0”
ยุทธศาสตร์ เพื่อก้าวสู่ อุตสาหกรรม 4.0 ของคุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คนใหม่ ได้กำหนดไว้ 6 ด้าน คือ
1) สร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไทยด้วยประสิทธิภาพ ผลิตภาพ และนวัตกรรม
2) พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืนด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3) สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมไทยด้วยการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์
4) สร้างโอกาสให้อุตสาหกรรมไทยใช้ประโยชน์จากการเจรจาการค้า
5) พัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมไทย
6) ร่วมกับภาครัฐในการสร้างปัจจัยเอื้อต่อภาคอุตสาหกรรม
จึง ได้จัดทำกลไกการทำงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง ขันรองรับอุตสาหกรรม 4.0 โดยแบ่งหน่วยงานภายในองค์กร 7 สถาบัน คือ
1) สถาบันรหัสสากล (GS-1) นำเทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) และระบบโลจิสติกส์เข้ามาช่วยในการลดต้นทุน
2) สถาบันส่งเสริมความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย (RFID) การใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด และอาร์เอฟไอดี ติดตามสำหรับการขนส่งสินค้ามูลค่าสูง
3) สถาบันวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (IRDI) ผลักดัน ชี้แนะให้สินค้าเดิมเป็นนวัตกรรมในอนาคต
4) สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม (ICTI) การนำเอาระบบไอทีและระบบบาร์โค้ดเข้ามามีบทบาทในโรงงาน
5) สถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ (HCI) เพิ่มจำนวน ทักษะบุคลากรรองรับเทคโนโลยีใหม่ อาทิ เช่น กล้อง IP Camera แบตโซล่าเซลล์ ฯลฯ
6) สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) ช่วยพัฒนา SMEs นำระบบบาร์โค้ดเข้ามา ตั้งแต่รับออร์เดอร์ ผลิต ขนส่ง บริการ ที่ตรงกับความต้องการของตลาด
7) สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม (IIE) สนับสนุนให้สมาชิกใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Industry 4.0
Cr.ข่าวประชาชาติธุรกิจ,ไทยรัฐ