20 ส.ค. 2565

ตรวจวัด โควิด-19 ทางลมหายใจ

 

ตรวจวัด โควิด-19 ทางลมหายใจ

ตรวจจวัดหาผู้ติดเชื้อโควิด ผ่านลมหายใจของผู้ติดเชื้อทันที ได้แบบ Real-time ซึ่งช่วยคัดแยกผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นไปอย่างก้าวกระโดด ทั้งในด้านความไวความละเอียดในการตรวจวัด เชื้อโควิด-19  นั่นหมายความว่าเราสามารถตรวจหาไวรัสได้ ผ่านลมหายใจของผู้ติดเชื้อทันที...


 

ศูนย์วิจัยเทคโนโยลีควอนตัมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัท Get Solutions จำกัด สร้างเทคโนโลยีไบโอเซนเซอร์ นาโนอินเตอร์เฟอร์โรเมตริก จุดคัดกรองที่สามารถตรวจจวัดหาผู้ติดเชื้อโควิด ได้แบบ Real-time ซึ่งช่วยคัดแยกผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นไปอย่างก้าวกระโดด ทั้งในด้านความไวความละเอียดในการตรวจวัด เชื้อโควิด-19 จากผลการวิจัยรายงานว่า เชื้อโควิด-19 สามารถแพร่เชื้อผ่านละอองในอากาศ ได้เช่นเดียวกันกับการสัมผัสโดยตรง นั่นหมายความว่าเราสามารถตรวจหาไวรัสได้ ผ่านลมหายใจของผู้ติดเชื้อทันทีที่ผ่านเครื่องตรวจนี้

ไบโอเซนเซอร์ คืออะไร

ไบโอเซนเซอร์ คืออะไร
ไบโอเซนเซอร์คือ อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเป็นตัวตรวจวัดทางชีวภาพที่นักวิทยาศาสตร์พัฒนาขึ้นเพื่อ ให้ติดตามสารที่ต้องการตรวจวัด โดยใช้สารชีวภาพ อาทิ เอนไซม์ แอนติบอดี กรดนิวคลีอิก หรือ ดีเอ็นเอ ที่ได้จากเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงต่อสารที่ต้องการวิเคราะห์ เพราะมีลักษณะกลไกแบบแม่กุญแจและลูกกุญแจ เมื่อสารชีวภาพจับกับสารที่ต้องการวิเคราะห์จะทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือทางเคมีซึ่งมีลักษณะเฉพาะ

เครื่องมือวัด วิเคราะห์ด้วย AI

เครื่องมือวัด วิเคราะห์ด้วย AI
เครื่องมือตรวจวัดนี้ประกอบด้วยท่อนำคลื่นสองชิ้น โดยที่หนึ่งชิ้นจะถูกเคลือบผิวด้วยแอนติบอดี้ของโควิด-19 เมื่อจับเข้ากับแอนติเจนที่มีความจำเพาะเจาะจง จะส่งผลให้ลวดลายการแทรกสอดของแสงที่ตกลงบนเซนเซอร์ CCD เปลี่ยนไป และวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี โดยที่การทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น จะถูกเชื่อมโยงกันด้วยนาฬิกาอะตอมในระดับชิฟ

ไบโอเซนเซอร์ ทางการแพทย์

ไบโอเซนเซอร์ ทางการแพทย์
ไบโอเซนเซอร์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ ได้แก่ กลูโคสไบโอเซนเซอร์ ใช้สำหรับตรวจวัดระดับกลูโคสในผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีไบโอเซนเซอร์ที่ใช้ตรวจวัดยูเรีย ฯลฯ การพัฒนาไบโอเซนเซอร์สามารถนำไปตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารโดยตรงหรือใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณสารตามหลักการวิเคราะห์ทางอ้อมได้ การตรวจวัดด้วยไบโอเซนเซอร์มีศักยภาพในการใช้งานค่อนข้างสูง สามารถใช้ทดแทนวิธีวิเคราะห์แบบดั้งเดิม หรือแบบวิเคราะห์ที่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง สามารถลดต้นทุนการวิเคราะห์ต่อตัวอย่างวิเคราะห์สารได้ผลอย่างรวดเร็ว และมีความถูกต้องสูง

โครงการ คุณภาพชีวิตทีดีกว่า

โครงการ คุณภาพชีวิตทีดีกว่า
โดยตอนนี้กำลังระดมทุนกว่า 100 ล้านบาท เพื่อนำเทคโนโลยีไบโอเซนเซอร์ฯ เครื่องมือวัด โควิด-19 ทางลมหายใจ ดังกล่าวออกสู่ท้องตลาดให้ได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน หากนักลงทุนที่มีวิสัยทัศน์ และความต้องการในการปลดล็อคการค้า และการเดินทางระหว่างประเทศ เพื่อเร่งการฟื้นตัวจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก และปลดปล่อยมนุษยชาติจากความหวาดระแวงจากโวรัส ก็สามารถไปร่วมสนับสนุนได้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: http://rcqt.science.cmu.ac.th/th/covid-19/

Cr.chiangmainews,thairath,มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว,