16 ธ.ค. 2562

รางวัล วิจัยแก้ผมร่วงจากพันธุกรรม แห่งเอเชีย โดย แพทย์หญิงชาวไทย

รางวัล วิจัยแก้ผมร่วงจากพันธุกรรม แห่งเอเชีย โดย แพทย์หญิงชาวไทย
รางวัล วิจัยแก้ผมร่วงจากพันธุกรรม แห่งเอเชีย โดย แพทย์หญิงชาวไทย

รางวัล วิจัยแก้ผมร่วงจากพันธุกรรม แห่งเอเชีย โดย แพทย์หญิงชาวไทย


แพทย์หญิงไทยคนแรกคว้ารางวัล Platinum Follicle Award 2019 ของสมาคม ISHRS ในการประชุม World Congress Meeting ครั้งที่ 27 จัดขึ้นที่ กรุงเทพ เมื่อวันที่  13 -16 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป ผู้ที่มีความสามารถและมีผลงานวิจัยด้านการดูแลสุขภาพเส้นผมนานาชาติ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นแพทย์หญิงไทยคนแรก ที่ได้รับรางวัลสูงสุดสำหรับผู้ที่มีความสามารถและมีผลงานงานวิจัยด้านเส้นผม

รางวัล Platinum Follicle Award 2019 
สำหรับรางวัล Platinum Follicle Award 2019  จากสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติหรือ (ISHRS) นั้นเป็นรางวัลสูงสุดสำหรับผู้ที่มีความสามารถและมีผลงานวิจัยด้านการดูแลสุขภาพ ที่มีความสำเร็จที่โดดเด่นในการวิจัยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับพยาธิสรีรวิทยาของเส้นผมหรือกายวิภาคศาสตร์เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูเส้นผม ส่วนสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติหรือ (ISHRS) นั่นก่อตั้งขึ้นในปี 1993 โดยเป็นสมาคมศัลยกรรมปลูกผมที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยสมาชิกกว่า 1,000 คนจากกว่า 70 ประเทศ

รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป ผู้ที่มีอายุน้อยสุด
รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป กล่าวว่า รางวัลเป็นเพียงสิ่งตอบแทนอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการทำงานวิจัยแต่ความรู้ที่ได้ต่างหาก คือ สิ่งสำคัญที่ได้ทำสำหรับโรคผิวหนังแล้ว คนส่วนใหญ่มักจะมองดูแต่เพียงผิวเผิน คิดว่ามีแต่ความสวยงาม แต่แท้จริงแล้วยังมีโรคผิวหนังอื่น ๆ อีกมากมาย และโดยส่วนตัวก็ชอบเรียนเรื่องผมมาตั้งนานแล้ว หลังจากเรียนศัลยศาสตร์เลเซอร์ผิวหนังจบ จึงสนใจมาเรียนทางด้านปลูกผมต่อ และปัจจุบันก็ทำงานด้านนี้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ของเวลาทำงานทั้งหมด และยังเป็นผู้ที่มีอายุน้อยสุดของผู้ที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าว

งานวิจัยชิ้นแรกในเอเชีย
ก่อนหน้านี้  รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป ได้สร้างชื่อเสียงให้กับวงการแพทย์ไทยจากผลงานวิจัยในงาน ISHRS Poster Awards 2017 ที่จัดโดยสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ (International Society of Hair Restoration Surgery) เช่นกัน เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยได้ส่งบทความพิเศษเพื่อการนำเสนองานวิจัย (ประเภทโปสเตอร์) ในหัวข้อวิจัย "Proteomic Analysis in Dermal Papilla from Male Androgenetic Alopecia After Treatment with Low Level Laser Therapy"  และสามารถคว้ารางวัลที่ 1 ในประเภทงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบของโปสเตอร์ ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกในเอเชีย

การใช้เลเซอร์กระตุ้นหนังศีรษะสร้างเส้นผม
หัวข้อวิจัย "Proteomic Analysis in Dermal Papilla from Male Androgenetic Alopecia After Treatment with Low Level Laser Therapy" นั่น เป็นการวิจัยเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของกระบวนการรักษาด้วยเลเซอร์ความเข้มต่ำ เพื่อขจัดปัญหาโรคผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าการใช้เลเซอร์ที่มีความเข้มต่ำในการกระตุ้นให้หนังศีรษะสร้างเส้นผมนั้น ให้ผลดีที่ 24 สัปดาห์ โดยความสำเร็จงานวิจัยครั้งนั้นถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของการศึกษาในประเทศไทย

Cr.กรุงเทพธุรกิจ