บาร์โค้ด ร้านมินิมาร์ท
บาร์โค้ด ร้านมินิมาร์ท
ปัจจุบันร้านมินิมาร์ทหรือร้านสะดวกซื้อได้กลายเป็นร้านค้าที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการ มีแนวโน้มร้านมินิมาร์ทจะเปิดบริการมากขึ้นเรื่อยๆ ตามแหล่งที่พักอาศัยของคน เพื่อความสะดวกของลูกค้า แต่เมื่อเทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจร้านสะดวกซื้อช่วยดูแลสต็อกให้พอเพียงกับลูกค้าใกล้บ้าน เร็วๆ นี้เราอาจไม่ต้องเดินทางไปไหน เมื่อร้านมินิมาร์ทสามารถนำสินค้าเดินทางมาหาเราได้ถึงประตูบ้านของคุณ แล้วสงสัยไหมว่าที่ร้านสะดวกซื้อมี เครื่องอ่านบาร์โค้ด นั้น เพื่อชำระเงินและดูแลสต็อกให้เพียงพอต่อลูกค้าได้ทันท่วงที่ แล้วบาร์โค้ดที่ร้านมินิมาร์ทใช้เขามีกี่ระบบแล้วประเทศไทยเราร้านสะดวกซื้อใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดระบบไหนกัน มาลองดูนะว่ามีอะไรกันบ้าง
เครื่องอ่านบาร์โค้ด ร้านมินิมาร์ท
การติดบาร์โค้ดของสินค้าและใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดของร้านสะดวกซื้อนั้น ๆ นอกจากจะคำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วในการทำงานขึ้นแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงการใช้มาตรฐานการกำหนดเลขหมายระบบบาร์โค้ดที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอีกด้วย
มาตรฐานบาร์โค้ดทั่วโลก
ปัจจุบันเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อ่านค่าบาร์โค้ดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ได้แก่บาร์โค้ดระบบ UPC,EAN,CODE 39,บาร์โค้ด UPC/EAN, UPC/EA with sNupplementals, UCC/EAN128, code 39, code 39 full ASCII, code 39 trioptic, code 128, code 128 full ASCII, codabar, interleaved 2 of 5, discrete 2 of 5, code 93, MSI, code 11, ATA, RSS variants, Chinese 2 of 5 แต่ที่นิยมกันจริงจังอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีประมาณ 11 ระบบ ได้แก่
UPC [Uniform Product Code] ใช้เมื่อปี พ.ศ. -2515 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.1 แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก UPC-E ใช้กับสินค้าที่มีข้อมูลน้อย
1.2 แบบมาตรฐานมี 12 หลัก หรือเรียก UPC-A ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป
1.3 แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก UPC-A+2 ในกรณีที่ UPC-A เก็บข้อมูลไม่พอ
1.4 แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก UPC-A+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น
EAN [European Article Number] เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.- 2519 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก EAN-8 ใช้กับธุรกิจเล็ก มีข้อมูลไม่มาก
2.2 แบบมาตรฐานมี 13 หลัก หรือเรียก EAN-13
2.3 แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก EAN-13+12 เพื่อเพิ่มข้อมูล ถ้า EAN-13 บรรจุข้อมูลไม่หมด
2.4 แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก EAN-13+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น
CODE 39 เริ่มใช้ในปี พ.ศ.-2517 ในธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นบาร์โค้ดระบบแรกที่ใช้รวมกับตัวอักษรได้ เก็บข้อมูลได้มาก
INTERLEAVE 1 of 5 หรือเรียกว่า ITF เป็นบาร์โค้ดตัวใหญ่ใช้กับหีบบรรจุสินค้า หรือเรียก Cass Code
CODABAR ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้กับธุรกิจเวชภัณฑ์ ในปี พ.ศ.-2515
CODE 128 ได้ถูกพัฒนาขึ้นและยอมรับว่าได้ใช้เป็นทางการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2524 นิยมใช้ในวงการดีไซเนอร์และแฟชั่น ปัจจุบันกำลังเริ่มนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา
CODE 93 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.- 2525 ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม
CODE 49 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยพัฒนาจาก CODE 39 ให้บรรจุข้อมูลได้มากขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม
CODE 16k เหมาะสำหรับใช้กับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เล็กมาก มีพื้นที่ในการใสบาร์โค้ดน้อย เช่น อุปกรณ์อะไหล่ เครื่องไฟฟ้า
ISSN / ISBN [International Standard Book Number] ใช้กับหนังสือ และนิตยสาร
EAN / UCC 128 หรือ Shipping Container Code เป็นระบบใหม่ โดยการร่วมมือระหว่าง EAN ของยุโรป และ UCC ของสหรัฐอเมริกา โดยเอาระบบ EAN มาใช้ร่วมกับ CODE 128 เพื่อบอกรายละเอียดของสินค้ามากขึ้น เช่น วันเดือนปีที่ผลิต ครั้งที่ผลิต วันที่สั่งซื้อ มีกี่สี กี่ขนาด เป็นต้น
ปัจจุบัน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่สามาถอ่านบาร์โค้ดมาตรฐานที่ยอมรับกันมากมีอยู่ 2 ระบบ คือ UPC และ EAN ระบบ UPC ถือเป็นบาร์โค้ดระบบแรกของโลก ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเท่านั้น มีหน่วยงาน Uniform Code Council [UCC] ตั้งอยู่ที่รัฐ OHIO ประเทศสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่ดูแล ส่วนระบบ EAN เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยมีประเทศต่าง ๆ ใช้กว่า 60 ประเทศ ในภาคพื้นยุโรป, เอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งประเทศไทย EAN มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม
บาร์โค้ดในประเทศไทย
สำหรับบาร์โค้ดในประเทศไทยเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจังในปี พ.ศ.- 2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย [Thai Article Numbering Council] หรือ "TANC" เป็นองค์กรตัวแทนของ EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แล้วเครื่องอ่านบาร์โค้ดและระบบบาร์โค้ดได้ถูกนำมาใช้ในร้านสะดวกซื้อหรือร้านมินิมาร์ทบ้านเราอย่างแพร่หลาย
ระบบ EAN-13 ที่ประเทศไทยเลือกใช้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของเลขชุด 13 หลัก มีความหมายดังนี้
885 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย
1234 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต
56789 5 ตัวถัดมา เป็นรหัสของสินค้า
8 1 ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบ เลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิดบาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออก สื่อความหมายไม่ได้
Cr.Pennueng,TNN24,Spokedark,
ปัจจุบันร้านมินิมาร์ทหรือร้านสะดวกซื้อได้กลายเป็นร้านค้าที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการ มีแนวโน้มร้านมินิมาร์ทจะเปิดบริการมากขึ้นเรื่อยๆ ตามแหล่งที่พักอาศัยของคน เพื่อความสะดวกของลูกค้า แต่เมื่อเทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจร้านสะดวกซื้อช่วยดูแลสต็อกให้พอเพียงกับลูกค้าใกล้บ้าน เร็วๆ นี้เราอาจไม่ต้องเดินทางไปไหน เมื่อร้านมินิมาร์ทสามารถนำสินค้าเดินทางมาหาเราได้ถึงประตูบ้านของคุณ แล้วสงสัยไหมว่าที่ร้านสะดวกซื้อมี เครื่องอ่านบาร์โค้ด นั้น เพื่อชำระเงินและดูแลสต็อกให้เพียงพอต่อลูกค้าได้ทันท่วงที่ แล้วบาร์โค้ดที่ร้านมินิมาร์ทใช้เขามีกี่ระบบแล้วประเทศไทยเราร้านสะดวกซื้อใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดระบบไหนกัน มาลองดูนะว่ามีอะไรกันบ้าง
เครื่องอ่านบาร์โค้ด ร้านมินิมาร์ท
การติดบาร์โค้ดของสินค้าและใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดของร้านสะดวกซื้อนั้น ๆ นอกจากจะคำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วในการทำงานขึ้นแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงการใช้มาตรฐานการกำหนดเลขหมายระบบบาร์โค้ดที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอีกด้วย
มาตรฐานบาร์โค้ดทั่วโลก
ปัจจุบันเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อ่านค่าบาร์โค้ดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ได้แก่บาร์โค้ดระบบ UPC,EAN,CODE 39,บาร์โค้ด UPC/EAN, UPC/EA with sNupplementals, UCC/EAN128, code 39, code 39 full ASCII, code 39 trioptic, code 128, code 128 full ASCII, codabar, interleaved 2 of 5, discrete 2 of 5, code 93, MSI, code 11, ATA, RSS variants, Chinese 2 of 5 แต่ที่นิยมกันจริงจังอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีประมาณ 11 ระบบ ได้แก่
UPC [Uniform Product Code] ใช้เมื่อปี พ.ศ. -2515 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.1 แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก UPC-E ใช้กับสินค้าที่มีข้อมูลน้อย
1.2 แบบมาตรฐานมี 12 หลัก หรือเรียก UPC-A ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป
1.3 แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก UPC-A+2 ในกรณีที่ UPC-A เก็บข้อมูลไม่พอ
1.4 แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก UPC-A+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น
EAN [European Article Number] เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.- 2519 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก EAN-8 ใช้กับธุรกิจเล็ก มีข้อมูลไม่มาก
2.2 แบบมาตรฐานมี 13 หลัก หรือเรียก EAN-13
2.3 แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก EAN-13+12 เพื่อเพิ่มข้อมูล ถ้า EAN-13 บรรจุข้อมูลไม่หมด
2.4 แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก EAN-13+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น
CODE 39 เริ่มใช้ในปี พ.ศ.-2517 ในธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นบาร์โค้ดระบบแรกที่ใช้รวมกับตัวอักษรได้ เก็บข้อมูลได้มาก
INTERLEAVE 1 of 5 หรือเรียกว่า ITF เป็นบาร์โค้ดตัวใหญ่ใช้กับหีบบรรจุสินค้า หรือเรียก Cass Code
CODABAR ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้กับธุรกิจเวชภัณฑ์ ในปี พ.ศ.-2515
CODE 128 ได้ถูกพัฒนาขึ้นและยอมรับว่าได้ใช้เป็นทางการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2524 นิยมใช้ในวงการดีไซเนอร์และแฟชั่น ปัจจุบันกำลังเริ่มนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา
CODE 93 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.- 2525 ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม
CODE 49 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยพัฒนาจาก CODE 39 ให้บรรจุข้อมูลได้มากขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม
CODE 16k เหมาะสำหรับใช้กับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เล็กมาก มีพื้นที่ในการใสบาร์โค้ดน้อย เช่น อุปกรณ์อะไหล่ เครื่องไฟฟ้า
ISSN / ISBN [International Standard Book Number] ใช้กับหนังสือ และนิตยสาร
EAN / UCC 128 หรือ Shipping Container Code เป็นระบบใหม่ โดยการร่วมมือระหว่าง EAN ของยุโรป และ UCC ของสหรัฐอเมริกา โดยเอาระบบ EAN มาใช้ร่วมกับ CODE 128 เพื่อบอกรายละเอียดของสินค้ามากขึ้น เช่น วันเดือนปีที่ผลิต ครั้งที่ผลิต วันที่สั่งซื้อ มีกี่สี กี่ขนาด เป็นต้น
ปัจจุบัน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่สามาถอ่านบาร์โค้ดมาตรฐานที่ยอมรับกันมากมีอยู่ 2 ระบบ คือ UPC และ EAN ระบบ UPC ถือเป็นบาร์โค้ดระบบแรกของโลก ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเท่านั้น มีหน่วยงาน Uniform Code Council [UCC] ตั้งอยู่ที่รัฐ OHIO ประเทศสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่ดูแล ส่วนระบบ EAN เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยมีประเทศต่าง ๆ ใช้กว่า 60 ประเทศ ในภาคพื้นยุโรป, เอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งประเทศไทย EAN มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม
บาร์โค้ดในประเทศไทย
สำหรับบาร์โค้ดในประเทศไทยเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจังในปี พ.ศ.- 2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย [Thai Article Numbering Council] หรือ "TANC" เป็นองค์กรตัวแทนของ EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แล้วเครื่องอ่านบาร์โค้ดและระบบบาร์โค้ดได้ถูกนำมาใช้ในร้านสะดวกซื้อหรือร้านมินิมาร์ทบ้านเราอย่างแพร่หลาย
สำหรับบาร์โค้ดในประเทศไทยเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจังในปี พ.ศ.- 2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย [Thai Article Numbering Council] หรือ "TANC" เป็นองค์กรตัวแทนของ EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แล้วเครื่องอ่านบาร์โค้ดและระบบบาร์โค้ดได้ถูกนำมาใช้ในร้านสะดวกซื้อหรือร้านมินิมาร์ทบ้านเราอย่างแพร่หลาย
ระบบ EAN-13 ที่ประเทศไทยเลือกใช้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของเลขชุด 13 หลัก มีความหมายดังนี้
885 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย
1234 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต
56789 5 ตัวถัดมา เป็นรหัสของสินค้า
8 1 ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบ เลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิดบาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออก สื่อความหมายไม่ได้
Cr.Pennueng,TNN24,Spokedark,