28 ก.ย. 2560

ชำระเงิน ด้วย บัตรมาสเตอร์การ์ด

ชำระเงิน ด้วย บัตรมาสเตอร์การ์ด


ชำระเงิน ด้วย บัตรมาสเตอร์การ์ด

ชำระเงิน ด้วย บัตรมาสเตอร์การ์ด


บัตรมาสเตอร์การ์ด มีการขยายโซลูชั่นเกี่ยวกับการชำระเงินผ่านบาร์โค้ด เพื่อให้ผู้บริโภคหรือ ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต สามารถสแกนบาร์โค้ดบนโทรศัพท์มือถือผ่านเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) ณ จุดชำระเงิน ได้ทันที ใช้ได้ร่วมกันทั่วโลกไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหนก็ตาม การประกาศนี้เป็นการให้ข่าวสารเพิ่มเติมต่อเนื่องมาจากโครงการ Bharat QR การชำระเงินด้วยบาร์โค้ดที่ได้เปิดตัวไปแล้วในอินเดียปีนี้ และตามมาด้วยการประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจในประเทศไทยในการเปิดตัวบาร์โค้ดมาตรฐาน ( Standardized QR BarCode) เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

บัตรมาสเตอร์การ์ด EMV
ในการประกาศการใช้งานบัตรมาสเตอร์การ์ด EMVCoครั้งนั้นบัตรมาสเตอร์การ์ดได้มีการเผยแผนที่จะเริ่มทยอยใช้โซลูชั่นการชำระเงินด้วยบาร์โค้ดของระบบบัตรมาสเตอร์การ์ด EMVCo ภายในปีนี้ในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังจะมีการเริ่มทดลองใช้มาสเตอร์การ์ดบาร์โค้ดในประเทศอินโดนีเซียภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า พร้อม ๆ กับอีกหลายแห่งในเอเชียแปซิฟิกก่อนจะถึงสิ้นปี ตลอดไปจนถึงช่วงต้นของปี 2561

บาร์โค้ด มาตรฐานสากล
บัตรมาสเตอร์การ์ด EMVCo ได้ร่วมมือกับบริษัทอื่น ๆ ในวงการค้าปลีกค้าส่งได้ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานชำระเงินด้วยบาร์โค้ด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบาร์โค้ดระบบใหม่ จะมีความสอดคล้องต้องกันทั้งในด้านการสร้างรหัส และการอ่านรหัส ผ่านทางโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภค บัตรมาสเตอร์การ์ดยังได้ระบุแผนการในการเพิ่มทางเลือกให้กับรูปแบบการชำระเงินในส่วนของการค้าปลีกมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต สามารถสแกนบาร์โค้ดบนโทรศัพท์มือถือผ่าน เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) ณ จุดชำระเงิน ได้ทันทีผ่านการขยายวิธีการชำระเงินด้วยบาร์โค้ด

ชำระเงิน บน โทรศัพท์มือถือ
บัตรมาสเตอร์การ์ด EMVCo เป็นการต่อยอดมาจากผลงานด้านบาร์โค้ดของบัตรมาสเตอร์การ์ดในอินเดีย และแอฟริกา ที่ทางบัตรมาสเตอร์การ์ดตั้งตารอเพื่อนำมาตรฐานบาร์โค้ดสากลของ EMVCo มาใช้ ซึ่งในระหว่างนี้ บัตรมาสเตอร์การ์ดยังคงร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ได้ว่า การชำระเงินและรับชำระเงินด้วยบัตรมาสเตอร์การ์ดนั้น จะมีความปลอดภัย ไม่ว่าจะทำโดยผ่านอุปกรณ์ใดก็ตามแม้นกระทั้งการสแกนบาร์โค้ดบนโทรศัพท์มือถือ

ชำระเงินแบบไร้สัมผัส ด้วย บาร์โค้ด
การใช้บาร์โค้ดชำระเงิน ณ จุดขายในประเทศต่าง ๆ จะช่วยเติมเต็มระบบการชำระเงินแบบไร้สัมผัสด้วยบาร์โค้ด (contactless payment) ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ช่วยให้ ร้านค้าทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าในเครือบริษัทข้ามชาติ ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือ ผู้ขายรายย่อยหรือแม้แต่ร้านค้าข้างทาง สามารถสแกนบาร์โค้ดบนโทรศัพท์มือถือผ่าน เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) ณ จุดชำระเงิน ก็สามารถรับชำระเงินได้ด้วยบัตรมาสเตอร์การ์ดด้วยวิธีการที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีต้นทุนต่ำ

บัตรมาสเตอร์การ์ด & ร้านค้าข้างทาง
โซลูชั่นการใช้บาร์โค้ดชำระเงิน ณ จุดขายของมาสเตอร์การ์ดเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับตลาด ทั้งตลาดแบบดั้งเดิมและตลาดแบบใหม่ (non- traditional markets) ในทุกช่วงของการพัฒนา ตั้งแต่ผู้ค้าปลีกขนาดเล็กในแอฟริกา เช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือ หรือร้านค้าข้างทาง ไปจนถึงร้านค้าปลีกรายใหญ่ ห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศจีน ให้สามารถรองรับการชำระเงินด้วยบาร์โค้ดได้ไม่ว่าสินค้าจะมีมูลค่าเท่าใดก็ตาม

บัตรมาสเตอร์การ์ด & โทรศัพท์มือถือ
มาสเตอร์การ์ด เริ่มเปิดตัวการชำระเงินผ่านบาร์โค้ดในปี 2559 ช่วยให้ผู้คนที่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะรุ่นใดแบบใด สามารถทำการชำระเงินซื้อสินค้าและบริการด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องพกบัตรพลาสติก เพียงแค่ลูกค้าใช้สมาร์ทโฟนสแกนบาร์โค้ด ณ จุดชำระค่าบริการของผู้ค้า หรือป้อนรหัสใส่ในโทรศัพท์ที่รองรับการใช้งานเท่านนี้ก็สามารถช็อปปิ้งซื้อสินค้าได้สะดวกและปลอดภัยอีกด้วย

เครื่องอ่านบาร์โค้ด & บัตรมาสเตอร์การ์ด
การใช้บาร์โค้ดชำระเงิน ณ จุดขายของมาสเตอร์การ์ดได้นำเสนอให้กับผู้บริโภคนี้ จะช่วยให้ผู้ขายสามารถสแกนบาร์โค้ดจากสมาร์ทโฟนผ่านเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) และรับชำระเงินผ่านระบบเครือข่ายของมาสเตอร์การ์ดได้ทันที เป็นการใช้เทคโนโลยี M/Chip เพื่อสร้างรูปแบบการชำระเงินที่มีความปลอดภัยบนโครงข่ายของบัตรมาสเตอร์การ์ด EMV

Cr.สยามโฟน

ร้านสะดวกซื้อ จ่ายด้วย สมาร์ทโฟน

ร้านสะดวกซื้อ จ่ายด้วย สมาร์ทโฟน


 

ร้านสะดวกซื้อ จ่ายด้วย สมาร์ทโฟน


ร้านสะดวกซื้อ จ่ายด้วย สมาร์ทโฟน


แม้ว่าห้างสรรพสินค้านั้นจะเปิดตัวน้อยลงจากปีที่แล้ว แต่ทว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกหรือร้านสะดวกซื้อในประเทศไทยกลับได้รับผลตอบรับในทิศทางบวก งานนี้ต้องขอบคุณการเปิดรับอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อ รวมทั้ง ช่องทางโซเชี่ยลมีเดียใหม่ๆที่ช่วยเพิ่มยอดขาย ร้านค้าออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ และไลน์ ตลาดค้าปลีกในไทยกำลังแสดงถึงสัญญาณตอบรับที่ดี พร้อมๆด้วยโครงการที่เพิ่มอัตราการเติบโตขึ้นมากขึ้น นับตั้งแต่คนไทยเริ่มตอบรับอีคอมเมิร์ซ ร้านค้าออนไลน์มากขึ้น ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านสมาร์ทโฟนและโมบายแบงกิ้ง

โมบายแบงกิ้ง & QR Code
ยิ่งในต่างประเทศ เราเห็นคนใช้เงินสดกันลดลง หันมาใช้โมบายแบงกิ้งด้วยบัตรเครดิตหรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสมาร์ทโฟนกันมากขึ้น เช่น คนจีนเวลามาไทยก็ใช้โมบายแบงกิ้งผ่านแอปฯ อาลีเพย์ วีแชทเพย์ โดยเขาจะเปิดมือถือเอาบาร์โค้ด ของเขามาสแกนด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) ณ จุดรับชำระเงินร้านสะดวกซื้อ เห็นได้ตามร้านสะดวกซื้อและร้านขายของฝากของที่ระลึกที่รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตที่ไม่ใช่เงินสดแล้ว ซึ่งเจ้าตัวบาร์โค้ดจะเหมือนกับบาร์โค้ดสินค้าที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป  โดยปัจจุบันโมบายแบงกิ้งเชื่อมโยงข้อมูลกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) เข้าไว้ด้วยกัน

ร้านสะดวกซื้อ ไร้พนักงานขาย 
เมือเร็ว ๆ นี้ ที่ประเทศจีน เปิดร้านสะดวกซื้อชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผูกกับสมาร์ทโฟน ชื่อว่า บิงโก บ็อกซ์ ใกล้กับซูเปอร์มาร์เก็ตอู่ซาง ในเขตหยังผู่ นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งไร้พนักงานขายที่อยู่ประจำร้านแม้แต่เพียงคนเดียว ร้านสะดวกซื้อแนวนี้ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารต่าง ๆน้อยลงเพราะไม่มีพนักงานขายประจำร้านและชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านสมาร์ทโฟนและโมบายแบงกิ้ง ส่วนวิธีการเข้าร้านเพื่อมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าต่าง ๆ เพียงลูกค้าใช้สมาร์ทโฟนสแกนบาร์โค้ดที่ประตูทางเข้าประตูก็เปิดออก หลังจากนั้นประตูจะปิดล็อคเมื่อลูกค้าเข้าร้านแล้ว และหากลูกค้าคนอื่นต้องการเข้ามาก็ต้องใช้สมาร์ทโฟนสแกนบาร์โค้ดก่อนเสมอ ร้านค้าแนวใหม่นี้ที่เริ่มบุกเบิกกันจริงจังก่อนหน้านี้หลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น อเมซอน โก, ลอว์สัน และอาลีบาบา สำหรับตอนนี้ บิงโก บ็อกซ์ เปิดร้านอยู่สองร้านในเขตที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์ ในเซี่ยงไฮ้แล้ว

บัตรเครดิต & สมาร์ทโฟน
ลูกค้าสามารถเดินชมสินค้าในร้านสะดวกซื้อไร้พนักงานขายและออกไปโดยไม่ซื้ออะไรก็ได้ โดยการใช้สมาร์ทโฟนสแกนบาร์โค้ดบนผนังที่ทางเข้าหลังจากเดิมชมสินค้าเสร็จแต่ยังไม่ซื้อสามารถสแกนบาร์โค้ดที่ทางออก ประตูก็จะเปิดออก หลังจากที่ลูกค้าเดินช้อปปิ้งในร้านสะดวกซื้อ ถ้าสนใจสินค้าตัวไหนสามารถตรวจดูที่ป้ายกำกับพร้อมใช้& สมาร์ทโฟนสแกนบาร์โค้ดบนแต่ละผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบราคาของแต่ละรายการได้จาก เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader)แอปฯบนมือถือได้ หากต้องการชำระเงินก็ไปที่ตู้ชำระเงินบริเวณทางออกของร้าน แล้วชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านแอปฯมือถือ ซึ่งเมื่อลูกค้าจ่ายเงินแล้ว สามารถเดินออกจากร้านสะดวกซื้อได้เลย แต่ถ้ามีคนหยินสินค้าไปและพยายามจะออกไปโดยไม่จ่ายเงินค่าสินค้า จะมีสัญญาณเตือนที่ประตูและประตูไม่เปิดจนกว่าลูกค้าจะคืนสินค้าหรือชำระเงินค่าสินค้าให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

ร้านสะดวกซื้อ & สมาร์ทโฟน
ด้านผู้บุกเบิกร้านสะดวกซื้อแนวนี้อย่าง บริษัท Amazon Go เปิดร้านสะดวกซื้อแห่งแรกในเมืองซีแอตเทิลของสหรัฐฯ อเมซอน โก ร้านสะดวกซื้ออัจฉริยะที่สร้างความสะดวกสบายให้กับการชอปปิง โดยไม่ต้องต่อคิว ไม่ต้องจ่ายเงิน เพียงแค่ใช้แอพพลิเคชั่น ของ Amazon GO จากนั้นหยิบของที่ต้องการสแกนบาร์โค้ดแล้วกลับบ้านได้เลย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการในปี 2017 และจะขยายสาขาให้กระจายทั่วทั้งอเมริกาภายใน 10 ปี แล้วเรียกเก็บค่าสินค้าจากบัตรเครดิตบัญชีอเมซอนของลูกค้า นอกจากนี้ทางยุโรปก็มีร้านสะดวกซื้อไร้พนักงานขายจากค่าย Wheelys ในประเทศสวีเดน สามารถซื้อของได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเป็นร้านค้าที่ไม่มีพนักงานเฝ้าร้าน แต่ลูกค้าสามารถใช้แอพของสมาร์ทโฟน เพื่อเลือกซื้อสินค้าในร้านนี้ได้ ซึ่งภายในร้านจะมีสินค้าประมาณ 450 อย่าง ไม่ต่างจากสินค้าที่หาซื้อตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป ซึ่งลูกค้าสามารถเข้าไปซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อโดยใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว

Cr.ประชาชาติธุรกิจ,

บาร์โค้ด ร้านมินิมาร์ท

บาร์โค้ด ร้านมินิมาร์ท


บาร์โค้ด ร้านมินิมาร์ท

บาร์โค้ด ร้านมินิมาร์ท



ปัจจุบันร้านมินิมาร์ทหรือร้านสะดวกซื้อได้กลายเป็นร้านค้าที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการ มีแนวโน้มร้านมินิมาร์ทจะเปิดบริการมากขึ้นเรื่อยๆ ตามแหล่งที่พักอาศัยของคน เพื่อความสะดวกของลูกค้า แต่เมื่อเทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจร้านสะดวกซื้อช่วยดูแลสต็อกให้พอเพียงกับลูกค้าใกล้บ้าน เร็วๆ นี้เราอาจไม่ต้องเดินทางไปไหน เมื่อร้านมินิมาร์ทสามารถนำสินค้าเดินทางมาหาเราได้ถึงประตูบ้านของคุณ แล้วสงสัยไหมว่าที่ร้านสะดวกซื้อมี  เครื่องอ่านบาร์โค้ด นั้น เพื่อชำระเงินและดูแลสต็อกให้เพียงพอต่อลูกค้าได้ทันท่วงที่ แล้วบาร์โค้ดที่ร้านมินิมาร์ทใช้เขามีกี่ระบบแล้วประเทศไทยเราร้านสะดวกซื้อใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดระบบไหนกัน มาลองดูนะว่ามีอะไรกันบ้าง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด ร้านมินิมาร์ท
การติดบาร์โค้ดของสินค้าและใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดของร้านสะดวกซื้อนั้น ๆ นอกจากจะคำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วในการทำงานขึ้นแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงการใช้มาตรฐานการกำหนดเลขหมายระบบบาร์โค้ดที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอีกด้วย

มาตรฐานบาร์โค้ดทั่วโลก
ปัจจุบันเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อ่านค่าบาร์โค้ดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ได้แก่บาร์โค้ดระบบ UPC,EAN,CODE 39,บาร์โค้ด UPC/EAN, UPC/EA with sNupplementals, UCC/EAN128, code 39, code 39 full ASCII, code 39 trioptic, code 128, code 128 full ASCII, codabar, interleaved 2 of 5, discrete 2 of 5, code 93, MSI, code 11, ATA, RSS variants, Chinese 2 of 5 แต่ที่นิยมกันจริงจังอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีประมาณ 11 ระบบ ได้แก่

UPC [Uniform Product Code] ใช้เมื่อปี พ.ศ. -2515 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.1 แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก UPC-E ใช้กับสินค้าที่มีข้อมูลน้อย
1.2 แบบมาตรฐานมี 12 หลัก หรือเรียก UPC-A ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป
1.3 แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก UPC-A+2 ในกรณีที่ UPC-A เก็บข้อมูลไม่พอ
1.4 แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก UPC-A+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น

EAN [European Article Number] เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.- 2519 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก EAN-8 ใช้กับธุรกิจเล็ก มีข้อมูลไม่มาก
2.2 แบบมาตรฐานมี 13 หลัก หรือเรียก EAN-13
2.3 แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก EAN-13+12 เพื่อเพิ่มข้อมูล ถ้า EAN-13 บรรจุข้อมูลไม่หมด
2.4 แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก EAN-13+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น

CODE 39 เริ่มใช้ในปี พ.ศ.-2517 ในธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นบาร์โค้ดระบบแรกที่ใช้รวมกับตัวอักษรได้ เก็บข้อมูลได้มาก 
INTERLEAVE 1 of 5 หรือเรียกว่า ITF เป็นบาร์โค้ดตัวใหญ่ใช้กับหีบบรรจุสินค้า หรือเรียก Cass Code

CODABAR ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้กับธุรกิจเวชภัณฑ์ ในปี พ.ศ.-2515
CODE 128 ได้ถูกพัฒนาขึ้นและยอมรับว่าได้ใช้เป็นทางการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2524 นิยมใช้ในวงการดีไซเนอร์และแฟชั่น ปัจจุบันกำลังเริ่มนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา

CODE 93 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.- 2525 ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม
CODE 49 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยพัฒนาจาก CODE 39 ให้บรรจุข้อมูลได้มากขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม
CODE 16k เหมาะสำหรับใช้กับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เล็กมาก มีพื้นที่ในการใสบาร์โค้ดน้อย เช่น อุปกรณ์อะไหล่ เครื่องไฟฟ้า

ISSN / ISBN [International Standard Book Number] ใช้กับหนังสือ และนิตยสาร

EAN / UCC 128 หรือ Shipping Container Code เป็นระบบใหม่ โดยการร่วมมือระหว่าง EAN ของยุโรป และ UCC ของสหรัฐอเมริกา โดยเอาระบบ EAN มาใช้ร่วมกับ CODE 128 เพื่อบอกรายละเอียดของสินค้ามากขึ้น เช่น วันเดือนปีที่ผลิต ครั้งที่ผลิต วันที่สั่งซื้อ มีกี่สี กี่ขนาด เป็นต้น

ปัจจุบัน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่สามาถอ่านบาร์โค้ดมาตรฐานที่ยอมรับกันมากมีอยู่ 2 ระบบ คือ UPC และ EAN ระบบ UPC ถือเป็นบาร์โค้ดระบบแรกของโลก ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเท่านั้น มีหน่วยงาน Uniform Code Council [UCC] ตั้งอยู่ที่รัฐ OHIO ประเทศสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่ดูแล ส่วนระบบ EAN เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยมีประเทศต่าง ๆ ใช้กว่า 60 ประเทศ ในภาคพื้นยุโรป, เอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งประเทศไทย EAN มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม

บาร์โค้ดในประเทศไทย
สำหรับบาร์โค้ดในประเทศไทยเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจังในปี พ.ศ.- 2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย [Thai Article Numbering Council] หรือ "TANC" เป็นองค์กรตัวแทนของ EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แล้วเครื่องอ่านบาร์โค้ดและระบบบาร์โค้ดได้ถูกนำมาใช้ในร้านสะดวกซื้อหรือร้านมินิมาร์ทบ้านเราอย่างแพร่หลาย

ระบบ EAN-13 ที่ประเทศไทยเลือกใช้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของเลขชุด 13 หลัก มีความหมายดังนี้
885 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย
1234 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต
56789 5 ตัวถัดมา เป็นรหัสของสินค้า
8 1 ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบ เลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิดบาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออก สื่อความหมายไม่ได้

Cr.Pennueng,TNN24,Spokedark,