ปวดเมื่อย จาก นั่งทำงาน


การนั่งทำงาน หลังงอ ห่อไหล่ ไขว่ห้าง เท้าคาง และก้มคอ (สังคมก้มหน้า เล่นแต่มือถือตลอดเวลา) เป็นเวลานานๆ ในท่าเดิม ๆ และทำซ้ำจนกลายเป็นพฤติกรรมที่เคยชินโดยไม่รู้ตัว ย่อมส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ กระดูก ระบบไหลเวียนโลหิตและผลกระทบต่อการไหลเวียนของออกซิเจนในร่างกาย ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดก็จะน้อยลง จะมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังเริ่มซีดเพราะร่างกายจะตอบสนองต่อการขาดออกซิเจนในเลือด เราสามารถวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้ ด้วย เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดไม่ควร ต่ำกว่า 95 % ผู้ที่มีระดับออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 90% จะมีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด ซึ่งควรเปลี่ยนอิริยาบทและขยับร่างกาย

แม้แต่ท่าทางในขณะขับรถในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ก็ส่งผลต่อบุคลิกภาพและอาการเจ็บป่วยเรื้อรังที่หาสาเหตุไม่ได้เช่นกัน เพื่อให้คุณหลีกเลี่ยงและรับมือกับการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต โดยเฉพาะภาวะขาดออกซิเจนในร่างกายเบื้องต้นก่อนนำไปสู่ภาวะร่ายกายอ่อนแอต่อไปได้ ซึ่งสามารถป้องกันได้แบบง่าย ๆ เรามีวิธีสังเกตพฤติกรรมและอาการของอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากการนั่งทำงานผิดท่ามาฝาก อาทิ ปวดขา ปวดหัว ปวดคอ บ่า ไหล่ ฯลฯ

1. ปวดหัวเรื้อรัง 
หากคุณมีอาการปวดหัวตื้อๆ และปวดร้าวลามไปบริเวณท้ายทอยหรือต้นคอ อาจมีจุดกดเจ็บหรือปวดมากหลังตื่นนอนในตอนเช้า บางคนมีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด สาเหตุมักเกิดจากกล้ามเนื้อทำงานหนักอย่างต่อเนื่องหรือความเครียดสะสม ส่งผลให้กล้ามเนื้อหดตัวและขาดออกซิเจนในทีสุด ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดไม่ควร ต่ำกว่า 95 % ซึ่งสามารถวัดได้จาก เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ตัวเครื่องก็จะทำการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดออกมาพร้อมกับกราฟชีพจรและอัตราการเต้นหัวใจของคุณออกมาแบบ Real Time แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำให้ปรับท่านั่งเสียใหม่ให้หลังตรงและควรหาวัสดุเสริมรองนั่ง เพื่อปรับสรีระให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลียงการปวดเมื่อยจากการขาดออกซิเจนในเลือดระหว่างนั่งผิดท่าได้

2. ปวดคอ บ่า ไหล่
ปวดเมื่อยยอดนิยมของคนกรุงฯ ที่มักจะนั่งยกไหล่โดยไม่รู้ตัวเนื่องจากนั่งทำงานหน้าคอม ฯ การวางจอคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงานในระดับความสูงที่ไม่เหมาะสมกับความสูงของเก้าอี้ หรืออาจเกิดจากการนั่งก้มหน้าและจ้องคอมฯหรือมือถือเป็นเวลาต่อเนืองและยาวนาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอหดเกร็งเกิดจากการไหลเวียนโลหิตและออกซิเจนในเลือดไม่สะดวกเป็นเวลานาน นานวันเข้าก็เริ่มผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ และตึงรั้งต่อเนื่องไปถึงบ่า ไหล่ สะบัก และแผ่นหลัง ส่วนใหญ่พบว่า นั่งนานปวดไหล่เกิดจาก กล้ามเนื้อบริเวณไหล่และแผ่นหลังซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายมักจะยกสูงกว่าอีกซีกไปโดยปริยาย

3. ปวดหลัง สะโพก และบั้นเอว
ท่านั่งไขว่ห้างยอดนิยมของคุณผู้หญิงนั่นละ นั่งไขว่ห้าง อันตราย ที่นำไปสู่อาการเจ็บปวดด้วยภาวะหมอนรองกระดูกได้เลยทีเดียว เพราะขณะไขว่ห้างน้ำหนักจะเทลงไปที่ขาและฝ่าเท้าข้างใดข้างหนึ่ง บวกกับการไหลเวียนโลหิตและออกซิเจนในเลือดบริเวณส่วนล่างของร่างกายที่ไม่ดี ส่งผลให้ปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก เอว และแผ่นหลังผิดรูป กระดูกชายโครงเกร็งรั้ง จนถึงขั้นหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือกระดูกทับเส้นประสาท แนะนำให้ปรับท่านั่งทำงานเสียใหม่ให้หลังตรงและควรหาวัสดุเสริมรองนั่ง เพื่อปรับสรีระให้เหมาะสม

4. ปวดขาและหัวเข่า
คนที่มักจะนั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้ทำงาน หรือชอบนั่งขัดสมาธิเป็นประจำ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณขาและเท้าไม่ดีพอ นอกจากจะทำให้เป็นเหน็บชาบ่อย ปวดหัวเข่า และเมื่อยขาเรื้อรัง คนที่มีน้ำหนักตัวเยอะหรืออายุมากขึ้น อาจส่งผลกระทบให้ข้อเข่าเสื่อม เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบหัวเข่ายึดหรือหดตัวผิดปกติได้ ควรหมั่นเปลียนอิริยาบทหรือเปลี่ยนท่านั่งเป็นระยะ ๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อลดอาการปวดเมื่อยและช่วยให้ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้

หากคุณกำลังอดทนกับอาการปวดเมื่อยเรื้อรังของกล้ามเนื้ออยู่ละก็ ขอให้รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั่งทำงานและท่านั่งโดยด่วน เพราะอาจส่งผลต่อบุคลิกภาพและการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงในอนาคต โดยเฉพาะคนที่นั่งติดเก้าอี้เป็นเวลานานอาจส่งผลให้อัตราการเผาผลาญไขมันลดลง เกิดการสะสมตัวของอินซูลินจากตับอ่อนที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน สมองทำงานช้าลงและปวดเมื่อย เพราะการไม่ได้ขยับร่างกายเป็นเวลานาน หรืออยู่ท่าเดิมนาน ๆ ควรหมั่นขยับร่างกาย ในระหว่างวันนอกจากจะช่วยระบบการเผาผลาญ แล้วยังช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตและอ็อกซิเจนทำงานได้ดีขึ้น หรือจะวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ด้วย เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อตรวจเช็คดูว่าเรานั่งผิดท่านานเกินไปทีมีผลกับออกซิเจนในเลือดไหมเพื่อลดอาการปวดเมื่อยลงได้

Cr.สปริงนิวส์