9 เม.ย. 2561

ปวดเมื่อย จาก นั่งทำงาน

 ปวดเมื่อย จาก นั่งทำงาน

ปวดเมื่อย จาก นั่งทำงาน


การนั่งทำงาน หลังงอ ห่อไหล่ ไขว่ห้าง เท้าคาง และก้มคอ (สังคมก้มหน้า เล่นแต่มือถือตลอดเวลา) เป็นเวลานานๆ ในท่าเดิม ๆ และทำซ้ำจนกลายเป็นพฤติกรรมที่เคยชินโดยไม่รู้ตัว ย่อมส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ กระดูก ระบบไหลเวียนโลหิตและผลกระทบต่อการไหลเวียนของออกซิเจนในร่างกาย ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดก็จะน้อยลง จะมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังเริ่มซีดเพราะร่างกายจะตอบสนองต่อการขาดออกซิเจนในเลือด เราสามารถวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้ ด้วย เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดไม่ควร ต่ำกว่า 95 % ผู้ที่มีระดับออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 90% จะมีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด ซึ่งควรเปลี่ยนอิริยาบทและขยับร่างกาย

แม้แต่ท่าทางในขณะขับรถในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ก็ส่งผลต่อบุคลิกภาพและอาการเจ็บป่วยเรื้อรังที่หาสาเหตุไม่ได้เช่นกัน เพื่อให้คุณหลีกเลี่ยงและรับมือกับการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต โดยเฉพาะภาวะขาดออกซิเจนในร่างกายเบื้องต้นก่อนนำไปสู่ภาวะร่ายกายอ่อนแอต่อไปได้ ซึ่งสามารถป้องกันได้แบบง่าย ๆ เรามีวิธีสังเกตพฤติกรรมและอาการของอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากการนั่งทำงานผิดท่ามาฝาก อาทิ ปวดขา ปวดหัว ปวดคอ บ่า ไหล่ ฯลฯ

1. ปวดหัวเรื้อรัง 
หากคุณมีอาการปวดหัวตื้อๆ และปวดร้าวลามไปบริเวณท้ายทอยหรือต้นคอ อาจมีจุดกดเจ็บหรือปวดมากหลังตื่นนอนในตอนเช้า บางคนมีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด สาเหตุมักเกิดจากกล้ามเนื้อทำงานหนักอย่างต่อเนื่องหรือความเครียดสะสม ส่งผลให้กล้ามเนื้อหดตัวและขาดออกซิเจนในทีสุด ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดไม่ควร ต่ำกว่า 95 % ซึ่งสามารถวัดได้จาก เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ตัวเครื่องก็จะทำการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดออกมาพร้อมกับกราฟชีพจรและอัตราการเต้นหัวใจของคุณออกมาแบบ Real Time แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำให้ปรับท่านั่งเสียใหม่ให้หลังตรงและควรหาวัสดุเสริมรองนั่ง เพื่อปรับสรีระให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลียงการปวดเมื่อยจากการขาดออกซิเจนในเลือดระหว่างนั่งผิดท่าได้

2. ปวดคอ บ่า ไหล่
ปวดเมื่อยยอดนิยมของคนกรุงฯ ที่มักจะนั่งยกไหล่โดยไม่รู้ตัวเนื่องจากนั่งทำงานหน้าคอม ฯ การวางจอคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงานในระดับความสูงที่ไม่เหมาะสมกับความสูงของเก้าอี้ หรืออาจเกิดจากการนั่งก้มหน้าและจ้องคอมฯหรือมือถือเป็นเวลาต่อเนืองและยาวนาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอหดเกร็งเกิดจากการไหลเวียนโลหิตและออกซิเจนในเลือดไม่สะดวกเป็นเวลานาน นานวันเข้าก็เริ่มผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ และตึงรั้งต่อเนื่องไปถึงบ่า ไหล่ สะบัก และแผ่นหลัง ส่วนใหญ่พบว่า นั่งนานปวดไหล่เกิดจาก กล้ามเนื้อบริเวณไหล่และแผ่นหลังซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายมักจะยกสูงกว่าอีกซีกไปโดยปริยาย

3. ปวดหลัง สะโพก และบั้นเอว
ท่านั่งไขว่ห้างยอดนิยมของคุณผู้หญิงนั่นละ นั่งไขว่ห้าง อันตราย ที่นำไปสู่อาการเจ็บปวดด้วยภาวะหมอนรองกระดูกได้เลยทีเดียว เพราะขณะไขว่ห้างน้ำหนักจะเทลงไปที่ขาและฝ่าเท้าข้างใดข้างหนึ่ง บวกกับการไหลเวียนโลหิตและออกซิเจนในเลือดบริเวณส่วนล่างของร่างกายที่ไม่ดี ส่งผลให้ปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก เอว และแผ่นหลังผิดรูป กระดูกชายโครงเกร็งรั้ง จนถึงขั้นหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือกระดูกทับเส้นประสาท แนะนำให้ปรับท่านั่งทำงานเสียใหม่ให้หลังตรงและควรหาวัสดุเสริมรองนั่ง เพื่อปรับสรีระให้เหมาะสม

4. ปวดขาและหัวเข่า
คนที่มักจะนั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้ทำงาน หรือชอบนั่งขัดสมาธิเป็นประจำ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณขาและเท้าไม่ดีพอ นอกจากจะทำให้เป็นเหน็บชาบ่อย ปวดหัวเข่า และเมื่อยขาเรื้อรัง คนที่มีน้ำหนักตัวเยอะหรืออายุมากขึ้น อาจส่งผลกระทบให้ข้อเข่าเสื่อม เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบหัวเข่ายึดหรือหดตัวผิดปกติได้ ควรหมั่นเปลียนอิริยาบทหรือเปลี่ยนท่านั่งเป็นระยะ ๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อลดอาการปวดเมื่อยและช่วยให้ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้

หากคุณกำลังอดทนกับอาการปวดเมื่อยเรื้อรังของกล้ามเนื้ออยู่ละก็ ขอให้รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั่งทำงานและท่านั่งโดยด่วน เพราะอาจส่งผลต่อบุคลิกภาพและการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงในอนาคต โดยเฉพาะคนที่นั่งติดเก้าอี้เป็นเวลานานอาจส่งผลให้อัตราการเผาผลาญไขมันลดลง เกิดการสะสมตัวของอินซูลินจากตับอ่อนที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน สมองทำงานช้าลงและปวดเมื่อย เพราะการไม่ได้ขยับร่างกายเป็นเวลานาน หรืออยู่ท่าเดิมนาน ๆ ควรหมั่นขยับร่างกาย ในระหว่างวันนอกจากจะช่วยระบบการเผาผลาญ แล้วยังช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตและอ็อกซิเจนทำงานได้ดีขึ้น หรือจะวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ด้วย เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อตรวจเช็คดูว่าเรานั่งผิดท่านานเกินไปทีมีผลกับออกซิเจนในเลือดไหมเพื่อลดอาการปวดเมื่อยลงได้

Cr.สปริงนิวส์

3 เม.ย. 2561

5 วิธี เพิ่มออกซิเจนในร่างกาย

วิธี เพิ่มออกซิเจนในร่างกาย

5 วิธี เพิ่มออกซิเจนในร่างกาย



ออกซิเจน และ น้ำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อสุขภาพของคนเรา ถ้าต้องการมีสุขภาพดี แข็งแรง รวมไปถึงอยากให้มีผิวพรรณที่สวยงาม สดใส เปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล ก็ต้องหมั่นเติมออกซิเจนและน้ำเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากน้ำและออกซิเจนในเลือดเป็นสิ่งสำคัญทั้งในการเจริญเติบโตการซ่อมแซมและการทำงานของระบบในร่างกายแทบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะต่างๆ ไปจนถึงระดับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ น้ำเป็นส่วนประกอบในร่างกายมนุษย์มากถึง 60 % ถ้าร่างกายขาดน้ำเพียง 1-2 วัน มีโอกาสเสียชีวิตได้

เพิ่มออกซิเจนในร่างกาย
นอกจากน้ำแล้ว ออกซิเจนก็มีส่วนสำคัญ การเพิ่มขึ้นของปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด สามารถส่งผลให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายคนเรา ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นส่วนสมอง ก็จะมีการกระตุ้นให้มีระบบความจำที่ดีขึ้น และมีสมาธิมากขึ้น ถ้าเป็นส่วนตับ ก็จะสามารถกำจัดสารพิษต่างๆ ที่เข้ามาในในร่างกายของเราได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คนที่ต้องการเน้นเรื่องของสุขภาพความงาม การมีสุขภาพดี คือ การทำให้ร่างกายสามารถที่จะได้รับออกซิเจนและใช้มันให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดนั่นเอง ก็จะทำให้อวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล และ ยังช่วยเร่งการขจัดของเสียออกจากร่างกายอีกทางหนึ่งด้วย

ออกซิเจนในเลือด ปกติเท่าไร
ถ้าร่างกายได้รับออกซิเจน และน้ำที่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้มีผิวพรรณสวย ดูดีจากภายในสู่ภายนอก แล้ว ค่าออกซิเจนในเลือด ปกติเท่าไร ถึงจะเพียงพอ ปกติแล้วค่าออกซิเจนในเลือดควรจะอยู่ที่ 96 – 99% ของความอิ่มตัวสูงสุดในเลือด เราสามารถวัดค่าออกซิเจนในเลือดโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องวัดออกซิเจน ปลายนิ้ว (Pulse Oximeter) สำหรับใช้วัดชีพจรและปริมาณออกซิเจนในร่างกาย ขนาดเล้กกะทัดรัดพกพาสะดวกใช้งานง่ายเพียงหนีบ เครื่องวัดออกซิเจน ไว้ที่ปลายนิ้วแล้วกดสวิตช์เปิดเครื่องก็สามารถอ่านค่าปริมาณออกซิเจนและอัตราการเต้นของหัวใจผ่านหน้าจอได้ทันที

5 วิธี เพิ่มออกซิเจนในร่างกาย
1.สูดหายใจเต็ม ๆ
อันนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนคงจะคุ้นเคยกันดี การหายใจเต็มที่ จะทำให้ร่างกายรับออกซิเจนได้มากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่เราเครียดจะยิ่งรู้สึกถึงความแตกต่าง เพราะตอนเราเครียด กล้ามเนื้อร่างกายจะเกร็ง ทำให้ระดับออกซิเจนลดลง คนที่รู้สึกอยากผ่อนคลายความเครียด ก็หายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ (หายใจเข้าท้องป่อง กลั้นไว้ แล้วปล่อยค่อยๆ ออก) ออกซิเจนจะเข้าไปเต็มปอด ออกซิเจนในเลือดก็จะเพิ่มขึ้น จะรู้สึกสดชื่นขึ้นมาก คนที่ฝึกโยคะเป็นประจำจะรู้ดีเลยล่ะ

2.ออกกำลังกายเป็นประจำ
เช่น การวิ่งวันละ 15 นาที จะสามารถช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในร่างกายได้มาก สามารถวัดค่าออกซิเจนในเลือดด้วย เครื่องวัดออกซิเจน ปลายนิ้ว (Pulse Oximeter) ที่เพิ่มขึ้นได้ ควรหมั่นออกกำลังกายให้ได้ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายเพิ่มปริมาณออกซิเจนได้มากขึ้น แถมยังช่วยทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น และ เลือดก็จะถูกสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สดใสมีชีวิตชีวา

3.อบความร้อน
ความร้อนจากห้องซาวน่า การสตรีม หรือแม้แต่การแช่น้ำร้อนที่อ่างอาบน้ำที่บ้าน จะช่วยให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้น ช่วยส่งผ่านออกซิเจนในเลือดไปยังส่วนต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะความร้อนนี้ จะทำให้หลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยบริเวณผิวขยายตัว ที่สำคัญยังมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อและการหายใจผ่อนคลายมากขึ้นเพราะฉะนั้นถ้าหาเวลาไปอบซาวน่า เข้าห้องอบไอน้ำในฟิสเนส แช่น้ำอุ่นในอ่างน้ำที่บ้าน หรือการไปแช่น้ำอุ่นในสปา ก็เป็นการช่วยในเรื่องนี้ได้เหมือนกัน

4.นวดเพื่อสุขภาพ
ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งนี้ก็ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในร่างกายให้เราได้ เพราะตอนที่เรารู้สึกปวดเมื่อย ก็หมายความว่ากล้ามเนื้อของเรากำลังหดตัว เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี กล้ามเนื้อจะขาดออกซิเจนและสารอาหาร ดังนั้นให้ใช้มือ นวดเป็นวงกลมเล็กๆ ทั่วบริเวณกล้ามเนื้อที่ตึง กดด้วยแรงพอดีๆ ตรงจุดที่ปวด ก็จะรู้สึกดีขึ้น หรือไม่ก็เข้าสปา หาร้านนวดที่ไว้ใจได้ เราก็จะรู้สึกสบายตัวขึ้น

5.ดื่มน้ําเพิ่มออกซิเจน
คิดว่าหลายคนคงไม่รู้ ว่าการดื่มน้ำก็ช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกายได้ด้วย ซึ่งปกติน้ำดื่มทั่วไปจะมีค่าออกซิเจนละลายอยู่ประมาณ 7 มก.ต่อลิตร มีงานวิจัยมากมายที่นักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบว่า ชุมชนที่ห่างไกลที่ปริโภคน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติทีมีออกซิเจนอยู่มากมาย มีอายุยืนยาว ไม่เคยเจ็บป่วยเลย และดูอ่อนเยาว์กว่าวัย การดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เหมาะสม เป็นประจำทุกวัน จึงให้ประโยชน์แก่ร่างกายและดีต่อสุขภาพ ยิ่งเป็นน้ำดื่มที่มีที่มีปริมาณออกซิเจนสูงๆ ช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือด ยิ่งเพิ่มคุณประโยชน์ให้แก่ร่างกายอย่างมาก

Cr.Lady108