เครื่องตรวจโลหะ สนามบิน
ท่านที่เคยโดยสารเครื่องบินมาแล้ว คงคุ้นเคยดีกับภาพของเจ้าหน้าที่สนามบิน ถือวัตถุรูปลักษณะเป็นแท่งยาวๆ อันหนึ่งยกกวาดไปตามลำตัว ของผู้โดยสารตั้งแต่หัวจรดเท้าโดยปราศจากรังสีใดๆ ที่สามารถมองเห็นได้อยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะให้ผ่านไปได้หากไม่มีเสียงสัญญาณเตือน เจ้าวัตถุรูปแท่งที่ว่านี้ก็คือเครื่องตรวจโลหะ (METAL DETECTOR)นั่นเอง หลายคนอาจสงสัยว่าเจ้า เครื่องตรวจโลหะ (METAL DETECTOR)ที่ว่านี้ทำงานได้อย่างไร วันนี้เราจะมาค้นหาคำตอบกัน
หลักการทำงาน เครื่องตรวจโลหะ
อาศัยหลักที่ว่า วัตถุที่นำไฟฟ้า เช่น โลหะ จะตอบสนองต่อ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า แตกต่างจากวัตถุที่ไม่นำไฟฟ้า หัวตรวจจับโลหะมีหลายชนิด แต่มีหลักการทำงานใกล้เคียงกัน คือ เมื่อเปิดเครื่องตรวจจับโลหะ กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าไปยัง ขดลวดโลหะที่ปลายหัวตรวจจับ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น โดยมีขั้วอยู่ในแนวตั้งฉาก กับทิศทางของขดลวด หากสนามแม่เหล็กดังกล่าวไปกระทบกับวัตถุที่นำไฟฟ้าได้ดี เช่น โลหะ จะกระตุ้นให้วัตถุดังกล่าวนั้น เกิดสนามแม่เหล็กอ่อนๆ ในทิศทางตรงข้ามกัน ทำให้สนามแม่เหล็กที่สะท้อนกลับมา สู่หัวตรวจจับเกิดการเปลี่ยนเฟส ยิ่งวัตถุมีการนำไฟฟ้าดีมากขึ้น การเปลี่ยนเฟสก็มากขึ้นตามด้วย จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้สามารถทราบได้ว่า มีวัตถุที่ทำจากโลหะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือไม่
ความไว เครื่องตรวจโลหะ
เครื่องตรวจโลหะ (METAL DETECTOR)ส่วนใหญ่ สามารถตรวจจับวัตถุที่อยู่ลึกลงไปจากผิวหน้า 8-12 นิ้ว เข็มหมุดในระยะ 35 mm ปืนพกในระยะ 150 mm มีดยาว 6 นิ้ว ในระยะ 180 mm โลหะทรงกลมรเส้นผ่านศูนย์กลาาง 20 mm ในระยะ 100 mm เหรียญ ≥ 5 cm ความสามารถในการตรวจจับวัตถุ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ นอกจากชนิดและความไวของหัวตรวจจับแล้ว ชนิดของโลหะ ก็มีผลต่อการตรวจจับด้วย โลหะบางชนิด เช่น เหล็ก สามารถสร้างสนามแม่เหล็กได้แรงกว่าโลหะอื่น การตรวจจับจึงทำได้ง่าย ขนาดของวัตถุก็มีส่วนสำคัญ วัตถุที่มีขนาดเล็กถูกตรวจจับได้ยากกว่าวัตถุขนาดใหญ่ เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงสามารถพกเหรียญ หรือลูกกุญแจเข้าไปได้ โดยที่เครื่องตรวจจับ ไม่ส่งสัญญาณเตือนแต่อย่างใด
เครื่องตรวจโลหะ (METAL DETECTOR)ส่วนใหญ่ สามารถตรวจจับวัตถุที่อยู่ลึกลงไปจากผิวหน้า 8-12 นิ้ว เข็มหมุดในระยะ 35 mm ปืนพกในระยะ 150 mm มีดยาว 6 นิ้ว ในระยะ 180 mm โลหะทรงกลมรเส้นผ่านศูนย์กลาาง 20 mm ในระยะ 100 mm เหรียญ ≥ 5 cm ความสามารถในการตรวจจับวัตถุ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ นอกจากชนิดและความไวของหัวตรวจจับแล้ว ชนิดของโลหะ ก็มีผลต่อการตรวจจับด้วย โลหะบางชนิด เช่น เหล็ก สามารถสร้างสนามแม่เหล็กได้แรงกว่าโลหะอื่น การตรวจจับจึงทำได้ง่าย ขนาดของวัตถุก็มีส่วนสำคัญ วัตถุที่มีขนาดเล็กถูกตรวจจับได้ยากกว่าวัตถุขนาดใหญ่ เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงสามารถพกเหรียญ หรือลูกกุญแจเข้าไปได้ โดยที่เครื่องตรวจจับ ไม่ส่งสัญญาณเตือนแต่อย่างใด
ตรวจจับโลหะ สนามบิน, รถไฟฟ้า, ห้างสรรพสินค้า
นอกจากนั้นแล้วความสามารถในการตรวจจับวัตถุยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย เช่น มีวัตถุที่สามารถป้องกันสนามแม่เหล็ก ไม่ให้ผ่านไปถึงวัตถุที่จะตรวจจับหรือไม่ เป็นต้น เครื่องตรวจโลหะ (METAL DETECTOR)สมัยใหม่ นอกจากตรวจจับได้ว่า มีวัตถุที่ทำจากโลหะได้แล้ว ยังสามารถระบุขนาด และความลึกของวัตถุอย่างคร่าวๆ ได้อีกด้วย ใช้สำหรับตรวจจับโลหะตาม สนามบิน,รถไฟฟ้าบีทีเอส,รถไฟฟ้า mrt,, ท่าเรือ ฯลฯ และยังตรวจจับโลหะเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าตามสถานที่สาธารณะ ห้างสรรพสินค้า หรือชายแดน ฯลฯ
ตรวจหาโลหะ ในดินหรือหิน
เครื่องตรวจโลหะ (METAL DETECTOR) นอกจากใช้ในสนามบิน และตามอาคารสถานที่สำคัญ เพื่อการรักษาความปลอดภัยแล้ว เครื่องตรวจจับโลหะยังมีการนำไปใช้ในงานด้านอื่นได้อีก เช่น ใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของท่อ หรือสายเคเบิลที่ฝังอยู่ในอาคาร ตรวจหาส่วนประกอบโลหะในดินหรือหิน รวมทั้งใช้ในการสืบหาวัตถุโบราณ ที่ทำจากโลหะที่ฝังอยู่ใต้ดิน เพื่อประโยชน์ในทางโบราณคดีได้อีกด้วย
Cr.Material Chula