วันอัลไซเมอร์โลก 2563 |
องค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ (Alzheimer’s Disease International : ADI) ประกาศให้ วันที่ 21 กันยายน เป็น “วันอัลไซเมอร์โลก” ตามชื่อผู้ค้นพบโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชาวเยอรมันนามว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้าใจโรคนี้กันมากขึ้น โรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม คือ การสูญเสียความจำระยะสั้นร่วมกับความผิดปกติของการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วน จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกถูกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ส่วนใหญ่เริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปีขึ้นไป
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์คนแรก เมือ 111 ปีมาแล้ว
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 หรือ เป็นเวลากว่า 111 ปีมาแล้ว ที่มีการค้บพบโรคอัลไซเมอร์ โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันนามว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ซึ่งได้รายงานการรักษาผู้ป่วยหญิงอายุ 55 ปี คนหนึ่งชื่อ ออกุสต์ เด ที่ญาติๆ ของเธอได้ส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโรคจิต เพราะทุกคนได้ ลงความเห็นว่าเธอกำลังเสียสติ เนื่องจากมีอาการความจำเสื่อม และชอบรู้สึกอิจฉาริษยาผู้อื่นอยู่บ่อยๆ นายแพทย์อัลไซเมอร์ได้ทดสอบผู้ป่วยรายนี้ อย่างเช่นได้ถามชื่อเสียงเรียงนามและชื่อสามีของเธอ แต่เธอก็ไม่สามารถตอบได้เลย หลังจากที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนาน 4 ปี เธอก็ถึงแก่กรรม นายแพทย์ อัลไซเมอร์จึงผ่าสมองเพื่อตรวจดูสภาพภายใน พบว่าสมองส่วนที่เรียกว่า hippocampus ซึ่งทำหน้าที่จำนั้น มีปมพังผืดมากกว่าสมองของคนธรรมดา
“โรคอัลไซเมอร์” (Alzheimer’s Disease) |
“โรคอัลไซเมอร์” (Alzheimer’s Disease)
มีรายงานว่า พบผู้ป่วยที่มีอาการความจำเสื่อมเช่นเดียวกันนี้ถึง 11 ราย และโรคนี้จึงเป็นที่รู้จักกันใน ชื่อ “โรคอัลไซเมอร์” (Alzheimer’s Disease) ซึ่งตั้งตามชื่อของนายแพทย์ผู้ทำการค้นพบตั้งแต่นั่นเป็นต้นมา อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) จัดเป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ภาวะสมองเสื่อมตามธรรมชาติ หรือตามอายุที่มากขึ้นแต่อย่างใด แต่โรคอัลไซเมอร์นี้ เกิดจากการตายของเซลล์สมอง ซึ่งเซลล์สมองทำหน้าที่ในการเรียนรู้ จดจำ แต่หากเซลล์สมองเหล่านี้เสื่อมโทรมหรือเสียหายไป ก็จะส่งผลให้ความสามารถในการเรียนรู้และจดจำหายไปเช่นกัน
อัลไซน์เมอร์ หรือ ความจำเสื่อม
เซลล์สมองของคนเราจะมีกลไกการสื่อสารและทำงานผ่านสารเคมี ที่เรียกว่า “สารสื่อประสาท” (Neurotransmitter) ซึ่งสารนี้จะช่วยนำคำสั่งจากสมองไปยังอวัยวะเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการทำงานขึ้น และสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้และจดจำนั่น ก็คือ สารอะเซติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลเมอร์จะมีปริมาณของสารอะเซติลโคลีนลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับคนปกติทั่วไป
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
ปัจจุบันสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ได้มีวิจัยได้พบว่าเกิดจากการสะสมของ amyloid plaques ในเซลล์สมองส่งผลให้สารอะเซติลโคลีนลดลด นอกจากนี้ยังพบว่าพันธุกรรมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยหากคนในครอบครัวมีประวัติการป่วยเป็นอัลไซเมอร์โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็จะมีมากกว่าคนปกติ หรืออาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นกัน ซึ่งโรคอัลไซเมอร์จึงเป็นโรคสามารถเกิดได้กับทุกคน และเมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การตรวจพบในระยะเริ่มต้นจะช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำแนะนำการรักษา ความจำเสื่อม |
คำแนะนำการรักษา ความจำเสื่อม
ดังนั้นควรรีบพบประสาทแพทย์ หรือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ การรักษามีแบบประคับประคองโรคทางกาย และปัญหา ทางจิต การป้องกันโรคแทรกซ้อน การดูแลบำบัดด้านจิตใจและปัญหาพฤติกรรม ฟื้นฟูสุขภาพกายและจิต สร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เน้นคุณภาพชีวิตโดยให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วม ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะ มีเพียงการใช้ยาเพื่อเพิ่มระดับสารสื่อประสาทในสมองที่ช่วยเพิ่มความจำให้ดีขึ้น และลดปัญหาด้านพฤติกรรมที่เกิดจากตัวโรค นอกจากนี้การฝึกบริหารสมองเป็นประจำจะลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค จึงควรหากิจกรรมฝึกความจำให้แก่ผู้สูงอายุให้ได้ใช้สมองในการทำกิจกรรม เช่น การฝึกถามตอบความรู้ทั่วไป เล่นดนตรีไทย วาดภาพ คิดเลข จะช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้
สมุนไพร ป้องกัน สมองเสื่อม
นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาวะสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุและมีแนวโน้มสูงขึ้น สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ คือ บัวบก สมุนไพรในกลุ่มโปรดักส์ แชมเปี้ยน เป็นสมุนไพรที่มีอยู่ทุกที่ทั่วประเทศไทยที่สำคัญหาง่าย ใช้คล่อง ปลอดภัย ใช้ได้ทั้งต้นและใบ มีรสขม สามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร ทำเป็นเครื่องดื่ม จากการศึกษาวิจัยพบ บัวบกมีฤทธิ์รักษาแผลที่ผิวหนัง รักษาแผลในทางเดินอาหาร รักษาความผิดปกติของหลอดเลือดดำ รักษาแผลในปาก และที่สำคัญ คือ บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ และช่วยฟื้นฟูความจำ และมีผลกับการความจำและเรียนรู้ในผู้สูงอายุ
“บัวบก บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์” |
“บัวบก บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์”
สำหรับสรรพคุณบัวบกที่ให้ความสนใจกันมากเป็นพิเศษคือ “บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์” เนื่องจากในบัวบกมีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาทและสมอง ช่วยทำให้เพิ่มความจำดีขึ้นและทำให้มีปฏิภาณไหวพริบ เพิ่มมากขึ้น ใบบัวบกยังช่วยเสริมการทำงานของกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยรักษาสมดุลของจิตใจ ลดความกระวนกระวาย ช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลายลงได้ ทำให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น โดยแค่เพียงรับประทานเป็นประจำก่อนนอน ก็จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ปัจจุบันนี้มีการผลิตสารสกัดจากบัวบกเป็นยาบำรุงสมอง สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โปรดสังเกตุมาตรฐานและเลขจดแจ้งขออนุญาต จาก อย.
วิธีทำ น้ำใบบัวบก บำรุงสมอง
วิธีรับประทานน้ำใบบัวบก บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ ให้นำใบบัวบกทั้งต้น มาล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นหั่นเป็นท่อนๆ ประมาณ 2-3 ท่อน นำมาปั่นรวมกับน้ำเปล่า โดยใส่น้ำให้ท่วมใบบัวบก กรองเอาแต่น้ำ และสามารถปรุงรสด้วยน้ำผึ้งตามใจชอบ ให้ดื่มครั้งละ 120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร และไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน รายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th และแอพพลิเคชั่นสมุนไพรไทย
Cr. หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยสยาม,กรมการแพทย์แผนไทย,PPTV,โรงพยาบาลบางมูลนาก